สนามกีฬาซานมาเมส
นูเอโบซานมาเมส ซานมาเมสบาร์เรีย กาเตดราลา | |
ชื่อเต็ม | ซานมาเมส |
---|---|
ที่ตั้ง | บิลบาโอ แคว้นประเทศบาสก์ สเปน |
พิกัด | 43°15′51″N 2°57′01″W / 43.264284°N 2.950366°W |
เจ้าของ | บริษัท ซานมาเมส บาร์เรีย จำกัด, อัตเลติกเดบิลบาโอ, รัฐบาลบาสก์, สภาจังหวัดบิซกายา และธนาคารเบเบกา |
ผู้ดำเนินการ | อัตเลติกเดบิลบาโอ |
ความจุ | 53,289 ที่นั่ง[1] |
สถิติผู้ชม | 49,164 คน (ฟุตบอล; อัตเลติกพบเรอัลมาดริด, 18 มีนาคม ค.ศ. 2017)[2] (รักบี้) 52,282 คน (เลนสเตอร์พบราซิง 92, 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2018)[3] |
ขนาดสนาม | 105 × 68 m (344 × 223 ft) |
พื้นผิว | หญ้าผสม |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 |
ก่อสร้าง | 16 กันยายน ค.ศ. 2013 (ระยะแรก) 25 สิงหาคม ค.ศ. 2014 (เสร็จสมบูรณ์) |
เปิดใช้สนาม | 16 กันยายน ค.ศ. 2013 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 211 ล้านยูโร |
สถาปนิก |
|
ผู้จัดการโครงการ | อิดอม |
การใช้งาน | |
อัตเลติกเดบิลบาโอ (2013–ปัจจุบัน) อัตเลติกเดบิลบาโอ เบ (2015–2016) ฟุตบอลทีมชาติบาสก์ (2013–ปัจจุบัน) |
สนามกีฬาซานมาเมส (หรือรู้จักในชื่อ นูเอโบซานมาเมส หรือ ซานมาเมสบาร์เรีย) เป็นสนามกีฬาฟุตบอลตั้งอยู่ที่ถนนราฟาเอล โมเรโน "ปิชิชิ" ในเมืองบิลบาโอ แคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน เปิดใช้เมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 2013 แทนที่ของสนามซานมาเมสเดิม เป็นสนามเหย้าของอัตเลติกเดบิลบาโอ มีความจุ 53,289 ที่นั่ง ซึ่งมีความจุมากที่สุดในแคว้นประเทศบาสก์ และเป็นลำดับที่ 8 ของประเทศสเปน
ประวัติ
[แก้]การวางแผนและการก่อสร้าง
[แก้]ระยะแรกของการวางแผนงานเกิดขึ้นในในข่วงต้นปี ค.ศ. 2004[4] โดยมีสัญญาเริ่มต้นที่ลงนามในช่วงปลายปี ค.ศ. 2006 หลังจากได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 สนามกีฬาแห่งใหม่จะถูกสร้างขึ้นบนที่ดินของสนามเดิม และบนที่ดินของงานแสดงสินค้านานาชาติบิลบาโอ ที่ใช้งานมาจนถึงปี ค.ศ. 2003
ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ในเวลา 12:00 นาที (GMT+1) พิธีวางศิลาฤกษ์เกิดขึ้นที่สนามซันมาเมสเดิม[5] มีผู้เข้าร่วมงาน อาทิ เช่น ปัตชิ โลเปซ เลเอนดากาลิ แห่งแคว้นประเทศบาสก์, โฆเซ หลุยส์ บิลบาโอ ประธานสภาแคว้นประเทศบาสก์, อิญญากิ อัซกูนา นายกเทศมนตรีเมืองบิลบาโอ มาริโอ เฟร์นันเดซ ประธานธนาคารบิลบาโอบิซไกอากูชา, อังเฆล มาริอา บิยาร์ ประธานราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปน, และเฟร์นันโด การ์ซิอา มากูอา ประธานสโมสรอัตเลติกบิลบาโอ
ในพิธีการมีการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการส่งต่อเศษหญ้าและอิฐจากด้านหน้าที่ถูกรื้อถอนออกจากสนามเดิม ส่งต่อไปยังพื้นที่ก่อสร้างสนามใหม่ที่อยู่ติดกันด้วยห่วงโซ่มนุษย์ ซึ่งมีทั้งผู้เล่นที่มีชื่อเสียง เช่น โฆเซ อังเฆล อิริบาร์, ไอตอร์ ลาร์ราซาบัล, อังเดร์ อิตูร์รัสเป และ กิเก มูเนียอิน รวมทั้งสมาชิกของทีมเยาวชน ทีมหญิง ทีมสำรอง และแฟนบอลที่ลงทะเบียนที่อายุมากและอายุน้อยที่สุด[6]
ในขั้นต้น ได้เริ่มการก่อสร้างอัฒจรรย์สามด้านของสนามแห่งใหม่ และจากนั้นก็จัดการแข่งขัน ในขณะที่สนามเก่าถูกรื้อถอนเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับสร้างอัฒจรรย์อีกหนึ่งด้านให้เสร็จสมบูรณ์[4]
สนามถูกสร้างขึ้นในขณะที่ประเทศกำลังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะชาวบาสก์ โดยสนามมีได้ใช้เงินในการซื้อที่ดินและก่อสร้าง 211 ล้านยูโร (178 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง) โดย 52.6% ของทั้งหมดจ่ายโดยงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นของรัฐบาลบาสก์ 50 ล้านยูโร สภาเมืองบิลบาโอ 11 ล้านยูโร และสภาจังหวัดบิสเกย์ 50 ล้านยูโร นอกจากนี้ยังเป็นเงินของอัตเลติกบิลบาโอ 50 ล้านยูโร และธนาคารกูชา 50 ล้านยูโร ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสนามกีฬาจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานสาธารณะ เช่น ศูนย์กีฬา[7] มีความเชื่อว่า คณะกรรมาธิการยุโรป กำลังสืบสวนการใช้งบประมาณสาธารณะที่อาจไม่เหมาะสมในข้อตกลง ก่อนที่ปลายปี ค.ศ. 2013 ฆัวกิน อัลมูเนีย หนึ่งในกรรมาธิการคณะกรรมาธิการยุโรปในขณะนั้น (ซึ่งเป็นแฟนบอลของอัตเลติกบิลบาโอ) ยืนยันว่าจะไม่มีการดำเนินคดีดังกล่าว[8]
เปิดตัวครั้งแรก
[แก้]ซันมาเมสสนามใหม่ได้เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2013 102 วันหลังจากการแข่งขันนัดสุดท้ายในสนามเดิม ในขณะนั้นความจุอย่างเป็นทางการของสนามที่เสร็จสมบูรณ์บางส่วนคือ 35,686 ที่นั่ง[9] การแข่งขันนัดแรกเกิดขึ้นในเวลา 22:00 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลลาลิกา ฤดูกาล 2013-14 ระหว่างทีมเหย้าอัตเลติกบิลบาโอ พบกับเซลตาบิโก ซึ่งทีมเจ้าถิ่นชนะไปด้วยคะแนน 3–2 โดยมีผู้เข้าชมราว 33,000 คน[10] ซึ่งก่อนเกมได้มีกัปตันในแต่ละกลุ่มอายุของสโมสร รวมถึงการ์โลส กูร์เปกี และโฆซู อูร์รูเตีย ประธานสโมสร ได้เข้าร่วมในการแสดงสั้นๆ พร้อมด้วยการเต้นรำแบบ "เอาเรสกู" แบบดั้งเดิม โดยผู้ทำประตูคนแรกในสนามแห่งนี้คือ ชาร์เลส กองหน้าจากเซลตา ขณะที่ผู้ทำประตูคนแรกของอัตเลติกคือ มิเกล ซันโฆเซ ไม่กี่หลังจากประตูแรกของเซลตาเกิดขึ้น[11]
การแข่งขันนัดนี้เป็นนัดที่สองในฤดูกาลนั้นที่อัตเลติกลงเล่นในสนามเหย้า โดยก่อนหน้านี้ได้แข่งขันในอาโนเอตา สนามเหย้าของคู่แข่งสำคัญอย่างเรอัลโซซิเอดัด ซึ่งพวกเขาเอาชนะโอซาซูนา 2–0 ในซานเซบัสเตียน กิปุซโกอา[12][13][14]
เสร็จสมบูรณ์
[แก้]การแข่งขันนัดแรกภายใต้สนามที่เสร็จสมบูรณ์ เกิดขึ้นใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์-ออฟ พบกับ นาโปลี ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2014 มีผู้ชม 49,017 คน ซึ่งอัตเลติกเอาชนะ 3–1 ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มได้สำเร็จ[15]
การต่อเติมหลังคา
[แก้]นับตั้งแต่สนามเปิดใข้งาน แฟนบอลที่เข้ามาชมในสนามต่างไม่พอใจลักษณะของหลังคา ซึ่งไม่สามารถป้องกันทุกเก้าอี้ให้พ้นจากฝนที่ตกลงบ่อยครั้งในบิลบาโอได้ เมื่อจบฤดูกาล 2015–16 ตลอดทั้งช่วงปิดเทอมฤดูร้อนและตอนต้นของฤดูกาล 2016–17 การต่อเติมจึงเกิดขึ้นโดยมีมูลค่า 12.6 ล้านยูโร คาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทนต่อสภาพอากาศเปียกได้ร้อยละ 70[16][4] ในที่สุด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 งานต่อเติมหลังคาก็แล้วเสร็จและสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ในนัดที่เอาชนะบิยาร์เรอัล 1–0 ในการแข่งขันลาลิกา[17][18] การขาดแสงแดดลงสู่สนามจากหลังคาถูกชดเชยด้วยโมดูลไฟส่องสว่างภายในซึ่งรักษาสภาพและการเติบโตของสนามหญ้า ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในสนามกีฬาแห่งอื่น ๆ ของสเปน[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ UEFA EURO 2020 Evaluation Report
- ↑ "Athletic – Real Madrid". La Liga. 18 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ "Leinster lift fourth European Cup after 15-12 victory over Racing 92". www.epcrugby.com. 12 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-13. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 A new Cathedral: Athletic Club’s move to a new San Mamés, Simon Lloyd, Joe.co.uk
- ↑ Sinnott, John (11 May 2011). "Homage to San Mames". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
- ↑ "Work begins on the San Mames Barria". Irekia Euskadi. 26 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
- ↑ "¿Cómo se financió San Mames Barria?" [How is San Mamés Barria financed?] (ภาษาสเปน). EITB. 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ "European Commission confusion over Athletic Bilbao's stadium deal under investigation". The Independent. 18 December 2013. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ "San Mamés se abre al mundo" [San Mamés opens to the world]. Marca (ภาษาสเปน). 16 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
- ↑ "Partido Athletic – Celta en directo, en vivo" (ภาษาสเปน). LaLiga. 16 September 2013.
- ↑ ""Seremos recordados", dice Mikel San José, autor del primer gol en el nuevo San Mamés" ["We shall be remembered", says Mikel San José, author of first goal in the new San Mamés]. Canal Athletic. 17 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
- ↑ "20.000 rojiblancos apoyarán al Athletic en Anoeta" [20,000 red-and-whites will support Athletic in Anoeta] (ภาษาสเปน). EITB. 22 August 2013. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
- ↑ "Una 'mudanza' muy rentable" [A very profitable move']. Marca (ภาษาสเปน). 23 August 2013. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
- ↑ "El Athletic de Bilbao gana 2-0 a Osasuna en Anoeta" [Athletic Bilbao wins 2-0 against Osasuna at Anoeta]. La Vanguardia (ภาษาสเปน). 24 August 2013. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
- ↑ "Aduriz relishing Athletic's group stage adventure". UEFA.com. 28 August 2014. สืบค้นเมื่อ 25 July 2017.
- ↑ "El derbi bautiza la cubierta de San Mamés" [The derby will be the baptism for San Mamés roof] (ภาษาสเปน). Deia. 11 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-14. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ "Una victoria de esas que valen por dos" (ภาษาสเปน). El Desmarque. 20 November 2016. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
- ↑ @athletic (20 November 2016). "Espectacular vista aérea de San Mamés" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Sistema de iluminación arquitectónica de fachada de última generación para San Mamés" [State-of-the-art architectural lighting system for San Mamés] (ภาษาสเปน). Smart-lighting.es(with video). 28 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายละเอียดสนามกีฬาที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของอัตเลติกเดบิลบาโอ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการโดยอิดอม
- เว็บไซต์ที่ไม่เป็นทางการ
- สนามกีฬาในประเทศสเปน (ในภาษาอังกฤษ)
- คู่มือสนามกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ
ก่อนหน้า | สนามกีฬาซานมาเมส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อวีวาสเตเดียม ดับลิน |
สนามในรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่ายูโรปาลีก (2025) |
ไม่ทราบ |