ข้ามไปเนื้อหา

วัดหัวกระบือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหัวกระบือ
หลวงพ่อโต
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหัวกระบือ, วัดศีรษะกระบือ
ที่ตั้งเลขที่ 77 ซอยเทียนทะเล 19 ถนนบางขุนเทียนชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดหัวกระบือ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองหัวกระบือ ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

วัดหัวกระบือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2281 ในนิราศนรินทร์และนิราศสามเณรกลั่นปรากฏชื่อวัดนี้ว่าเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนปราบทรพี โดยพาลีตัดหัวทรพี ขว้างไปตกที่ย่านนี้ ในสมุดข่อยจารึกบอกศักราชไว้ว่าจารขึ้นในปี พ.ศ. 2286

แต่เดิมบริเวณวัดหัวกระบือในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นชุมชนชาวมอญ เรียกชื่อ วัดศีรษะกระบือ เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีหัวกระบือหรือศีรษะกระบือจำนวนมาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหัวกระบือ ในปัจจุบันชาวมอญได้อพยพย้ายไปที่อื่นกันหมด ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระครูวิบูลย์พัฒนกิตติ์ เจ้าอาวาสในขณะนั้น ท่านก็ทราบว่าวัดนี้มีอาถรรพ์ แล้วเข้าในโบสถ์สังเกตเห็นพระประธานในโบสถ์ (หลวงพ่อโต) ตั้งอยู่พื้นที่ต่ำ พระครูวิบูลย์พัฒนกิตติ์จึงดำเนินการบูรณะโบสถ์แล้วสร้างฐานรองรับองค์พระประธานให้สูงขึ้น นับจากนั้นได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว[1] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530[2]

สิ่งก่อสร้างในวัดล้วนได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ อุโบสถมีขนาด 5 ห้อง หันหน้าสู่คลองหัวกระบือ ใบเสมามีลักษณะเล็กทำด้วยหินทรายสีแดง แบบอยุธยาตอนปลาย[3] มีเจดีย์ย่อมุมอยู่ด้านหน้าอุโบสถ[4]

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
  • พระอาจารย์แดง
  • พระอาจารย์จวน
  • พระอาจารย์รุ่ง
  • พระอาจารย์ทัด
  • พระอาจารย์เคลือบ
  • พระอาจารย์สังข์
  • พระอาจารย์เลิศ
  • พระอาจารย์ชุม
  • พระอาจารย์ใจ
  • พระอาจารย์ถม
  • พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์ (สละ กตปุญโญ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไปรู้จักวัดหัวกระบือเทียนทะเล19 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียนกรุงเทพ". ไทยแลนด์พลัส. 8 มกราคม 2562.
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-27.
  3. สมพงษ์ กุลวโรตตมะ. "แนวทางการพัฒนาชุมชนเมืองในพื้นที่สวนเดิมฝั่งธนบุรี : กรณีศึกษาชุมชนเมืองคลองบางขุนเทียน" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  4. กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. "กรุงธนบุรีในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 272.