ออร์ดนุงส์โพลีทไซ
Ordnungspolizei | |
ธงประจำองค์กร | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 26 มิถุนายน ค.ศ. 1936 |
หน่วยงานสืบทอด | |
ประเภท | ตำรวจแห่งชาติ |
เขตอำนาจ | ไรช์เยอรมัน และยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง |
สำนักงานใหญ่ | กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี 52°30′26″N 13°22′57″E / 52.50722°N 13.38250°E |
บุคลากร | 401,300 (1944)[1] |
รัฐมนตรี |
|
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงมหาดไทยไรซ์ |
ตำรวจรักษาความสงบ (เยอรมัน: Ordnungspolizei) หรือเรียกอย่างย่อว่า ออร์โพ (Orpo) เป็นกองกำลังตำรวจในเครื่องแบบของนาซีเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1945[2] องค์กรออร์โพถูกซึมซับเข้าสู่การผูกขาดอำนาจของนาซี ภายหลังจากที่เขตอำนาจของตำรวจส่วนภูมิภาคได้ถูกถอดถอนออกไปเพื่อสนับสนุนส่วนกลางของรัฐบาลนาซี ("Reich-ification", Verreichlichung, of the police). ออร์โพอยู่ภายใต้การควบคุมในนามโดยกระทรวงมหาดไทยไรช์ แต่หน้าที่ฝ่ายบริหารขึ้นอยู่กับการนำของหน่วยเอ็สเอ็สจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง[3] เนื่องจากเครื่องแบบสีเขียวของพวกเขา ออร์โพจึงถูกเรียกว่า กรูเนอ โพลีทไซ (ตำรวจเขียว) กองกำลังนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในฐานะองค์กรรวมศูนย์ที่รวบรวมตำรวจในเครื่องแบบจากทั้งเทศบาล เมือง และภูธรเข้าด้วยกัน ที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบรัฐต่อรัฐ[4]
ออร์ดนุงส์โพลีทไซประกอบไปด้วยองค์กรบังคับใช้กฏหมายและตอบสนองเหตุภาวะฉุกเฉินเกือบทั้งหมดของนาซีเยอรมนี รวมทั้งหน่วยดับเพลิง หน่วยยามชายฝั่ง และการปกป้องพลเรือน ในช่วงก่อนสงคราม ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ หัวหน้าหน่วยเอ็สเอ็สและควร์ท ดาลือเกอ ผู้บังคับการตำรวจรักษาความสงบได้ร่วมมือกันในการเปลี่ยนกองกำลังตำรวจของสาธารณรัฐไวมาร์ให้เป็นรูปแบบทหารที่พร้อมจะตอบสนองเป้าหมายของรัฐบาลในการพิชิตและทำลายล้างทางเชื้อชาติ กองกำลังตำรวจได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรูปแบบกองกำลังขนาดเท่ากับกองพันสำหรับการบุกครองโปแลนด์ ซึ่งพวกเขาถูกส่งไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ยังได้มีส่วนร่วมในการประหารชีวิตและขับไล่เนรเทศมวลชนจำนวนมาก[5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังได้มีหน้าที่ในการตรวจตราประชากรพลเรือนในเขตยึดครองและประเทศอาณานิคม ได้เริ่มต้นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1940[6] กิจกรรมของออร์โพได้ลุกลามไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยการบุกครองสหภาพโซเวียต ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา กองพันตำรวจรักษาความสงบทั้งยี่สิบสามกองพันที่ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นกองกำลังอิสระหรือสังกัดในกองพลรักษาความปลอดภัยของแวร์มัคท์และหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ได้ก่อเหตุด้วยการกระทำสังหารหมู่ในฮอโลคอสต์ และมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มุ่งเป้าหมายไปที่ประชากรพลเรือนอย่างกว้างขวาง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Burkhardt Müller-Hillebrandt: Das Heer (1933-1945) , Vol. III Der Zweifrontenkrieg, Mittler, Frankfurt am Main 1969, p. 322
- ↑ Struan Robertson. "The 1936 "Verreichlichung" of the Police". Hamburg Police Battalions during the Second World War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Internet Archive)เมื่อ February 22, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-09-24.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อhamburg2
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อhamburg3
- ↑ Showalter 2005, p. xiii.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBrowning
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |