วัดวิจิตรการนิมิตร
วัดวิจิตรการนิมิตร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดวิจิตรการนิมิตร, วัดหนังบางแวก |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 ถนนบางแวก แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อดำ |
เจ้าอาวาส | พระครูวิจิตรสารสุนทร (ถวัลย์ ขนฺติสาโร) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดวิจิตรการนิมิตร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]วัดวิจิตรการนิมิตรเดิมมีชื่อว่า วัดหนังบางแวก คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง ระบุปีสร้างคือ พ.ศ. 2318[1] ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการสร้างพระปรางค์ขึ้น 1 องค์เป็นรูปทรงฐานเหลี่ยมและพระปรางค์สี่เหลี่ยม 1 องค์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์โดยมีการสร้างพระปรางค์ขึ้นไว้ ส่วนชื่อของวัดเดิมไปพ้องกับวัดหนังอีกแห่ง[2] จึงได้เปลี่ยนจาก "วัดหนังบางแวก" เป็น "วัดวิจิตรการนิมิตร" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา
อาคารเสนาสนะ
[แก้]อุโบสถทรงไทย หลังคาลดสามชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา วิหารคดด้านข้างอุโบสถทิศเหนือ มณฑปหลวงพ่อดำเป็นอาคารทรงไทยจัตุรมุข ศาลาบูรพาจารย์ อาคารทรงไทยประยุกต์ เสนาสนะอื่น ได้แก่ ศาลาการเปรียญทรงไทยช่อฟ้าใบระกา กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 2 หลัง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช ทรงไทยประยุกต์ หอระฆังทรงไทยประยุกต์
พระพุทธรูปประจำวัดคือ หลวงพ่อดำ สร้างด้วยศิลาทราย ศิลปะสมัยอยุธยา ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุข[3]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระครูวินัยธร พ.ศ. 2441–2447
- พระอธิการเป๋ พ.ศ. 2448–2453
- พระอธิการสาย พ.ศ. 2454–2470
- พระสำรวย พ.ศ. 2471–2475
- พระอธิการฝอย พ.ศ. 2476–2489
- พระครูวิจิตรวรวัฒน์ พ.ศ. 2490–2529
- พระครูสิริปัญญารังสี พ.ศ. 2530–2546
- พระครูวิจิตรสารสุนทร (ถวัลย์ ขนฺติสาโร) พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ "การตั้งชื่อวัดในเขตภาษีเจริญ" (PDF).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติวัดวิจิตรการนิมิตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.