วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/เจตนา นาควัชระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เจตนา นาควัชระ[แก้]

  1. ปิดการเสนอว่าผ่านได้เมื่อผ่านเกณฑ์ทุกข้อ (อาจรอข้อเสนอแนะเพิ่มอีกเล็กน้อย)
  2. ระยะเวลาการปรับปรุงแล้วแต่ผู้เขียนกับผู้ทบทวนหลักตกลงกัน
  3. หากไม่มีการตอบสนองเพียงพอโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 7 วันให้ปิดอภิปรายเป็นไม่ผ่าน
  4. ผู้ใช้มีบัญชีทุกคนร่วมเสนอแนะและทบทวนได้ ผู้ทบทวนหลักขอให้ทำความเข้าใจเกณฑ์ให้ดี
  5. ผู้เขียนหลักไม่ควรทบทวนงานของตนเอง ผู้เสนอแนะอาจช่วยแก้ไขได้แต่ไม่ควรมากเกินไป
เสนอชื่อโดย Tanapatjms (คุย)

รายการตรวจ[แก้]

เกณฑ์บทความคัดสรร ผลการประเมิน
1ก) เขียนอย่างดี  สำเร็จ
1ข) ครอบคลุม  สำเร็จ
1ค) ค้นคว้าเป็นอย่างดี  สำเร็จ
1ง) เป็นกลาง  สำเร็จ
1จ) มีเสถียรภาพ  สำเร็จ
2ก) ส่วนนำ  สำเร็จ
2ข) โครงสร้างเหมาะสม  สำเร็จ
2ค) การอ้างอิงอย่างเหมาะสม  สำเร็จ
3) สื่อ  สำเร็จ
4) ความยาว  สำเร็จ

ผู้ทบทวนหลัก: Timekeepertmk (คุย) (ไม่ใช่ผู้ทบทวนหลัก แต่เห็นว่าผู้เขียนหลักได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้ว ทั้งนี้หากไม่มีผู้ใดคัดค้านประเด็นใดเพิ่มเติมภายใน 3 วัน จะพิจารณาให้เป็นบทความคัดสรรครับ

 สำเร็จ ผ่านเกณฑ์บทความคัดสรร --Timekeepertmk (คุย) 04:33, 31 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอแนะการปรับปรุง[แก้]

  1. แปลผิด มีบางจุดที่แปลผิด (ได้แก้ไขไปบางจุด) เช่น "took an exception to" มิได้แปลว่า "ยกเว้น" แต่แปลว่า "ไม่เห็นด้วย" หรือ "คัดค้าน" (อ้างอิง), และ "characters" (ในข้อความ "unique characters of Nagavajara") มิได้แปลว่า "ตัวละคร" (ทั้งสองจุดนี้แก้ไขแล้ว) -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  2. ภาษา
    1. ภาษาไม่เป็นทิศทางเดียวกัน เช่น เรียกบุคคลว่า "ศ. ดร.เจตนา" ซึ่งดูเป็นการยกย่อง แต่ใช้สรรพนามว่า "เขา" ซึ่งเป็นสรรพนามระดับ colloquial และยังชวนงง เช่น ในจุดที่เปิดมาว่า "นอกจากงานเขียนของเขา ศ. ดร.เจตนา แปลงานมากกว่า 50 ชิ้น" ทำให้สงสัยว่า "เขา" ไหน สามารถลดความกำกวมได้โดยใช้สรรพนามอื่น เช่น "นอกจากงานเขียนของตนเองแล้ว ศ. ดร.เจตนา ยังแปลงาน (ของผู้อื่น) มากกว่า 50 ชิ้น" หรือเรียบเรียงใหม่ว่า "นอกจากงานที่เขียนขึ้นเองแล้ว ศ. ดร.เจตนา ยังแปลงาน (ของผู้อื่น) มากกว่า 50 ชิ้น" -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    2. ไม่จำเป็นต้องอ้างถึงบุคคลโดยเรียกเต็มว่า "ศ. ดร.เจตนา นาควัชระ" ทุกจุด ได้ตัดนามสกุลออกแล้ว (แต่อาจยังหลงเหลืออยู่บางแห่ง) และที่จริงเรียกเพียง "เจตนา" เฉย ๆ (ไม่ใส่คำนำหน้านาม) จะเป็นไรหรือไม่ -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    3. แปลมาแบบตรง ๆ (ลอกสำนวนฝรั่งตรง ๆ) หลาย ๆ จุดอ่านไม่รู้เรื่อง ได้แก้ไปบางจุด เช่น "ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงในชีวประวัติของ ชเลเกิล โดย รอเจอร์ พอลิน" → "รอเจอร์ พอลิน นำไปใช้อ้างอิงในชีวประวัติของชเลเกิล", "คุณปู่ในเรื่องถูกจำลองตามเขา" → "คุณปู่ในเรื่องมี ศ. ดร. เจตนา เป็นต้นแบบ" ฯลฯ -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    4. ได้แก้ภาษาปากในหลาย ๆ จุด (แต่อาจยังหลงเหลืออยู่) เช่น ประเทศเยอรมัน → ประเทศเยอรมนี, แต่งงาน → สมรส, พ่อ → บิดา, แม่ → มารดา, ลูก → บุตร, มัธยมปลาย → มัธยมศึกษาตอนปลาย ฯลฯ -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    5. เขียนไม่เสมอต้นเสมอปลาย เช่น บางจุดเขียน "ศาสตราจารย์" เต็ม บางจุดเขียนย่อเป็น "ศ." ได้แก้แล้ว (แต่อาจยังหลงเหลืออยู่) -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    6. ได้ลบจุดที่เขียนซ้ำไปซ้ำมาออก เช่น "หลังเกษียณจากการรับราชการเต็มเวลาอย่างเป็นทางการ ศ. ดร.เจตนา ยังคงสนับสนุนงานวิชาการด้วยการทำหน้าที่ในคณะกรรมการของรัฐบาล สภามหาวิทยาลัย และโครงการวิจัยชั้นนำหลังจากเกษียณอายุราชการ" (แต่ในหน้าภาษาอังกฤษยังมีอยู่) -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    7. จุดอื่น ๆ ที่แก้ไขไป เช่น คำศัพท์ (เป็นต้นว่า "สมาชิกสภามหาวิทยาลัย" → "กรรมการสภามหาวิทยาลัย"), การเว้นวรรค (เช่น "ศ.ดร. เจตนา" → "ศ. ดร.เจตนา", ดูเพิ่ม หลักเกณฑ์การเว้นวรรค) ฯลฯ -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    8. นอกจากข้อไม่เรียบร้อยข้างบนแล้ว จุดที่ชี้ให้เห็นว่าใช้โปรแกรมแปลมา คือ เขียน "Khun Pu Waen Ta Taek" ว่า "คุณปู่แหวนตาแตก" -- Miwako Sato (คุย) 02:38, 20 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ ขอยอมรับตามความเป็นจริงครับว่าได้ใช้ Google Translate ในการช่วยแปลภาษาจริงครับ เมื่อเห็นผลลัพธ์ที่มีผู้อื่นแก้ไขก็เข้าใจแล้วครับว่าไม่ควรใช้ ขอบคุณที่ให้โอกาสได้แก้ไขอีกครั้งครับ จะไม่ใช้แปลเช่นนี้อีกครับ --Tanapatjms (คุย) 22:36, 29 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  3. การจัดรูปแบบ / technical issues
    1. อ้างอิงยังใช้รูปแบบไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะราชกิจจานุเบกษา ลองดูตัวอย่างจาก ปรีดี พนมยงค์ (บทความคัดสรร) แล้วทำให้เหมือนกันทั้งบทความ --Taweethaも (คุย) 15:00, 29 พฤษภาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ @U6181299 และ Miwako Sato: สอดคล้องกันแล้ว ส่วนที่ไม่ใช้แม่แบบได้เปลี่ยนแป็นใช้แม่แบบ {{cite journal}} ทั้งหมด ป.ล. ผมผิดเองที่ไปอ้างบทความ ปรีดี พนมยงค์ ที่ยังไม่ได้ใช้แม่แบบ จะลองเข้าไปแก้ไขตรงนั้นดูให้เป็นรูปแบบเดียวกันต่อไป ได้ถามไว้ในหน้าพูดคุยไว้ก่อนเผื่อว่าจะมีผู้คัดค้านหรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น --Taweethaも (คุย) 16:01, 2 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    2. ปีในอ้างอิงทั้งหมดยังเป็น ค.ศ. รวมถึงเอกสารอ้างอิงภาษาไทย โปรดตรวจสอบอีกครั้งว่าควรเปลี่ยนเป็น พ.ศ. หรือไม่อย่างไร เข้าใจว่าติดที่แม่แบบ ถ้าเปลี่ยนเป็น พ.ศ. จะเกิดปัญหา Help:CS1_errors ผมจะตามไปดูว่าพอจะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง --Taweethaも (คุย) 16:01, 2 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    3. เข้าใจว่า {{nbsp}} ที่ใส่มาแต่เดิมของผู้เขียนสองท่านแรกถูกแล้วตาม WP:MOS แต่เรื่องการเว้นวรรคที่มองเห็นได้หรือประเด็นอื่นนั้นมีลำดับความสำคัญมากกว่า หากจะย้อนกลับมาใส่การจัดรูปแบบเหล่านี้อีกทีภายหลังก็ได้หลังจากประเด็นสำคัญได้รับการจัดการเรียบร้อยแล้ว --Taweethaも (คุย) 11:03, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    4. ใส่เลขหน้าให้หนังสือ (เล่มเดียวกันใช้หลายครั้ง อ้างคนละหน้า) ผมซ่อนไว้ใน <!--หน้า--> ต้องไปหาตัวอย่างบทความที่ใช้การอ้างอิงแบบนี้ในภาษาอังกฤษมาก่อนจึงจะทำเป็น --Taweethaも (คุย) 21:19, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    5. เข้าใจว่า ref ที่ใช้หลายครั้งควรนิยามครั้งแรกที่ปรากฏในบทความ / ตอนนี้มีการตัดสลับไปมา อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป ในส่วนของ lede อาจจะต้องเอา ref จากถด้านล่างย้ายกลับขึ้นไป --Taweethaも (คุย) 09:24, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    6. ใช้ https ถ้าเป็นไปได้ --Taweethaも (คุย) 10:33, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    7. ISSN ผิดและตรวจสอบหาที่ถูกต้องไม่ได้ ต้องใส่ตามต้นฉบับ จุลสารการวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 1 (1). 1987. ISSN ((0857-3931)) Check |issn= value ได้แจ้งปรับปรุงมอดูลไปแล้วที่ วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ#มอดูล:Citation/CS1/COinS --Taweethaも (คุย) 11:56, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    8. กล่องในภาษาอังกฤษไม่ต้องใส่วันเกิด แต่ภาษาไทยยังต้องใส่อยู่ ถ้าแก้ไขไม่ยากน่าจะลองทำดู เป็นประโยชน์กับบทความอื่นไปด้วยทั้งโดยตรง (ใช้ได้จริงเลย) และโดยอ้อม (บทความคัดสรรใช้เป็นตัวอย่างให้เขียนบทความอื่น) --Taweethaも (คุย) 15:10, 6 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  4. ส่วนเนื้อหาต่อไปนี้คิดว่าควรต้องขยายความ เช่น
    1. สมัยดำรงตำแหน่งคณบดี รองอธิการบดี มีผลงานอะไรเด่นในวาระดำรงตำแหน่งไหม --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    2. จากข้อความ "บทบาทสำคัญในการบริหารงานการศึกษาในประเทศไทยและองค์กรระหว่างประเทศ" ในส่วนนำ เนื้อหาในตัวบทความยังไม่ค่อยช่วยให้คนนอกเห็นภาพเท่าไหร่ --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    3. ข้อความในส่วนย่อย "ศิลปกรรมไทยและโครงการวิจารณ์": "...นักวิจารณ์ที่เขียนด้วยปากกาคม ความคิดเห็นของเขาสามารถทำให้นักเขียนบทละครทบทวนงานของตนอีกรอบถึงแม้ว่าจะเป็นตอนที่กำลังแสดงอยู่และขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และศิลปินทัศนศิลป์ก็ให้ความสนใจมากกับสิ่งที่เขาจะพูด..." น่าจะขยายความได้ว่า เรื่องเด่น ๆ ที่เขาวิจารณ์เป็นอย่างไรบ้าง เรื่องที่เจ้าตัวชมแล้วคนตอบรับดีใช่ไหม --Horus (พูดคุย) 15:58, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      • ย้ายข้อความจากบางกอกโพสต์ไปอยู่ในส่วน "แนวคิดที่เป็นที่รู้จักในสังคม" มีบริบทนำมาก่อนและต่อท้าย น่าจะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นครับ (ถ้าจะให้เพิ่มส่วนปฏิกิริยาของผู้ชมหรือศิลปินอย่างไรก็ว่ากันอีกทีได้ครับ แต่น่าจะไม่ได้อยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อความนี้โดยตรงแล้ว) --Taweethaも (คุย) 21:14, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
        • ผมมองว่าน่าจะสรุป contribution ในวงการวิชาการได้นะครับ ไม่อย่างนั้นคนนอกจะยิ่งไม่เห็นประเด็นที่ว่านักวิชาการคนอื่นยึดอะไรจากบุคคลนี้เป็นตัวอย่าง อย่างเช่น แนวคิดของ Chumsky คือทฤษฎีด้านภาษา แนวคิดของบุคคลคนนี้มีทฤษฎีเกี่ยวกับวรรณคดีเปรียบเทียบหรือวรรณคดีเยอรมันเรื่องไหนบ้าง (อย่างผมดูใน en:Comparative literature เห็นว่ามี school ต่าง ๆ กับ Current developments อยากให้เชื่อมโยงว่า contribution ของเจ้าตัวอยู่ตรงไหนในวงการนี้) --Horus (พูดคุย) 21:25, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
        • เช่น ผลงานของเขาเป็นการต่อยอดแนวคิดของนักวิชาการ A ในการอธิบายวรรณกรรม X ในช่วงเวลา Y ซึ่งนักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลในสมัยหลังนำไปต่อยอดในเรื่อง Z --Horus (พูดคุย) 21:30, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
          •  สำเร็จ รับทราบครับ ขอปิดไปรวมกับ 6.2 6.3 และ 6.4 ในคราวเดียวกันนะครับ คือ หมุนใหม่ rewrite ทั้ง section "ภาษาเยอรมันและวรรณคดีเยอรมัน และวรรณคดีเปรียบเทียบ" ให้ตอบโจทย์ทุกข้อรวมกันให้ได้ --Taweethaも (คุย) 00:37, 5 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
            • จากในบทความ ผมเข้าใจว่า ทุกคนในช่อง "ได้รับอิทธิพลจาก" (เช่น กรกช อัตตวิริยะนุภาพ, ชมัยภร บางคมบาง, สดชื่น ชัยประสาธน์...) เป็นผู้ได้รับอิทธิพลในด้าน "เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างระบบอุดมศึกษาในอุดมคติที่ได้ริเริ่มไว้โดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" ใช่ไหมครับ ถ้ามีด้านอื่นอีกก็ควรแยกไปใส่ที่อื่นด้วย ไม่อย่างนั้นก็ยังติดค้างว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงถูกใส่ชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากเจ้าตัว --Horus (พูดคุย) 10:27, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
              •  สำเร็จ เพิ่มไว้ในใส่ส่วน 5 อิทธิพลและรางวัล > 5.1 การตอบรับในสังคม > การตอบรับจากวงการวิชาการและวงการศิลปะ แล้วนะครับ เป็นอิทธิพลที่บุคคลในบทความส่งต่อในสองประเด็นแรกมากกว่าประเด็นที่สามครับ (ผู้รับเป็นนักวิชาการในทางภาษา/วรรณคดี หรือ ศิลปิน) --Taweethaも (คุย) 12:28, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    4. ควรกรอกข้อมูลในกล่องข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่เอื้อกับพารามิเตอร์ของกล่องข้อมูล --Horus (พูดคุย) 15:58, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    5. จากส่วนย่อย "ศิลปกรรมไทยและโครงการวิจารณ์" การเป็นผู้นำโครงการวิจัยต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างไรทั้งต่อเจ้าตัวและวงการวิชาการ --Horus (พูดคุย) 15:58, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    6. พอจะสรุปรวบยอดแนวคิดของเขาในการทำงานได้หรือไม่ อย่าง en:Noam Chomsky#Linguistic_theory มีส่วน Linguistic theory --Horus (พูดคุย) 15:58, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ สรุปไว้ที่ "การตอบรับในสังคม" อาจจะเป็นคนละแนวกับ Chomsky แต่เป็นส่วนที่คนทั่วไปอ่านได้เข้าใจมากกว่าในส่วนที่เป็นทฤษฎีครับ --Taweethaも (คุย) 20:59, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  5. ส่วนชีวประวัติควรแบ่งออกเป็นส่วนย่อยให้อ่านง่ายขึ้น --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  6. บางประเด็นผมยังไม่ทราบเหตุผลของการใส่ เช่น (อ้างอิงข้อเสนอแนะจากบทความเมื่อ 16:46, 3 มิถุนายน 2565/ขออนุญาตเพิ่มข้อความนี้โดย Taweethaも เพื่อให้อ้างอิงย่อหน้าได้ตรงกัน)
    1. เรื่องดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ซ้ำที่ทือบิงเงิน (แปลว่าเป็นคนแรกที่ได้ปริญญาเอกใบที่ 2 ในสาขาเดิม?) --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    2. ย่อหน้าแรกของส่วนย่อย "ภาษาเยอรมันและวรรณคดีเยอรมัน และวรรณคดีเปรียบเทียบ" คิดว่าการกล่าวถึงสำนักพิมพ์และรายละเอียดการตีพิมพ์ไม่จำเป็น แต่ควรขยายความอิทธิพลของผลงานเจ้าตัว และเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เป็น third party --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ ส่วนที่เป็นรายชื่อผลงานและสำนักพิมพ์ รวมขมวดเข้าด้วยกันเป็นย่อหน้าเดียวครับ ใส่สำนักพิมพ์เพราะช่วยให้เข้าใจบริบทได้ว่าเป็นงานเฉพาะทางแบบใด (อ่านแต่ชื่อเรื่องอาจจะเดาไม่ออกถ้าไม่เคยได้รู้จักชื่อนักประพันธ์) --Taweethaも (คุย) 00:30, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    3. ย่อหน้าสามของส่วนย่อย "ภาษาเยอรมันและวรรณคดีเยอรมัน และวรรณคดีเปรียบเทียบ" คิดว่ายกตัวอย่างมามากเกินไป และยังไม่เห็นว่าพอนักวิชาการตอบรับอย่างดีแล้วเป็นอย่างไรต่อ ได้รางวัลอะไรไหม มีผลอะไรต่อวงการวิชาการหรืออาชีพการงานของเจ้าตัวหรือไม่ อย่างไร --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ ได้เลือกเฉพาะผลงานที่เด่นมาเขียนแล้ว ได้เขียนแสดงความเชื่อมโยงกับทุนให้ใหม่เป็นย่อหน้าแรก และส่งต่อผลงานนี้ไปยังส่วนถัดไป --Taweethaも (คุย) 00:30, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    4. ย่อหน้าสี่ของส่วนย่อย "ภาษาเยอรมันและวรรณคดีเยอรมัน และวรรณคดีเปรียบเทียบ" ส่วนที่อธิบายเนื้อหาของหนังสือดูออกนอกประเด็นเกินไป ควรจับประเด็นว่าหนังสือกล่าวถึงเจ้าตัวในแง่ไหนมากกว่า --Horus (พูดคุย) 15:49, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    5. ประโยคอย่าง "การแต่งตั้งให้ได้รับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการระดับสูงเหล่านี้ได้รับการโปรดเกล้าฯ และประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา" และ "เจตนามักจะบอกผู้รับทุนรัฐบาลไทยรุ่นหลังเสมอว่า "ทุนนั้นชดใช้หมด (ด้วยเงินหรือเวลา) แต่บุญคุณ (ของราษฎรผู้จ่ายภาษี) ชดใช้ไม่มีวันหมด" --Horus (พูดคุย) 16:09, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
      •  สำเร็จ ข้อความเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษาได้ตัดออกไปแล้ว/อ้างอิงในส่วนนี้มีมาก/เป็นคำอธิบายว่าทำไมจึงมีอ้างอิงแต่ราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น/หรือเป็นส่วนใหญ่ (อยู่ใน talk page ของบทความภาษาอังกฤษ/หนังสือพิมพ์ค้นออนไลน์ย้อนหลังไปได้ถึงประมาณปี 2000 เท่านั้น ซึ่งบุคคลในบทความก็เกษียณอายุราชการไปแล้ว) ส่วนข้อความส่วนที่ให้สัมภาษณ์ช่วงกำลังเกษียณอายุราชการย้ายไปไว้ในส่วน "ชีวิตหลังราชการ" ซึ่งน่าจะเป็นเหตุเป็นผลกับบริบทแล้ว --Taweethaも (คุย) 10:19, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
        • ประโยค "เจตนามักจะบอกผู้รับทุนรัฐบาลไทยรุ่นหลังเสมอว่า "ทุนนั้นชดใช้หมด (ด้วยเงินหรือเวลา) แต่บุญคุณ (ของราษฎรผู้เสียภาษี) ใช้อย่างไรก็ไม่มีวันหมด"" ไม่แน่ใจว่าสำคัญถึงขนาดหรือไม่ ถ้าอยากใส่ก็ย้ายไปวิกิคำคมก็ยังได้ครับ --Horus (พูดคุย) 10:35, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
          •  สำเร็จ ตัดให้สั้นลงและอ่านง่ายขึ้นนะครับ ตรงตาม quote ที่เป็นภาษาไทย ที่มีในวงเล็บเดิมเพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่แปลกันมาจากภาษาอังกฤษ --Taweethaも (คุย) 12:10, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  7. บทนำควรใส่ชีวประวัติโดยคร่าวมากขึ้น และยังไม่ครอบคลุมผลงานทุกด้าน --Horus (พูดคุย) 16:09, 3 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  8. ขาดอ้างอิงตรงหัวข้อ: (อ้างอิงข้อเสนอแนะจากบทความเมื่อ 08:58, 4 มิถุนายน 2565/ขออนุญาตเพิ่มข้อความนี้โดย Taweethaも เพื่อให้อ้างอิงย่อหน้าได้ตรงกัน)
    1. ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา (ท้ายย่อหน้าแรก) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    2. รับราชการที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (ท้ายย่อหน้าสุดท้าย) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    3. ภาษาเยอรมันและวรรณคดีเยอรมัน และวรรณคดีเปรียบเทียบ (ท้ายย่อหน้าแรก) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    4. ศิลปกรรมไทยและโครงการวิจารณ์ (ท้ายย่อหน้าที่ 2) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    5. มนุษยศาสตร์และอุดมศึกษาไทย (ท้ายย่อหน้าที่ 2) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    6. ชีวิตส่วนตัว (ตรงประโยค "กับธิดาอีกสองคน") --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    7. การตอบรับและอิทธิพล (ท้ายย่อหน้าที่ 2) --B20180 (คุย) 09:05, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    8. ถ้ามีเพิ่มเติมอีกรบกวนใส่เป็น {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} ได้เลยครับ จะช่วยกันหาได้ง่าย ขอบคุณมากครับ --Taweethaも (คุย) 10:47, 4 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  9. ผมขอชื่นชมความวิสาหะในการค้นหาแหล่งข้อมูลนะครับ แต่ว่ากันตามตรง ภาพรวมของบทความในตอนนี้ยังเป็น synthesis ของแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งผมกังวลว่าจะขัดต่อ en:Wikipedia:No original research --Horus (พูดคุย) 10:35, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
    • ขอบคุณครับ ในปัจจุบัน (11:41, 12 มิถุนายน 2565‎ UTC+7) มีอ้างอิง 78 รายการนะครับ ผมพยายามคุมอัตราส่วนจำนวนรายการอ้างอิงอยู่ นิยามที่เสนอให้ใช้อยู่ใน en:Talk:Chetana_Nagavajara#Primary_vs_secondary_sources คือ เอกสารที่เขียนโดยบุคคลในบทความเอง เว็บไซต์ของ thaicritic.com หรือ su.ac.th ให้นับเป็น primary source ปัจจุบันมีในรายการที่ 4,9,13,20,21,25,28,29,37,38,41,46,49,50,51,57 รวมจำนวน 16 รายการ นับเป็น 20.5% หรือประมาณ 1 ใน 5 นะครับ ถ้ามีตัวเลขในใจเช่นว่าควรจะน้อยกว่า 20% ก็เสนอแนะมาได้ครับจะได้มีทิศทางในการดำเนินการที่ชัดเจน หรือจะเปลี่ยนแปลงนิยามการนับก็ได้เหมือนกัน เอกสารอ้างอิงออนไลน์ของบุคคลที่เกษียณอายุราชการไป 20+ ปีแล้วหาไม่ได้ง่าย แต่เอกสารหลายอย่างก็ถูกนำมาทำ digitization ย้อนหลังหลายรายการ ถือว่าเป็นโชคดีที่ไปค้นเจอได้ครับ --Taweethaも (คุย) 11:58, 12 มิถุนายน 2565 (+07)[ตอบกลับ]
  10. เนื่องจากผ่านมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว มีการนำเสนอข้อควรแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีท่านใดพิจารณาให้เป็นบทความคัดสรร ผมขออนุญาตท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอภิปรายตรงนี้ว่ามีความเห็นอย่างไรครับ ควรให้เป็นบทความคัดสรรหรือให้เสนอนี้ตกไปครับ ขออนุญาต ping ครับ @Taweetham, B20180, และ Horus: --Timekeepertmk (คุย) 15:54, 14 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    ยืนยันตามเดิม กล่าวคือ ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของทุกท่านเต็มความสามารถแล้ว --Taweethaも (คุย) 13:36, 17 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]