สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุฒาจารย์

(นวม พุทฺธสโร)
ส่วนบุคคล
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2407 (92 ปี 134 วัน ปี)
มรณภาพ25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 4 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดอนงคารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอนงคารามวรวิหาร
สังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม นวม ฉายา พุทฺธสโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดอนงคารามวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก สังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ และกรรมการมหาเถรสมาคม

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า นวม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2407 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด[1] เป็นบุตรของหมื่นนรา (อินทร์) กับนางใย มีพี่น้องร่วมบิดากัน 8 คน[2] ภูมิลำเนาอยู่บ้านวังแม่ลูกอ่อน อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

เริ่มแรกได้ศึกษาที่วัดโคกเข็ม จังหวัดชัยนาท จนอายุได้ 13 ปี จึงย้ายมาศึกษาที่วัดอนงคาราม ได้บวชเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2424[1] แล้วศึกษาต่อจนถึงปี พ.ศ. 2428 ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยมีพระครูเมธังกร เจ้าคณะอำเภอเมืองในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรวันและพระสมุห์เปรมเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า พุทฺธสโร บวชแล้วกลับมาอยู่วัดอนงคารามเพื่อศึกษาต่อ[2]

ศาสนกิจ[แก้]

ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์สยามปริยัติ ครูโรงเรียนวัดอนงคาราม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแแหน่งเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก จนถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2470 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก[3] ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2474 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลกได้ตามปรารถนา เพราะมีหน้าที่อื่นมากอยู่แล้ว[4]

สังฆมนตรี[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

  • 29 เมษายน พ.ศ. 2442 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอุดมพิทยากร มีนิตยภัตราคาเดือนละ 2 ตำลึงกึ่ง[9]
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระธรรมธราจารย์ มีนิตยภัตเดือนละ 12 บาท[10] ได้รับพระราชทานผ้าไตรและพัดยศ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ร.ศ. 125[11]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานพัดแฉกหน้าราหูเล็ก เสมอพระราชาคณะเปรียญธรรม 4 ประโยค มีนิตยภัตเดือนละ 16 บาท[12] ณ พลับพลาโรงละครสวนแง่เต๋ง พระราชวังดุสิต[13]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระรัชชมงคลมุนี พรหมจารีพรตนิวิฐ กฤตยาทรยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี[14]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนีศรีรัตนไพรวัน ปรันตปะประเทศ เขตร์อรัญวาสีบพิตร[15]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระโพธิวงศาจารย์ ญาณวิศุทธจริยาปริณายก ตรีปิฎกธรรมสุนทร ยติคณิสสร บวรศีลาทิขันธ์ อรัณยวาสี[16]
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเทียบชั้นเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสีที่ พระมหาโพธิวงศาจารย์ พุทธสราภิธานปริยัตติปรีชา อุดมวิทยากโรปการคุณ วิบุลจริยสมบัติ อเนกบริษัทประสาทการ อภิบาลพุทธปาทวลัญช์ อรัญญวาสีสังฆนายก[17]
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตสัมบัน สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์ ยติคณิศรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญญวาสี[18]

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สิริอายุได้ 92 ปี 134 วัน พรรษา 72[19]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 253
  2. 2.0 2.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 138
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าคณะมณฑลราชบุรีและมณฑลพิษณุโลก, เล่ม 44, ตอน 0 ง, 2 ตุลาคม 2470, หน้า 1970-1971
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ พระราชาคณะลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะยุบและตั้งเจ้าคณะ, เล่ม 48, ตอน 0 ง, 18 ตุลาคม 2474, หน้า 2,580
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์, เล่ม 67, ตอน 43, 8 สิงหาคม 2493, หน้า 3,376
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 68, ตอน 38, 19 มิถุนายน 2494, หน้า 2,595
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆนายก สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์, เล่ม 68, ตอน 50 ง, 31 กรกฎาคม 2494, หน้า 3,088
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 72, ตอน 61 ง ฉบับพิเศษ, 13 สิงหาคม 2498, หน้า 19
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม 16, ตอน 5, 30 เมษายน ร.ศ. 118, หน้า 62
  10. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่รับตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม 23, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125, หน้า 887
  11. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์กับทั้ง, เล่ม 23, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 124, หน้า 886-887
  12. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่รับพระราชทานพัดเปลี่ยนพัดยศ, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 25 มิถุนายน ร.ศ. 130, หน้า 613
  13. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์และเปลี่ยนพัดยศ, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 25 มิถุนายน ร.ศ. 130, หน้า 611-613
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม 37, 9 มกราคม 2463, หน้า 3,391
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 15 พฤศจิกายน 2468, หน้า 210
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 46, ตอน 0 ง, 17 พฤศจิกายน 2472, หน้า 2657
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 58, ตอน 0 ง, 11 มีนาคม 2484, หน้า 496
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 62, ตอน 72 ก, 25 ธันวาคม 2488, หน้า 713-717
  19. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 139
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ถัดไป
พระธรรมวโรดม (เข้ม ธมฺมสโร)
เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก
(9 กันยายน พ.ศ. 2470 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2474)
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท)