สภาสามัญชนแคนาดา
สภาสามัญชนแคนาดาแห่งแคนาดา House of Commons of Canada Chambre des communes du Canada | |
---|---|
สมัยที่ 44 | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาแคนาดา |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | |
ผู้นำฝ่ายค้าน | |
ผู้นำพรรค ฝ่ายรัฐบาล | |
ผู้นำพรรค ฝ่ายค้าน | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 338 คน |
กลุ่มการเมืองใน สภาสามัญชน | ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายค้าน
พรรคการเมืองอื่นๆ
|
เงินเดือน | CA$182,600.00 (เบี้ยประชุมเริ่มบังคับใช้ เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2020)[1] |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้งสภาสามัญชน | ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งล่าสุด | 20 กันยายน พ.ศ. 2564 |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งหน้า | การเลือกตั้งสหพันธรัฐครั้งที่ 45 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมสภาสามัญชน, อาคารตะวันตก, พาร์เลียเมนต์ฮิล, ออตตาวา, ออนแทรีโอ, แคนาดา | |
เว็บไซต์ | |
www | |
ข้อบังคับ | |
กฎข้อบังคับในสภาสามัญชน (ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส) |
สภาสามัญชนแคนาดา (อังกฤษ: House of Commons of Canada, ฝรั่งเศส: Chambre des communes du Canada) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแคนาดา ซึ่งประกอบกับพระมหากษัตริย์ (โดยผู้สำเร็จราชการเป็นอุปราชผู้แทนพระองค์โดยตำแหน่ง) และวุฒิสภา[2] ที่ประชุมสภาสามัญชนมีห้องประชุมชั่วคราวที่ปีกตะวันตกของอาคารรัฐสภาที่พาร์เลียเมนต์ฮิลล์ ออตตาวา รัฐออนแทรีโอ โดยห้องประชุมสภาสามัญชนซึ่งโดยปกติตั้งอยู่ที่ปีกกลางนั้นปิดปรับปรุงเป็นระยะเวลาสิบปี[3]
สภาสามัญชนเป็นสภาที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยระบอบประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชนหรือสมาชิกรัฐสภา (MPs) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 338 ที่นั่ง จากการแบ่งเขตเลือกตั้งในปีค.ศ. 2015 โดยมีจำนวนผู้แทนเพิ่มขึ้นถึง 30 ที่นั่งจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า[2][4][5][6] โดยมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดจากเขตเลือกตั้งทั้งหมดทั่วแคนาดา ซึ่งเรียกว่า "Ridings"[7] สมาชิกรัฐสภาสามารถดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการยุบสภาและตามรัฐธรรมนูญจะต้องมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 5 ปีภายหลังจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามทางประวัติศาสตร์นั้นวาระจะสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากจะมีการยุบสภาภายในระยะเวลาสี่ปีเพื่อทำการเลือกตั้งใหม่ตามจารีตรัฐธรรมนูญที่มีมายาวนาน อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติรัฐสภาที่บังคับใช้ในสมัยปัจจุบันบัญญัติให้มีวาระของสภาสามัญชน
การแบ่งที่นั่งภายในสภานั้นแบ่งสรรปันส่วนคร่าวๆ ตามสัดส่วนประชากรในแต่ละรัฐในแคนาดา แต่ยังมีเขตเลือกตั้งบางเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่าอีกหลายๆ เขตเลือกตั้ง
สภาสามัญชนแคนาดาก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1867 เมื่อพระราชบัญญัติอเมริกาเหนือ ค.ศ.1867 (ในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867) มีผลเพื่อก่อตั้งประเทศแคนาดาในเครือจักรภพ และให้มีการจัดตั้งสภาสามัญชนตามระบบเวสมินสเตอร์ของสหราชอาณาจักร
สภาสามัญชนถึงแม้จะเป็นสภาล่างในรัฐสภา แต่ในทางปฏิบัติมีอำนาจมากกว่าสภาสูง (วุฒิสภา) ถึงแม้ว่าการนิติบัญญัตินั้นจำเป็นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากทั้งสองสภา แต่วุฒิสภานั้นแทบจะไม่ตีตกร่างกฎหมายใดๆ ที่ได้ผ่านโดยสภาสามัญชน (ถึงแม้ว่าในบางโอกาสจะทำการถ่วงเวลาพิจารณาโดยยืดวาระออกไป) นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังต้องมีความรับผิดชอบเพียงต่อสภาสามัญชนเท่านั้น นายกรัฐมนตรีจะสามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้ตราบที่ยังได้รับความไว้วางใจจากสภาสามัญชน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Indemnities, Salaries and Allowances". Parlinfo. Parliament of Canada. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Guide to the Canadian House of Commons (PDF). Library and Archives Canada Cataloguing in Publication. House of Commons of Canada. 2009. ISBN 978-0-662-68678-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ September 29, 2007.
- ↑ ""Parliament of Canada"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-26. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03.
- ↑ "Members of the House of Commons – Current List – By Name". Parliament of Canada. Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2007. สืบค้นเมื่อ September 25, 2007.
- ↑ "Members of Parliament". Parliament of Canada. Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 24, 2011. สืบค้นเมื่อ กันยายน 25, 2007.
- ↑ Thandi Fletcher (ธันวาคม 16, 2011). "Crowded House: Parliament gets cozier as 30 seats added". Canada.com. Postmedia News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 14, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 19, 2011.
- ↑ "Elections Canada On-Line". Electoral Insight. November 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2008. สืบค้นเมื่อ September 29, 2007.