ข้ามไปเนื้อหา

วัดแป้นทองโสภาราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดแป้นทองโสภาราม
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 18 ซอยหทัยราษฎร์ 39 ถนนหทัยราษฎร์ แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธสุวรรณเศรษฐี (หลวงพ่อทองเศรษฐี)
เจ้าอาวาสพระครูสถิตธรรมมานุศาสก์
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดแป้นทองโสภาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร พื้นที่วัดเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ระหว่างคลองสามตะวันตกกับคลองสี่ตะวันตก แวดล้อมไปด้วยทุ่งนา อาณาเขตวัดมีคูคลองโดยรอบ อุโบสถในวัดประดิษฐานพระพุทธสุวรรณเศรษฐี (หลวงพ่อทองเศรษฐี) พระประธานอุโบสถหลังใหม่

วัดและชาวมอญในชุมชนชาวมอญนี้ได้มอบที่ดินให้สร้างโรงเรียนวัดแป้นทองเป็นที่เล่าเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492

ประวัติ

[แก้]

วัดแป้นทองโสภารามตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2424 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[1] เขตวิสุงคามสีมากว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร ผูกพัทธสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465

วัดแป้นทองโสภารามเป็นวัดมอญ สร้างโดยนายทองและนางแป้น สองสามีภรรยาคหบดีผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชาชนที่อยู่ใกล้วัดส่วนใหญ่เป็นชาวมอญที่ย้ายมาจากอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตในหน้านา ชาวมอญพระประแดงจะล่องเรือจากปากน้ำสมุทรปราการผ่านคลองแสนแสบมายังบริเวณชุมชนแป้นทองสัมพันธ์ในปัจจุบันเพื่อทำนา แต่ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้นมา ก็เริ่มทำนาแล้วพักอาศัยอยู่อย่างถาวร ไม่กลับพระประแดงแล้ว กลายเป็นชาวมอญสามวานับแต่บัดนั้น[2]

งานประเพณี

[แก้]

ในช่วงวันสงกรานต์ในวันที่ 13–15 เมษายนของทุกปี มีการทำบุญและบังสุกุลให้กับบรรพบุรุษ ในวันที่ 14–15 เมษายน มีการสรงน้ำพระและเทศน์เป็นภาษามอญ ในช่วงเย็นมีการละเล่นสะบ้ามอญ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดแป้นทองโสภาราม". พระสังฆาธิการ.
  2. "วิถีชีวิตชาวมอญ กลางเมืองกรุง". สำนักข่าวไทย อสมท. 6 มีนาคม 2563.
  3. "ประเพณีสงกรานต์ชาวมอญ วัดแป้นทองโสภาราม".