วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ปัญหาในบทความห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จากที่ต่างคนต่างนำข้อมูลโครงการต่างๆ มาเพิ่มเติมในบทความรายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นบทความที่มีการแก้ไขมากที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงคำจำกัดความ ของคำว่า ห้างสรรพสินค้า ซึ่งโดยส่วนตัว มีความคิดว่าเนื้อหาของบทความนี้ มันเกินหัวเรื่องกับบทความไปแล้ว บทความชื่อ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ในบทความตอนนี้ มีทุกอย่าง อาทิ โครงการในอนาคตที่ยังไม่มีรูปธรรม คอมมูนิตี้มอลล์ ซูปเปอร์มาเก็ต โรงภาพยนตร์ ตลาดค้าส่ง ฯลฯ บางครั้งเอาชื่อย่านหรือชื่อตลาดมาใส่ด้วยซ้ำ ซึ่งชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ห้างสรรพสินค้า ถ้าหากเป็นแบบนี้ต่อไป อีก 3 ปี 10 ปีข้างหน้า ผมเกรงว่าบทความนี้ จะกลายเป็นเสมือนกระดานประชาสัมพันธ์ ที่มีข้อมูลมหาศาล เกินกว่าความเหมาะสม และอาจส่งผลถึงคุณภาพของบทความ

ดังนั้นแล้ว ผมจึงขอเสนอแนวทาง สำหรับบทความนี้ ดังนี้

1. ร่วมกันตั้งกฎเกณฑ์ เงื่อนไข ในการเป็นห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าขึ้นมา เพื่อเป็นบรรทัดฐาน ในการแก้ไข/เพิ่มเติมข้อมูล ในครั้งต่อๆไป

2. ตั้งบทความใหม่ ชื่อว่า รายชื่อศูนย์การค้าในประเทศไทย โดยรายชื่่อในบทความนี้ ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 1. (รายชื่อในบทความนี้ อาทิ สยามพาราก้อน เครือเซ็นทรัลพลาซ่าและเฟสติวัลทั้งหลาย รวมถึงเดอะมอลล์ต่างๆ)

3. รายชื่่อในบทความ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 1.

--Walker Emp (พูดคุย) 22:53, 15 มีนาคม 2555 (ICT)


ปกติคนไทยเรียกทุกอย่างเป็น "ห้าง" ไปเสียหมด ไม่ได้แบ่งกันอย่างชัดเจน ปัญหาจึงเกิดขึ้น เราต้องแบ่งกันให้ชัดเจนก่อนกว่า อันไหนเป็นห้างสรรพสินค้า (department store) อันไหนเป็นศูนย์การค้า (shopping mall) และบางอันมีทั้งสองอย่างในที่เดียว (เช่นเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ) อย่างอื่นที่ไม่ได้เรียกว่าห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าก็ต้องตัดออกไปให้หมดครับ (เช่น เทสโก้ โลตัส เอ็กซเพรสเป็นร้านสะดวกซื้อ, ท็อปส์เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต, และเทสโก้ โลตัสใหญ่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต) แต่หลังจากนี้จะสร้างบทความ รายชื่อซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย และ รายชื่อไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ขึ้นมาอีกก็แล้วแต่

--octahedron80 09:14, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


โครงการในอนาคต ไม่ควรจะใส่ลงไปถ้ายังไม่ได้สร้าง เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ทางอ้อม ผมเคยเห็นกรณีที่บางห้างมีโครงการจะสร้าง แต่ถูกชาวบ้านคัดค้านจึงต้องยกเลิกไป นอกจากนี้หากสังคายนากันเรียบร้อยแล้ว ยังมีคนดื้อดึงจะใส่สิ่งที่ไม่ตรงตามหัวเรื่อง ก็คงต้องล็อกไปตามระเบียบ

--octahedron80 09:19, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


อย่างจังหวัดนครสวรรค์ยังมี ศูนย์ความคิวเพรส ศูนย์ความงามออรีเท็ลพิ้งเซ็ต อีกด้วยครับ ซึ่งมันไม่เกี่ยวกันเลย อยากจะขอถามว่าตลาดนัดเป็นห้างสรรพสินค้าด้วยหรือครับ อาจจะไม่รวมถึงตลาดโลตัส เช่น ตลาดนัดจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) ตลาดย้อนยุค วารินชำราบ (อุบลราชธานี) ตลาดแสนสบาย (อุบลราชธานี) ฯลฯ และ ยังมีพวก OTOP CENTER (อุบลราชธานี) อยากจะให้เสนอหัวข้อที่พอจะสามารถเขียนเป็นรายชื่อห้างสรรพสินค้า เช่น ห้างสรรพสินค้าไม่รวมถึงโรงภาพยนตร์ ศูนย์อาหาร ฯลฯ โดยอาจจะปักป้ายไว้ตรงบนสุด ไว้ผู้ที่จะมาเขียนได้อ่านก่อนครับ ขอบคุณมากครับ

--Panyatham 10:17, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


ตลาดนัดไม่ใช่ห้างสรรพสินค้า เพราะเจ้าของตลาดก็ไม่ได้เอาของมาขาย (ผมพูดถึงเจ้าของตลาด ไม่ใช่เจ้าของร้านต่าง ๆ) และสินค้าอาจไม่ได้แบ่งเป็นโซน (คำว่า department หมายถึงแยกเป็นแผนก) ตลาดนัดจะคล้ายตลาดทั่วไปหรือศูนย์การค้ามากกว่า --octahedron80 10:48, 16 มีนาคม 2555 (ICT)
งั้นก็ไม่ต้องใส่ไปนะครับ แต่อยากจะให้เสนอป้ายติดไว้ตรงบนสุด เผื่อใครต่อใครมาเห็นจะได้รับทราบกันว่าบทความนี้มีแค่รายชื่อห้างสรรพสินค้า(รายชื่อศูนย์การค้า จากการเสนอของคุณ Walker Emp) ไม่รวมส่วนประกอบอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร ร้นหนังสือ ร้านแว่น ร้านอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่อยู่ในห้างเดียวกัน

--Panyatham 11:06, 16 มีนาคม 2555 (ICT)

รบกวนเก็บกวาดรายชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล ที่อยู่ในบทความ เทสโกโลตัส บิ๊กซี โรบินสัน ไปในคราวเดียวกันเลยนะครับ - 2T


ห้างสรรพสินค้าในศูนย์การค้า อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เซน อิเซตัน พวกก็จัดไปเป็นอยู่ในลิสต์ห้างสรรพสินค้าไปเลย ไม่ใช่ศูนย์การค้า
ส่วนพวก โฮมโปร บุญถาวร อินเด็กซ์ อันนี้ไม่ใช่ห้าง เพราะเป็นศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง ก็ไม่ต้องเอามาลง เพราะไม่เข้าข่าย

อีกเรื่องคือความเป็นระเบียบ ในบทความรายชื่อห้างสรรพสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดต่างๆ ที่มีหลายสาขา ก็เขียนไปเลยว่า เป็นห้างบริษัทอะไรที่หัว แล้วย่อยมาเป็นชื่อสาขาขา เช่น
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซนเตอร์
    • 1. สาขา ซีคอน สแควร์
    • 2. สาขา พระราม 1
    • ......

แบบนี้จะอ่านง่ายกว่า และสามารถระบุจำนวนสาขาได้ ทั้งยังไม่รกด้วย ตอนนี้จากที่ดูในบทความ ใส่ชื่อห้างมาอย่างเต็มยศ อยู่บนบ้าง ล่างบ้าง ซ้ำบ้าง อย่างของกรุงเทพ ชลบุรี ก็เขียนเฉพาะชื่อห้างก็จริง แต่มีชื่อสาขาต่อท้ายซะยาวเยียด บางจังหวัดก็เขียนแบบเรียงลง ซึ่งผมคิดว่าเราควรทำให้มันเป็นมาตรฐานเดียวกัน

--Walker Emp (พูดคุย) 14:52, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


ที่จริงน่าจะลบบทความนี้ไปเลยนะ ไม่เห็นเป็นสาระ มีแต่สถานที่ที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง อ้างอิงก็ไม่มี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 150.244.218.34 (พูดคุย | ตรวจ) 18:45, 16 มีนาคม 2555‎

ผมมีความเห็นเช่นเดียวกันครับ คือไม่เห็นว่าการเก็บรายนามห้างสรรพสินค้าไว้เป็นประโยชน์นักเพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ Directory แต่อาจอ่อนลงมาตรงทำนองว่า อาจต้องพิจารณา Notability ของการมีชื่ออยู่ในรายการนี้ (ไม่ใช่ Notability ของบทความ เพราะเป็นไปได้ว่าถ้ามองในมุม NOTE บทความ ห้างฯ ส่วนมากก็จะตกเกณฑ์ข้อนี้ไปโดยอัตโนมัติ) --∫G′(∞)dx 10:24, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
ภาษาอังกฤษมีนโยบาย NOTE เรื่อง stand-alone list อยู่ครับ --Horus | พูดคุย 10:34, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
นโยบายค่อนข้าง subjective และขึ้นกับการตีความซึ่งอาจอภิปรายกันได้ไม่รู้จบ ลองมองอีกมุมว่าบทความเหล่านี้มี priority สำหรับคนอ่านแค่ไหน.. คำตอบคงเป็น lowest priority แต่ก็มีคนอยากเขียน แก้ไขกันเยอะแยะมากมาย วิธีตัดปัญหาก็คือจัดระเบียบเสียใหม่อย่างบทความวัด/โรงเรียน หลังจากทำเสร็จแล้วแทบไม่ต้องแก้ไขกันอีกเลย จะถูกหรือไม่ถูกตามหลัก WP:NOTE นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง - อย่างไรก็ดีในกรณี วัด/โรงเรียน ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐอยู่ในรูปแบบที่เข้าถึงยาก การมีบทความในวิกิพีเดียจึงดูเหมือนว่ามีประโยชน์สาธารณะอยู่บ้าง - ในกรณีธนาคารที่ผมยังไม่ยอมทำเพราะเห็นว่า ธปท. มีเว็บไซต์ที่บริการข้อมูลดีอยู่แล้ว วิกิพีเดียภาษาไทยอาจไม่จำเป็นต้องทำให้ซ้ำซ้อน... (กำลังคิดว่าจะ redirect ไป external link เลยดีไหม) - อย่างอื่นน่าทำคือรายชื่อโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข, สถานีตำรวจ, สถานีรถไฟ, ฯลฯ... (ผมยังไม่มีข้อมูล) - สำหรับรายชื่อห้าง โรงหนัง ฯลฯ เป็นสิ่งที่น่าทำน้อยที่สุด และถ้ายอมให้มีบทความรายชื่อห้าง... ก็คงต้องยอมให้มีบทความรายชื่ออย่างอื่นๆ ที่สำคัญต่อชีวิตมากกว่า
พล่ามมายาว ประเด็นคือ ถ้าอยากจะอภิปรายว่าควรลบบทความรายชื่อห้างหรือไม่ ต้อง review นโยบายความบทความรายชื่อใหม่หมดอีกครั้งครับ ผมยินดีน้อมรับถ้าจะลบรายชื่อที่ผมสร้างมาแล้วไปด้วยหากเป็น consensus ของชุมชน แต่ไม่อยากให้ลักลั่นกัน เพราะมีผู้ใช้จำนวนมากชอบแก้ไขบทความรายชื่อและร้องเรียนเข้ามา... ล่าสุดก็เป็นบทความรายชื่อสายรถของ ขสมก. ถ้าสนใจคุยกันในประเด็นนี้เปิดหัวข้ออภิปรายใหม่เลยครับ
นโยบายวิกิพีเดียภาษาไทยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับภาษาอื่นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเสมอไป ก็อาจเปลี่ยนเอาตามความจำเป็นและเหมาะสม (เช่น เอาใจผู้เขียนบ้างโดยให้อิสระมากขึ้น หรือ ทำให้ดูแลง่ายขึ้นบ้างโดยมีข้อจำกัดมากขึ้น) ความเดิมตอนที่แล้วที่ผมลบบทความรายชื่อไป เป็นบทความรายชื่อบุคคลจากโรงเรียนดัง เพราะไม่มีอ้างอิง (แก้ไขโดยเปลี่ยนเป็นหมวดหมู่) งานนั้นก็หนักเอาการและมีแรงเสียดทานอยู่ สำหรับกรณีห้างนี้ก็อาจทำได้เช่นกันโดยแปลงเป็นหมวดหมู่ (เพื่อแก้ปัญหาการใส่ห้างที่ไม่ผ่าน WP:NOTE และโครงการในอนาคต)
--taweethaも (พูดคุย) 11:47, 17 มีนาคม 2555 (ICT)

เห็นด้วยกับความเห็นข้างต้นเรื่องคำจำกัดความและรูปแบบ ในฐานะที่ร่วมทำบทความรายชื่อวัดและรายชื่อโรงเรียนมาก่อน (และอาจทำบทความรายชื่อธนาคารต่อ) ขอออกความเห็นเพิ่มเติมว่าน่าจะดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลส่วนกลางมาสร้างบทความอย่างเป็นระบบ การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่เพื่อจำหน่ายสินค้าต่อสาธารณะมีกฎหมายควบคุมอยู่หลายฉบับ และมีการขออนุญาตต่อหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ น่าจะมีแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้ ลองถามดูจากกระทรวงพาณิชย์ได้ไหมครับ น่าจะทำให้เขียนบทวามง่ายขึ้น

--taweethaも (พูดคุย) 21:04, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


จากข้อเสนอของคุณ Taweetham ผมเกรงว่าถ้ากระทรวงฯสามารถให้ความร่วมมือได้จริง ข้อมูลที่ได้มาจากกระทรวง อาจจะเป็นข้อมูลที่ล้าหลัง ไม่ทันสมัย ซึ่ง ณ จุดนี้ต้องยอมรับว่า ข้อมูลในบทความนี้ สมบูรณ์ และครบถ้วน และอัปเดตที่สุดเท่าที่จะสามารถสืบค้นได้แล้ว เพราะแค่โครงการต่างๆเริ่มก่อสร้าง ยังไม่ทันเปิด ก็มีคนนำมาลงแล้ว ดังนั้น ผมจึงคิดว่า ควรนำข้อมูลจากบทความเดิม มาช่วยกันสังคายนากันซะใหม่

เนื่องจากคิดว่าโครงการต้องใช้เวลาอยู่มาก จึงคิดว่าควรคงเนื้อหาในบทความ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ไว้คงเดิม เพื่อให้ผู้อื่นสามารถมาเพิ่มเติมข้อมูลได้เรื่อยๆ ซึ่งขณะนั้นเอง เราจะไปสร้างบทความใหม่ 2 บทความที่ล็อคไว้ (รายชื่อห้างฯ และ รายชื่อศูนย์ฯ) โดยขั้นแรก เราสามารถนำข้อมูลจากบทความเดิม ที่ชัดเจนว่าเข้าเงื่อนไข ไปเขียนในบทความ(ล็อค)ทั้งสองได้เลย และในส่วนที่สอง จะเป็นในส่วนของรายชื่อที่เราไม่รู้จัก ซึ่งก็ต้องไปสืบค้นมาจากอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายเป็นห้างฯ หรือศูนย์การค้า หรือไม่ สำหรับรายชื่อที่ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลมาได้ ก็ให้ตัดออกไปได้เลย ในส่วนนี้เอง เราจำเป็นมากที่ต้องพึ่งพาผู้ใช้วิกิพีเดียท่านอื่นๆ ตรวจสอบในส่วนของจังหวัดตนเอง หรือจังหวัดที่เขาสามารถช่วยตรวจสอบได้ หลังจากที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ จึงนำบทความรายชื่อห้างสรรพสินค้าของเรา ไปแทนของเดิมครับ

--Walker Emp (พูดคุย) 21:48, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


  1. ในความเห็นต่อไปนี้ "ห้าง" หมายความถึง สถานที่จำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเรียกอะไร เช่น ห้างสรรพสินค้า, ศูนย์การค้า หรืออื่นใด
  2. ผมไม่เห็นควรใส่โครงการสร้างห้างไว้ในบทความรายชื่อห้าง เพราะ (1) ชื่อบอกว่า "รายชื่อห้าง" แต่มันยังไม่เป็นห้างแต่ประการใด ถ้าโครงการสร้างห้างนั้นสำคัญก็ใส่ไว้ที่อื่นได้ เช่น เป็นบทความใหม่เอกเทศไป หรือใส่ไว้ในบทความแม่ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หรือจะแยกเป็น "รายชื่อห้างที่กำลังก่อสร้าง" ก็แล้วแต่, (2) เหมือนโฆษณา ทำนองเดียวกับมีผู้ชอบใส่ไว้ในบทความดาราว่า ดาราคนนี้มีผลงานละครเรื่องนี้ แล้ววงเล็บว่า "(กำลังรอการยืนยันจากทางช่อง)" หรือ "(กำลังถ่ายทำ)"
  3. ข้อมูลห้าง อาจไม่มีที่กระทรวงพาณิชย์ เท่าที่ทราบ กระทรวงพาณิชย์มีข้อมูลนิติบุคคลเอกชนทางพาณิชย์ทั้งหมด และเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันพอสมควร กล่าวคือ ในฐานข้อมูลกระทรวงพาณิชย์มีว่า บริษัท ก จำกัด ตั้งเมื่อไร ดำเนินงานอะไร ใครทำอะไร รายได้ ขาดทุน เป็นหนี้เป็นสิน บลา ๆ ๆ เท่าไร แต่ไม่บอกละเอียดถึงเพียงว่า บริษัท ก จำกัดไปเปิดห้างที่ไหน ชื่ออะไรบ้าง เป็นต้น ถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอาคารใหญ่อาจอยู่ที่อื่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะควบคุมอาคาร เป็นต้น

--Aristitleism (พูดคุย) 22:12, 16 มีนาคม 2555 (ICT)

คำว่า "ห้าง" ในหน้าอภิปรายนี้ทั้งหมดคงจะหมายถึง ห้างสรรพสินค้า แหล่ะครับ แต่เพราะมันต้องพิมพ์หลายครั้งดังนั้นบางท่านอาจจะพิมพ์แค่ "ห้าง" หรือ "ห้างฯ" เอาเป็นว่าให้เข้าใจตรงกันนะครับ --Walker Emp (พูดคุย) 23:51, 16 มีนาคม 2555 (ICT)

เห็นด้วยข้อเสนอของคุณ Walker Emp ชื่อบทความคงอาจจะต้องระบุให้ชัดหรือเขียนส่วนหัวเนื้อหาบทความหรือซ่อนไว้ว่าเกี่ยวกับอะไรหรือมีขอบเขตแค่ไหนครับ แหล่งอ้างอิงอาจไม่จำเป็นจะต้องของหน่วยงานรัฐบาลครับ จะของกลุ่มเอกชน (ไม่เอาโครงการก่อสร้าง) หรือข่าวก็ได้ครับ

ส่วนตัวขอเสนอรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีที่กำลังปรับรูปแบบเพื่อแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันเป็นแนวทางให้บทความเผื่อนสนใจประยุกต์ครับ (ไม่คิดกรณีลิงก์แดงมหาศาลที่ยังแก้ไม่ออก)

--N.M. (พูดคุย) 22:33, 16 มีนาคม 2555 (ICT)


  1. เห็นด้วย การเสนอของคุณ Walker Emp ที่ว่า ควรนำข้อมูลจากบทความเดิม มาช่วยกันสังคายนากันซะใหม่ ครับ ส่วนความคิดเห็นของผู้ใช้ท่านอื่นๆจะนำมาทยอยปรับก็ใช้ได้ครับ ขอบคุณมากครับ--Panyatham 09:11, 17 มีนาคม 2555 (ICT)

ควรระงับการแก้ไขชั่วคราวก่อนไหมครับ ตอนนี้ยังมีคนมาแก้ไขเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ --Horus | พูดคุย 11:34, 17 มีนาคม 2555 (ICT)

โดยปกติแล้วผู้ใช้ทุกคนควรตระหนักว่าแก้ไขไปแล้วอาจถูกลบ/เปลี่ยนแปลงได้เสมอ - แต่ถ้าอยากให้คำเตือนชัดเจนขึ้น ใส่ป้ายลบและอย่าเพิ่งลบ โดยอ้างกลับมาที่หน้าอภิปรายนี้ก็ได้ครับ ด้านมีข้อเสนอให้ลบ (และไม่ให้ลบ) อยู่ ก็เข้าตามเงื่อนไขของป้าย --taweethaも (พูดคุย) 11:56, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
คิดว่าไม่ต้องถึงขั้นนั้นครับ อาจจะบอกว่า หน้านี้กำลังมีอภิปรายใหญ่ กรุณางดแก้ไขไปก่อน ประมาณนี้ครับ --Horus | พูดคุย 12:17, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
งั้นลองป้าย multiple issue ของคุณ G(x) ดูไหมครับ --taweethaも (พูดคุย) 13:12, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
ปัจจุบันก็ยังมีคนมาแก้ไขที่ไร้สาระ น่าจะหาป้ายมาแปะเหมือนที่ คุณ Horus ได้กล่าวไว้ครับ--Panyatham 13:18, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
ผมลองเขียนป้าย Custom ในหน้านั้นดูครับ เพราะ Multiple issue ไม่ใช่ป้ายที่ดูจะเหมาะสมกับการใช้ในกรณีนี้เท่าที่ควรนัก --∫G′(∞)dx 16:46, 17 มีนาคม 2555 (ICT)
ปัจจุบันถูกแจ้งกึ่งล็อกและได้รับการพิจารณากึ่งล็อกไปแล้ว ดูเพิ่มที่ WP:AN [1] --taweethaも (พูดคุย) 11:08, 23 มีนาคม 2555 (ICT)

ความคืบหน้า ตอนนี้ผมได้ลบสาขาที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และรายละเอียดปลีกย่อยอื่น แม้จะไม่หมด แต่ก็น่าจะพอถือเป็นรุ่นเสถียรได้ครับ 00:38, 18 มีนาคม 2555

--Horus | พูดคุย 00:40, 18 มีนาคม 2555 (ICT)


ผมกำลังมองเปรียบเทียบกับบทความอื่นๆ อาทิ รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัย... หรือรายนาม รายชื่อต่างๆ ผมคิดว่า "ห้างสรรพสินค้า" มันก็มีความหมายที่สื่อแล้วเข้าใจชัดเจนในภาษาไทยอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าอะไรคือห้าง อะไรไม่ใช่ห้าง ตลาดนัด ไม่ใช่ห้างแน่นอน ตลาดทั้งหลาย ก็ไม่ใช่ห้าง ฯลฯ ผมเห็นด้วยกับบางท่านที่กำลังจะเสนอว่า บทความนี้มีไว้เพื่ออะไรมากกว่า หากให้ผมเสนอ ผมขอเสนอในทัศนะส่วนตัวว่า รายชื่อที่จะเขียนในบทความก็ควรมีความเหมาะสม มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง เป็นที่รู้จักของสังคมทั่วไปบ้าง หรืออีกแนวคิดหนึ่งคือ รวมไปไว้ในบทความของอำเภอ ส่วนห้างไหนที่มีชื่อเสียง เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีทุนจดทะเบียนสูง มีจำนวนผู้ใช้บริการมากวันละหลายพันคน ก็ย้ายไปรวมไว้ที่บทความของจังหวัดแต่ละจังหวัด ผมว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

--Pongsak ksm (พูดคุย) 12:39, 18 มีนาคม 2555 (ICT)


ผมเสนอให้เก็บกวาดไปใช้รุ่นที่เสถียร แล้วระงับการแก้ไขไปก่อนสักพักนึงครับ จริงอยู่ว่ามันอาจเป็นการตัดความเป็นเสรี แต่ระหว่างที่เราพิจารณากันอยู่นี้ ก็ใช่ว่าไอพีหรือผู้เกี่ยวข้องจะมาร่วมอภิปราย บางการแก้ไขก็ใส่ในสิ่งที่ไม่ควรใส่ เช่น Outlet ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า กลายเป็นว่ายังไม่ได้ข้อยุติสักทีว่าจะใช้เกณฑ์ยังไง

--∫G′(∞)dx 13:05, 18 มีนาคม 2555 (ICT)


ตอนนี้ผมได้สร้างบทความ รายชื่อศูนย์การค้าในประเทศไทย แล้ว เป็นการนำข้อมูลจากบทความ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยครับ โดยผมเห็นด้วยกับคำแนะนำของคุณ Pongsak ksm ที่ว่า รายชื่อที่จะเขียนในบทความก็ควรมีความเหมาะสม มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง เป็นที่รู้จักของสังคมทั่วไปบ้าง ซึ่งผมกำหนดเกณฑ์และคัดมาเฉพาะศูนย์การค้า ที่มีพื้นที่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป เนื่องจากถ้าเราจะเขียนบทความ รายชื่อศูนย์การค้าในประเทศไทย โดยไม่ตั้งเงื่อนไขนี้ จะมีศูนย์การค้าขนาดย่อยมากมาย(ซึ่งบางทีเล็กกว่าห้างสรรพสินค้าบางห้างอีก)เข้าข่าย อาจจะเกิดปัญหาแบบเดียวกันขึ้นมาได้อีก

--Walker Emp (พูดคุย) 20:25, 18 มีนาคม 2555 (ICT)


ผมได้ตัดสิ่งที่เห็นชัดว่าไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าอย่างแน่นอนออกไปบ้างแล้ว ยังเหลืออยู่อีกมากที่ไม่ได้พิจารณาครับ ไม่ได้หมายความว่าที่เหลืออยู่จะสามารถอยู่ในรายชื่อได้ ถ้าหากต้องการข้อมูลไปเขียนบทความศูนย์การค้าก็ดูในประวัติเอาละกัน --octahedron80 01:26, 20 มีนาคม 2555 (ICT)

ขอบคุณครับ บทความศูนย์การค้าฯตอนนี้ผมว่าเข้าที่ละครับ ตอนนี้ก็เหลือแต่ไล่เก็บกวาดในบทความรายชื่อห้างฯเท่านั้นอ่ะครับ แต่ตอนนี้ผมอยากถามความเห็นว่า รายชื่อศูนย์การค้าในบทความรายชื่อห้างสรรพสินค้าฯเนี่ย ควรจะคงไว้ หรือลบออกดีครับ เพราะเรามีบทความรายชื่อศูนย์การค้าในประเทศไทย แล้ว และควรจะทำยังไงกับศูนย์การค้าที่ไม่เข้าเงื่อนไข (พื้นที่มากกว่า 100,000 ตร.ม.) ดี --Walker Emp (พูดคุย) 01:47, 20 มีนาคม 2555 (ICT)

ขณะนี้ บทความรายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ได้ถูกทำการสังคายนาใหม่ทั้งหมดแล้ว ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปผมจึงขอเสนอแนวทางสุดท้ายคือ

ให้'ติดป้ายชี้แจงต่อไปนี้ ไว้ ณ ส่วนหัวของบทความ'

มีเพียงเท่านี้ครับ --Walker Emp (พูดคุย) 22:30, 22 มีนาคม 2555 (ICT)


สอง Criteria แรกควรเขียนเป็น prose ในประโยคแรกของบทความครับ --∫G′(∞)dx 22:43, 22 มีนาคม 2555 (ICT)


เห็นด้วยกับการกำหนดเกณฑ์ครับ แต่ถ้าจะให้ดีกว่า ผมว่าลองศึกษาอ้างอิงจากเกณฑ์การจดทะเบียนการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ ก็จะมีมาตรฐานมากขึ้น เพราะกรมการค้าภายใน มีการกำหนดมาตรฐานไว้แล้วว่า ขนาดเท่าไหร่ จึงจะเรียกว่า ห้างสรรพสินค้าขนาด (เกี่ยวกับมาตรการห้ามสร้างห้างในเขตตัวเมือง) ผมไม่แน่ใจว่าขนาดพื้นที่เท่าไหร่ จึงจะเรียกว่าห้างสรรพสินค้า --Pongsak ksm (พูดคุย) 18:04, 30 มีนาคม 2555 (ICT)