การแพร่สัญญาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสาส่งสัญญาณในชตุทท์การ์ท

การแพร่สัญญาณ หรือ การออกอากาศ (อังกฤษ: broadcasting) คือการกระจายสัญญาณภาพและเสียงไปสู่ผู้ชมตามพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านสื่อสารมวลชน แต่โดยทั่วไปจะใช้รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (คลื่นวิทยุ) ในรูปแบบหนึ่งต่อหลายคน[1][2] การแพร่สัญญาณเริ่มต้นด้วยการแพร่สัญญาณเอเอ็ม สำหรับการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งานในช่วงปี ค.ศ. 1920 ด้วยการที่เครื่องส่งสัญญาณจากหลอดสุญญากาศแพร่สัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณ ก่อนหน้านี้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ (ตั้งแต่วิทยุ, โทรศัพท์ และโทรเลข) เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ด้วยข้อความที่มีไว้สำหรับผู้รับคนเดียว คำว่า "การแพร่สัญญาณ" วิวัฒนาการมาจากวิธีการเกษตร ในการหว่านเมล็ดในไร่โดยการคัดเลือกพวกมันในวงกว้าง[3] ต่อมาถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการแพร่กระจายข้อมูลอย่างกว้างขวางโดยสื่อสิ่งพิมพ์[4] หรือโดยโทรเลข[5] ตัวอย่างการนำไปใช้กับการส่งสัญญาณวิทยุ "หนึ่งต่อหลายคน" ของแต่ละสถานีให้กับผู้ฟังหลายคนปรากฏขึ้นเร็วมากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 เป็นต้นมา[6]

การแพร่สัญญาณผ่านอากาศมักเกี่ยวข้องกับวิทยุและโทรทัศน์ แม้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งวิทยุและโทรทัศน์เริ่มส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล (โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล) ฝ่ายที่ได้รับอาจรวมถึงประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มย่อยที่ค่อนข้างเล็ก ประเด็นคือทุกคนที่มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์รับสัญญาณที่เหมาะสม (เช่น เครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์) สามารถรับสัญญาณได้ สาขาการออกอากาศ รวมถึงบริการที่รัฐบาลจัดการ เช่น วิทยุสาธารณะ วิทยุชุมชน โทรทัศน์สาธารณะ วิทยุเชิงพาณิชย์ของเอกชน และโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ประมวลกฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ หัวข้อที่ 47 ตอนที่ 97 นิยาม "การแพร่สัญญาณ" ว่าเป็น "การส่งสัญญาณให้ประชาชนทั่วไปได้รับไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม"[7] การส่งสัญญาณโทรคมนาคมแบบส่วนตัวหรือแบบสองทางไม่มีคุณสมบัติตามนิยามนี้ ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการวิทยุสมัครเล่น และวิทยุคลื่นความถี่ ไม่ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศ ตามนิยาม "การส่งสัญญาณ" และ "การแพร่สัญญาณ" นั้นไม่เหมือนกัน

การส่งรายการวิทยุและโทรทัศน์จากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับที่บ้านโดยคลื่นวิทยุ เรียกว่า "ผ่านอากาศ" (อังกฤษ: Over the air; ชื่อย่อ: OTA) หรือการแพร่สัญญาณภาคพื้นดิน และในประเทศส่วนใหญ่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการการแพร่สัญญาณ การส่งสัญญาณโดยใช้ลวดหรือสายเคเบิล เช่น โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล (ซึ่งส่งสัญญาณจากสถานีผ่านอากาศด้วยความยินยอม) ยังได้รับการพิจารณาออกอากาศ แต่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต (แม้ว่าในบางประเทศจะต้องมีใบอนุญาต) ในยุค 2000 การส่งสัญญาณของรายการโทรทัศน์และวิทยุผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแบบส่งต่อเนื่อง ก็ได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นว่าเป็นการแพร่สัญญาณเช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Peters, John Durham (1999). Speaking into the Air. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-66276-3.
  2. Speaking into the Air. Press.uchicago.edu. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
  3. Douglas, Susan J. (1987). Inventing American Broadcasting, 1899–1922. Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-3832-3.
  4. The Hand-book of Wyoming and Guide to the Black Hills and Big Horn Regions, 1877, p. 74: "in the case of the estimates sent broadcast by the Department of Agriculture, in its latest annual report, the extent has been sadly underestimated".
  5. "Medical Advertising", Saint Louis Medical and Surgical Journal, December 1886, p. 334: "operations formerly described in the city press alone, are now sent broadcast through the country by multiple telegraph".
  6. "Wireless Telegraphy", The Electrician (London), October 14, 1898, p. 815: "there are rare cases where, as Dr. Lodge once expressed it, it might be advantageous to 'shout' the message, spreading it broadcast to receivers in all directions".
  7. Electronic Code of Federal Regulation. (28 กันยายน 2017). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2017.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]