อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง
อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคต้น–ปัจจุบัน | |
---|---|
![]() | |
จิงโจ้และลูกอ่อนในกระเป๋าหน้าท้อง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
ชั้นย่อย: | Theria |
ชั้นฐาน: | Marsupialia Illiger, 1811 |
อันดับ | |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (สีเขียว-ถิ่นที่ถูกนำเข้า, สีน้ำเงิน-ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม]]) | |
ชื่อพ้อง | |
|
สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; อังกฤษ: Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) [1]
สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ[2]
ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น[3] [4]
โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง"[5]
วิวัฒนาการ[แก้]
สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง วิวัฒนาการหรือการกลายพันธุ์มาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างคล้ายหนู ที่ชื่อ "ไซโนเดลฟิส" ที่มีอายุเมื่อกว่า 125 ล้านปีก่อนที่จีน ไซโนเดลฟิสมีความยาว 6 ฟุต แต่มีน้ำหนักเพียง 1 ออนซ์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการปีนป่ายไปตามต้นไม้
หลักฐานทางฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง พบที่ยูทาห์ มีอายุ 110 ล้านปีมาแล้ว ในสมัยที่ทวีปต่าง ๆ ยังคงยึดติดกันเป็นแผ่นใหญ่ คือ กอนด์วานา
ปัจจุบัน ที่ออสเตรเลียมีสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องแยกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 156 ชนิด[6] ขณะที่อเมริกาใต้มีประมาณ 60 ชนิด [7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ การจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
- ↑ ยักษ์ใหญ่ที่สาบสูญ โดยเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
- ↑ Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds). ed. Mammal Species of the World (3rd edition ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 23. ISBN 0-801-88221-4. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=10800004.
- ↑ หน้า 18, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ Australia. "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2555
- ↑ "สารคดี มนต์เสน่ห์แห่งอเมริกาใต้ (WILD SOUTH AMERICA - ANDES TO AMAZON) ตอนที่ 1 คลิป 1". ช่อง 7. 14 December 2014. สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.