อนุสัญญาอิสตันบูล
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัวแห่งสภายุโรป | |
---|---|
วันร่าง | 7 เมษายน 2554 |
วันลงนาม | 11 พฤษภาคม 2554 |
ที่ลงนาม | อิสตันบูล, ประเทศตุรกี |
วันมีผล | 1 สิงหาคม 2557 |
เงื่อนไข | การให้สัตยาบันรวม 10 ครั้ง โดย 8 จาก 10 ครั้งมาจากสมาชิกสภายุโรป |
ผู้ลงนาม | 45 รัฐ + สหภาพยุโรป |
ผู้ให้สัตยาบัน | 35 |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการแห่งสภายุโรป |
อ้างอิง | ชุดสนธิสัญญาสภายุโรป ที่. 210 |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส |
อนุสัญญาอิสตันบูล (อังกฤษ: Istanbul Convention) หรือในฉบับเต็มเรียกว่า อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัวแห่งสภายุโรป (อังกฤษ: Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence) เป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนของสภายุโรปว่าด้วยความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว โดยเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี อนุสัญญานี้มีจุดมุ่งหมายในการป้องกันความรุนแรง การคุ้มครองดูแลผู้เสียหาย และยุติการอภัยโทษผู้กระทำความผิด[1] เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 ประเทศตุรกีเป็นประเทศแรกที่ให้สัตยาบันตามอนุสัญญา และถัดมาอีก 34 ประเทศ ในตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2564 ดังนี้ แอลเบเนีย อันดอร์รา ออสเตรีย เบลเยียม บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย ไซปรัส เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส จอร์เจีย เยอรมนี กรีซ[2] ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลิกเตนสไตน์ ลักเซมเบิร์ก มอลตา มอลโดวา โมนาโก มอนเตเนโกร เนเธอร์แลนด์ มาซิโดเนียเหนือ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย ซานมารีโน เซอร์เบีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์[3] ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 มีการลงนามโดย 45 ประเทศ รวมถึงสหภาพยุโรป[3] โดยอนุสัญญามีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557[3] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2564 ตุรกีเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ถอนตัวจากอนุสัญญาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564 อนุสัญญาดังกล่าวยุติการบังคับใช้ในตุรกีในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564[4][5]
ประวัติ
[แก้]สภายุโรปได้ริเริ่มดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรงตั้งแต่ทศวรรษ 1990 โดยจะเห็นผลอย่างชัดเจนในการใช้ข้อเสนอแนะแห่งสภายุโรปที่ 5 (2545) ของคณะกรรมการรัฐมนตรีประจำประเทศสมาชิกว่าด้วยการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรง[6] และการรณรงค์เพื่อขจัดความรุนแรงต่อตรี รวมถึงความรุนแรงในครอบครัวทั่วทวีปยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2551[7] ทางฝั่งสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรปได้แสดงจุดยืนทางการเมืองในการต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมถึงได้ใช้ข้อมติและข้อเสนอแนะจำนวนหนึ่งเพื่อเรียกร้องให้มีมาตรฐานที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในการป้องกัน ปกป้อง และดำเนินคดีในรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศ[8]
อ่างอิงรายงานการศึกษาและการสำรวจระดับชาติเผยให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ในยุโรป[8] การรณรงค์นี้แสดงให้เห็นถึงการโต้ตอบถึงปัญหาความรุนแรงต่อสรีและครอบครัวของรัฐต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ดังนั้นการรณรงค์นี้จึงเป็นการแสดงออกถึงความต้องการในความปลอดภัย มาตรฐานทางกฎหมายที่สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถยืนยันได้ว่าเหยื่อจะได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองในระดับเดียวกันในทุกที่ในยุโรป ทางรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของสภาประเทศสมาชิกยุโรป จึงเริ่มหารือถึงความจำเป็นในการเพิ่มการคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัว
เพื่อการนั้น สภายุโรปจึงได้ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานที่ครอบคลุมเพื่อป้องกันและต่อสู้กับความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการรัฐมนตรีได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยมอบหมายให้จัดทำร่างอนุสัญญาในด้านนี้ ผ่านไปเพียงสองปี กลุ่ม CAHVIO (Ad Hoc Committee on Preventing and Combating Violence against Women and Domestic Violence, คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและต่อสู้กับความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว)[9] ได้ร่างข้อความขึ้นมา และได้เสนอในการประชุมระหว่าง สหราชอาณาจักร อิตาลี รัสเซีย และสันตะสำนัก ในการประชุมมีการแก้ไขหลายประการเพื่อจำกัดข้อกำหนดบางอย่างเอาไว้ จึงทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล[10] ท้ายที่สุด ร่างสุดท้ายของการประชุมถูกจัดทำขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
การนำมาใช้ การลงนาม การให้สัตยาบัน และการเลิกใช้
[แก้]กระบวนการทั่วไป
[แก้]ร่างอนุสัญญาได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุโรปเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ในการประชุมครั้งที่ 1111[11] และเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เนื่องในการประชุมคณะรัฐมนตรีสมัยที่ 121 ณ อิสตันบูล โดยมีผลบังคับใช้หลังจากการให้สัตยาบัน 10 ครั้ง โดย 8 ประเทศต้องเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรป ในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีการลงนามโดย 39 รัฐ ตามด้วยการให้สัตยาบันของสมาชิกสภายุโรป 8 รัฐ ได้แก่ แอลเบเนีย ออสเตรีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อิตาลี มอนเตเนโกร โปรตุเกส เซอร์เบีย และตุรกี ต่อมาในปีนั้น อันดอร์รา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส มอลตา โมนาโก สเปน และสวีเดนก็ได้ให้สัตยาบันตามมา ถัดมาในปี พ.ศ. 2558 มีการให้สัตยาบันโดยฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสโลวีเนีย ในปี พ.ศ. 2559 โดยเบลเยียม ซานมารีโน และโรมาเนีย ในปี พ.ศ. 2560 โดยไซปรัส เอสโตเนีย จอร์เจีย เยอรมนี นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2561 โดยโครเอเชีย กรีซ ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์กและสาธารณรัฐมาซิโดเนีย และในปี พ.ศ. 2562 โดยสาธารณรัฐไอร์แลนด์[2] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 Věra Jourová แห่งกรรมาธิการความเท่าเทียมทางเพศแห่งยุโรป เป็นผู้การลงนามในอนุสัญญาอิสตันบูลในนามของสหภาพยุโรป[12] รัฐใด ๆ ก็ตามที่ได้ให้สัตยาบันตามอนุสัญญามีข้อผูกพันทางกฎหมายตามบทบัญญัติให้มีผลใช้บังคับใช้ในประเทศของตัวเอง
อนุสัญญาสามารถเพิกถอนได้ โดยให้แจ้งเลขาธิการแห่งสภายุโรป (ตามมาตรา 80) และให้มีผลบังคับใช้สามเดือนหลังจากการประกาศ[13]
ผู้ลงนาม[14] | ลงนาม | ให้สัตยาบัน | มีผลบังคับใช้ | เลิกใช้ |
---|---|---|---|---|
แอลเบเนีย | 19 ธันวาคม 2011 | 4 กุมภาพันธ์ 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
อันดอร์รา | 22 กุมภาพันธ์ 2013 | 22 เมษายน 2014 | 1 สิงหาคม 2014 | |
อาร์มีเนีย | 18 มกราคม 2018 | |||
ออสเตรีย | 11 พฤษภาคม 2011 | 14 พฤศจิกายน 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
เบลเยียม | 11 กันยายน 2012 | 14 มีนาคม 2016 | 1 กรกฎาคม 2016 | |
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | 8 มีนาคม 2013 | 7 พฤศจิกายน 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
บัลแกเรีย | 21 เมษายน 2016 | |||
โครเอเชีย | 22 มกราคม 2013 | 12 มิถุนายน 2018 | 1 ตุลาคม 2018 | |
ไซปรัส | 16 มิถุนายน 2015 | 10 พฤศจิกายน 2017 | 1 มีนาคม 2018 | |
เช็กเกีย | 2 พฤษภาคม 2016 | |||
เดนมาร์ก[note 3] | 11 ตุลาคม 2013 | 23 เมษายน 2014 | 1 สิงหาคม 2014 | |
เอสโตเนีย | 2 ธันวาคม 2014 | 26 ตุลาคม 2017 | 1 กุมภาพันธ์ 2018 | |
สหภาพยุโรป | 13 มิถุนายน 2017 | |||
ฟินแลนด์ | 11 พฤษภาคม 2011 | 17 เมษายน 2015 | 1 สิงหาคม 2015 | |
ฝรั่งเศส | 11 พฤษภาคม 2011 | 4 กรกฎาคม 2014 | 1 พฤศจิกายน 2014 | |
จอร์เจีย | 19 มิถุนายน 2014 | 19 พฤษภาคม 2017 | 1 กันยายน 2017 | |
เยอรมนี | 11 พฤษภาคม 2011 | 12 ตุลาคม 2017 | 1 กุมภาพันธ์ 2018 | |
กรีซ | 11 พฤษภาคม 2011 | 18 มิถุนายน 2018 | 1 ตุลาคม 2018 | |
ฮังการี | 14 มีนาคม 2014 | |||
ไอซ์แลนด์ | 11 พฤษภาคม 2011 | 26 เมษายน 2018 | 1 สิงหาคม 2018 | |
ไอร์แลนด์ | 15 พฤศจิกายน 2015 | 8 มีนาคม 2019 | 1 กรกฎาคม 2019 | |
อิตาลี | 27 กันยายน 2012 | 10 กันยายน 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
ลัตเวีย | 18 พฤษภาคม 2016 | |||
ลีชเทินชไตน์ | 10 พฤศจิกายน 2016 | 17 มิถุนายน 2021 | 1 ตุลาคม 2021 | |
ลิทัวเนีย | 7 มิถุนายน 2013 | |||
ลักเซมเบิร์ก | 11 พฤษภาคม 2011 | 7 สิงหาคม 2018 | 1 ธันวาคม 2018 | |
มอลตา | 21 พฤษภาคม 2012 | 29 กรกฎาคม 2014 | 1 พฤศจิกายน 2014 | |
มอลโดวา | 6 กุมภาพันธ์ 2017 | 14 ตุลาคม 2021 | 20 ตุลาคม 2021 | |
โมนาโก | 20 กันยายน 2012 | 7 ตุลาคม 2014 | 1 กุมภาพันธ์ 2015 | |
มอนเตเนโกร | 11 พฤษภาคม 2011 | 22 เมษายน 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
เนเธอร์แลนด์[note 4] | 14 พฤศจิกายน 2012 | 18 พฤศจิกายน 2015 | 1 มีนาคม 2016 | |
มาซิโดเนียเหนือ | 8 กรกฎาคม 2011 | 23 มีนาคม 2018 | 1 กรกฎาคม 2018 | |
นอร์เวย์ | 7 กรกฎาคม 2011 | 5 กรกฎาคม 2017 | 1 พฤศจิกายน 2017 | |
โปแลนด์ | 18 ธันวาคม 2012 | 27 เมษายน 2015 | 1 สิงหาคม 2015 | |
โปรตุเกส | 11 พฤษภาคม 2011 | 5 กุมภาพันธ์ 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
โรมาเนีย | 27 มิถุนายน 2014 | 23 พฤษภาคม 2016 | 1 กันยายน 2016 | |
ซานมารีโน | 30 เมษายน 2014 | 28 มกราคม 2016 | 1 พฤษภาคม 2016 | |
เซอร์เบีย | 4 เมษายน 2012 | 21 พฤศจิกายน 2013 | 1 สิงหาคม 2014 | |
สโลวาเกีย | 11 พฤษภาคม 2011 | |||
สโลวีเนีย | 8 กันยายน 2011 | 5 กุมภาพันธ์ 2015 | 1 มิถุนายน 2015 | |
สเปน | 11 พฤษภาคม 2011 | 10 เมษายน 2014 | 1 สิงหาคม 2014 | |
สวีเดน | 11 พฤษภาคม 2011 | 1 กรกฎาคม 2014 | 1 พฤศจิกายน 2014 | |
สวิตเซอร์แลนด์ | 11 กันยายน 2013 | 14 ธันวาคม 2017 | 1 เมษายน 2018 | |
ตุรกี | 11 พฤษภาคม 2011 | 14 มีนาคม 2012 | 1 สิงหาคม 2014 | 1 กรกฎาคม 2021 |
ยูเครน | 7 พฤศจิกายน 2011 | |||
สหราชอาณาจักร | 8 มิถุนายน 2012 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Council of Europe (2011). "Explanatory Report to the Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
- ↑ 2.0 2.1 "Publication to the Government Gazette of the ratification, by Greece, of the CoE Convention on violence against women and domestic violence (Original: Δημοσίευση σε ΦΕΚ του Ν.4531/2018 για την κύρωση από την Ελλάδα της Σύμβασης του Σ.τ.Ε. περί έμφυλης και ενδοοικογενειακής βίας)". Isotita.gr. 16 April 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 12 May 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Full list: Chart of signatures and ratifications of Treaty 210". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2017. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
- ↑ "Erdoğan insists it's at his discretion to pull Turkey out of İstanbul Convention". Bianet - Bagimsiz Iletisim Agi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ Story by Reuters (2021-07-01). "Turkey formally quits treaty to prevent violence against women". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
- ↑ "Recommendation Rec(2002)5 of the Committee of Ministers to member states on the protection of women against violence". Council of Europe Committee of Ministers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
- ↑ "Campaign to Combat Violence against Women, including domestic violence (2006-2008)". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2021. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
- ↑ 8.0 8.1 "Historical background". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2021.
- ↑ "Ad Hoc Committee on preventing and combating violence against women and domestic violence (CAHVIO)". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2009. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
- ↑ "Time to take a stand to oppose violence against women in Europe". Amnesty International. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.
- ↑ "Draft Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ "EU signs the Istanbul Convention". European Institute for Gender Equality. 16 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 11 February 2019.
- ↑ "Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2021.
- ↑ "Chart of signatures and ratifications of Treaty 210: Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". Council of Europe website. Council of Europe. 11 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2015. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ 15.0 15.1 "Reservations and Declarations for Treaty No.210 - Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ก. สหภาพยุโรปเป็นผู้ลงนามเช่นกัน
- ↑ รวมถึงประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำอนุสัญญา ไม่มีประเทศใดเลย (แคนาดา, สันตะสำนัก (นครวาติกัน), ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา) ที่ลงนามในอนุสัญญา
- ↑ อนุสัญญานี้ไม่ใช้บังคับกับ หมู่เกาะแฟโร และ กรีนแลนด์.[15]
- ↑ อนุสัญญานี้ไม่ได้บังคับใช้ใน ดัตช์แคริบเบียน ใช้เพียงเฉพาะส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปของ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เท่านั้น[15]