หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รุจีสมร สุขสวัสดิ์
หม่อมราชวงศ์รุจีสมร ในวัย 94 ปี
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2463
จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม
เสียชีวิต3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (101 ปี)
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพครู
นายจ้างโรงเรียนวรรณวิทย์
วาระพ.ศ. 2497–2565
บิดามารดาหม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์
หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ (12 กันยายน พ.ศ. 2463 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]) เป็นอดีตครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประวัติ[แก้]

หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2463 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า "คุณหญิงอู้" โดยหม่อมมารดาจะเรียกว่า "คุณอู้" เป็นธิดาคนเล็กของร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ กับหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วสุวัต) มีพี่สาวสองคนคือ ท่านผู้หญิงทินะประภา อิศรเสนา ณ อยุธยา และหม่อมราชวงศ์กานดาศรี สุขสวัสดิ์ ขณะที่หม่อมราชวงศ์รุจีสมรมีอายุเพียงสองเดือนบิดาก็สิ้นชีพิตักษัย[2]

หม่อมราชวงศ์รุจีสมรสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี ก่อนสอบเข้าที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนเพียงปีเดียวก็ลาออกเพราะไม่มีเงินสำหรับค่าเล่าเรียน หลังจากนั้นจึงเข้ามาเป็นครูในโรงเรียนวรรณวิทย์ของมารดาพร้อมกับศึกษาต่อ โรงเรียนฝึกหัดครูประสานมิตร (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) วิชาเอกภาษาไทย วิชาโทสังคมจนสำเร็จการศึกษา[3] ก่อนเข้าเป็นครูผู้สอนและครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ในเวลาต่อมา โดยหม่อมราชวงศ์รุจีสมรอาศัยอยู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ในเขตรั้วโรงเรียนเรื่อยมา[4]

การเสียชีวิต[แก้]

หม่อมราชวงศ์รุจีสมรเสียชีวิตอย่างสงบเมื่อเวลา 01.00 น. ของวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก สิริอายุ 101 ปี[5] วันต่อมาได้เคลื่อนศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และฌาปนกิจในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การทำงาน[แก้]

หม่อมราชวงศ์รุจีสมรดำรงตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียนวรรณวิทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ต่อจากหม่อมผิว ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นมารดา ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนวรรณวิทย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 โดยหม่อมราชวงศ์รุจีสมรได้รับการยกย่องว่ามีจิตวิญญาณความเป็นครู ด้วยเก็บค่าเทอมราคาถูก และมีเมตตาต่อศิษย์อยู่เสมอ[6][7] โดยใช้เงินที่ได้จากค่าลิขสิทธิ์จากบทประพันธ์ของหม่อมผิวที่มีอยู่หลายเรื่องมาจุนเจือกิจการของโรงเรียน ร่วมกับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง[8] กระทั่งโรงเรียนวรรณวิทย์ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 เนื่องจากประสบสภาวะขาดทุนต่อเนื่องยาวนาน[9] หลังโรงเรียนวรรณวิทย์ปิดตัวลงไม่นานนักหม่อมราชวงศ์รุจีสมรก็เสียชีวิตลง

อ้างอิง[แก้]

  1. "อาลัย "ม.ร.ว.รุจีสมร" อดีตครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว". mgronline.com. 2022-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-27.
  2. ปารมี ปิยะศิริศิลป์ (29 ตุลาคม 2558). "บุคคล (ไม่) ธรรมดา : โรงเรียนวรรณวิทย์ ผู้ให้หัวใจแกร่ง". all Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สดุดีทั้งหัวใจ ม.ร.ว. รุจีสมร ศรัทธาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน". สนุกดอตคอม. 6 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ปิดฉาก 76 ปี โรงเรียนวรรณวิทย์ไปต่อไม่ไหวแล้ว ยุติการเรียนการสอนเทอมนี้". ผู้จัดการออนไลน์. 21 มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "อาลัย ม.ร.ว.รุจีสมร" อดีตคุณครูใหญ่โรงเรียนวรรณวิทย์ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว". mgronline.com. 2022-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-27.
  6. "ชูวิทย์ โพสต์ อวย(พร)ให้ถูกคน กราบ "ม.ร.ว.รุจีสมร" ด้วยหัวใจ บอกอย่าไปอวยพรคนที่มีแต่อำนาจเท่านั้น". มติชนออนไลน์. 5 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. "โรงเรียนวรรณวิทย์ ไม่สนเงินพันล้านขอเป็นตึกไม้สอนนักเรียนต่อไป". สนุกดอตคอม. 30 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เหลือนักเรียนคนเดียวก็จะสอน "หม่อมรุจีสมร" ตำนานครูใหญ่ผู้ปฏิเสธเงินพันล้าน!". ผู้จัดการออนไลน์. 27 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "สิ้นระฆังกังวาน ปิดตำนาน "วรรณวิทย์" ศิษย์เก่ารวมใจปิดหนี้ก้อนสุดท้ายให้โรงเรียน". พีพีทีวี. 3 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)