หลวงพ่อศิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงพ่อศิลา
ชื่อเต็มพระพุทธรูปหลวงพ่อศิลา
ชื่อสามัญหลวงพ่อศิลา
ประเภทพระพุทธรูปหินจำหลักปรางนาคปรก สมาธิ
ศิลปะทวารวดี
ความกว้าง44 เซนติเมตร
ความสูง85.50 เซนติเมตร หนัก 126.5 กิโลกรัม
วัสดุหินทรายสีเทา
สถานที่ประดิษฐานพระอุโบสถ วัดทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ความสำคัญได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปหินจำหลักที่งดงามที่สุดในทวารวดี
หมายเหตุเดิมประดิษฐานในถ้ำเจ้าราม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดทุ่งเสลี่ยมเป็นสถานที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อศิลา[1] เป็นพระพุทธรูป สกัดจากหินทรายสีเทา ศิลปะทวารวดี พบอยู่ในถ้ำเจ้าราม เคยถูกโจรกรรม และกลับมาประดิษฐานที่วัดทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม

ลักษณะ[แก้]

หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ สกัดจากหินทรายสีเทา ที่กระบังหน้ามีแนวขึ้นตรงกลาง ลักษณะบ่งบอกว่าทำขึ้นในประเทศไทย มีลักษณะพิเศษชัดเจนคือมีผ้าทิพย์รองรับตัวองค์พระ ปกติจะเป็นเส้นตรง มีลายดอกจันที่ขุดลึกลงไปในเนื้อหิน ต่างจากส่วนใหญ่เป็นลายขีดธรรมดา ทรงกรองศอพาหุรัด สวมศิราภรณ์ สวมมงกุฎเทริด พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยมคล้ายศิลปะขอมโบราณ พระพักตร์ไม่แย้มพระโอษฐ์เหมือนศิลปะบายน ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานขนาดนาคสามชั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรมีเจ็ดเศียร ด้านหลังหางนาคพาดขึ้นมาถึงลำตัว มีลวดลายแบบศิลปะลพบุรี สร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราชที่18-19 ขนาดองค์พระ วัดจากรากฐานถึงปลายยอดเศียรนาคสูง 85.50 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 44 เซนติเมตร น้ำหนัก 126.5 กิโลกรัม

สถานที่ประดิษฐาน[แก้]

หลวงพ่อศิลา ประดิษฐานอยู่ที่วัดทุ่งเสลี่ยม บ้านศรีเสลี่ยม เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

ประวัติ[แก้]

อัญเชิญมาจากถ้ำเจ้าราม[แก้]

หลวงพ่อศิลา เดิมประดิษฐานอยู่ถ้ำเจ้าราม มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่มาก ชาวบ้านไปหามูลค้างคาว พบพระพุทธรูปทำด้วยศิลาปางนาคปรก เมื่อกลับถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านไปบอก พระอภัยที่เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยม หารือกับผู้ใหญ่บ้านว่าจะอัญเชิญหลวงพ่อศิลามาไว้วัดทุ่งเสลี่ยม เนื่องจากพระอภัยสูงอายุ เดินทางไม่ไหว จึงได้ล้มเลิก ความรู้ถึงครูบาก๋วนเจ้าอาวาสวัดแม่ปะหลวง ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นำชาวบ้านไปอัญเชิญหลวงพ่อศิลา เมื่อเข้าไปในถ้ำเจ้ารามพบพระพุทธรูปปางนาคปรก มีค้างคาวบินวนเวียนมากมาย ครูบาก๋วนได้อัญเชิญพระพุทธรูปออกจากถ้ำเจ้าราม ในราวปี2472-2475 เดินทางกลับด้วยความลำบาก ผ่านหนองปลาซิว (บ้านห้วยทราย) หนองส้มป่อย (บ้านน้ำดิบ) จนถึงทุ่งเสลี่ยม ชาวทุ่งเสลี่ยมจัดขบวนแห่ต้อนรับ เมื่อถึงวัดทุ่งเสลี่ยมเกิดปาฏิหาริย์ขึ้น ท้องฟ้าที่แจ่มใส ก็ถูกบดบังด้วยเมฆฝน เกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน เมื่อฝนหยุดตกมีฝูงค้างคาวบินวนเหนือวัดทุ่งเสลี่ยม แล้วบินกลับถ้ำเจ้าราม ชาวบ้านเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป ไม่ยอมให้ครูบาก๋วนอัญเชิญกลับไปยังอำเภอเถิน เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยมจึงหารือกับเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก ซึ่งตกลงให้พระพุทธรูปศิลาประดิษฐานที่วัดทุ่งเสลี่ยม ชาวบ้านตั้งชื่อว่า "หลวงพ่อศิลา" ครูบาก๋วนจึงได้จำลองหลวงพ่อศิลา อัญเชิญไปไว้ที่วัดแม่ปะหลวง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ด้วยใจศรัทธา

ถูกโจรกรรม[แก้]

  • 29 ตุลาคม พ.ศ. 2520 มีการโจรกรรมหลวงพ่อศิลา จากวัดทุ่งเสลี่ยม
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ได้มีการจัดแสดงที่อังกฤษ กลุ่มอนุรักษ์ชาวไทยได้เขียนหนังสือร้องเรียนผ่านหนังสือพิมพ์มติชนว่า ได้พบพระพุทธรูปปางนาคปรก ในหนังสือประมวลศิลปวัตถุ เพื่อประมูลขายของสถาบันโซธบี (Sotheby's Institute) ในกรุงลอนดอน ทราบถึงชาวทุ่งเสลี่ยม จึงทำหนังสือร้องเรียน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และกรมศิลปากรเพื่อให้ทางราชการติดตามทวงถามพระพุทธรูป เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน กรมศิลปากรจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบ และตามทวงหลวงพ่อศิลา ต่อมาหน่วยสืบราชการลับอังกฤษได้แจ้งว่า ผู้ประมูลหลวงพ่อศิลาได้เคลื่อนย้ายไปสหรัฐฯแล้ว ทนายความของผู้ครอบครองแจ้งว่า ไม่ทราบว่าพระพุทธรูปมาจากโจรกรรม จะคืนแต่เรียกเงินสองแสนดอลลาร์สหรัฐ ในครั้งแรกรัฐบาลไทยได้ทวงคืนเมื่อคณะผู้แทนไทย นำโดยศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งป็นหัวหน้าคณะเฉพาะกิจ เดินทางไปถึงทางหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) แจ้งว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีอาญา อยู่นอกเหนืออำนาจของเอฟบีไอ รวมถึงการยืนฟ้องตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่สามารถทำได้
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 คณะกรรมการติดตามทวงพลวงพ่อศิลา นำโดย ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เดินทางไปตรวจสอบรอยตำหนิ และมอบค่าชดเชยเป็นเงินสองแสนหนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนายธนินท์ เจียรวนนท์ประธานกรรมการในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารฯ เป็นผู้พิจารณาสนับสนุนค่าชดเชยเป็นเงินอีก 5 ล้านบาท เพื่อนำพระพุทธรูปล้ำค่ากลับคืนสู่ประเทศไทย

กลับคืนสู่ประเทศไทย[แก้]

การคมนาคม[แก้]

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1048
  2. ทางหลวงชนบทหมายเลข 1327

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-08. สืบค้นเมื่อ 2010-11-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]