วอลเลเกีย
ราชรัฐวอลเลเกีย Цѣра Рꙋмѫнѣскъ (โรมาเนีย) Βλαχία (กรีก) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1330–1859 | |||||||||||
วอลเลเกียใน ค.ศ. 1812 | |||||||||||
วอลเลเกียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 | |||||||||||
สถานะ |
| ||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||
ศาสนา | อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ส่วนน้อย | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยเลือกตั้ง | ||||||||||
เจ้าชาย | |||||||||||
• ป. ค.ศ. 1290 – ป. ค.ศ. 1310 | ราดู เนกรู (พระองค์แรก) | ||||||||||
• ค.ศ. 1859–1862 | อาเลกซันดรู อีวัน กูซา (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | |||||||||||
ค.ศ. 1290[9] | |||||||||||
• เอกราช | ค.ศ. 1330 | ||||||||||
• เมืองขึ้นออตโตมันครั้งแรก | ค.ศ. 1417[10] | ||||||||||
ค.ศ. 1593–1621 | |||||||||||
21 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 10 กรกฎาคม] ค.ศ. 1774 | |||||||||||
14 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 2 กันยายน] ค.ศ. 1829 | |||||||||||
ค.ศ. 1834–1835 | |||||||||||
5 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 24 มกราคม] ค.ศ. 1859 | |||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | โรมาเนีย |
วอลเลเกีย (อังกฤษ: Wallachia, Walachia, ออกเสียง: /wɒˈleɪkiə/;[11] โรมาเนีย: Țara Românească, ออกเสียง: [ˈt͡sara romɨˈne̯askə]; รูปสะกดโบราณ: Țeara Rumânească, อักษรซีริลลิก: Цѣра Рꙋмѫнѣскъ; แปลว่า ดินแดนโรมาเนีย, ประเทศโรมาเนีย) เป็นภูมิภาคทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของประเทศโรมาเนีย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำดานูบตอนล่างและทางทิศใต้ของเทือกเขาคาร์เพเทียนใต้ ตามธรรมเนียมดั้งเดิมวอลเลเกียแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ มุนเตนียา (วอลเลเกียใหญ่) และออลเตนียา (วอลเลเกียน้อย) บางครั้งมีผู้เรียกวอลเลเกียโดยรวมว่า มุนเตนียา ตามชื่อของส่วนย่อยที่ใหญ่กว่าของภูมิภาคนี้
วอลเลเกียได้รับการก่อตั้งเป็นราชรัฐในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 หลังจากที่บาซารับที่ 1 ก่อกบฏต่อพระเจ้ากาโรยที่ 1 แห่งฮังการี แต่การเอ่ยถึงดินแดนวอลเลเกียทางทิศตะวันตกของแม่น้ำออลต์เป็นครั้งแรกนั้นย้อนไปได้ถึงกฎบัตรที่พระเจ้าเบ-ลอที่ 4 แห่งฮังการีพระราชทานให้แก่ขุนศึกเซเนสเลาใน ค.ศ. 1246 ใน ค.ศ. 1417 วอลเลเกียตกอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน[10] เรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ก็ถูกรัสเซียเข้ายึดครองในบางช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1768–1854
ใน ค.ศ. 1859 วอลเลเกียได้รวมกับมอลเดเวียเพื่อจัดตั้งสหราชรัฐซึ่งใช้ชื่อว่า โรมาเนีย ใน ค.ศ. 1866 และกลายเป็นราชอาณาจักรโรมาเนียอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1881 ต่อมา หลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและตามมติของผู้แทนชาวโรมาเนียที่มาจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1918 ภูมิภาคบูโควีนาและทรานซิลเวเนีย รวมทั้งบางส่วนของภูมิภาคบานัต, กรีชานา และมารามูเรชได้รับการจัดสรรให้แก่ราชอาณาจักรโรมาเนีย ทำให้เกิดรัฐโรมาเนียสมัยใหม่ขึ้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Walachia at britannica.com
- ↑ 2.0 2.1 Protectorate at britannica.com
- ↑ Reid, Robert; Pettersen, Leif (11 November 2017). Romania & Moldova. Lonely Planet. ISBN 9781741044782. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Ștefan Pascu, Documente străine despre români, ed. Arhivelor statului, București 1992, ISBN 973-95711-2-3
- ↑ "Tout ce pays: la Wallachie, la Moldavie et la plus part de la Transylvanie, a esté peuplé des colonies romaines du temps de Trajan l'empereur... Ceux du pays se disent vrais successeurs des Romains et nomment leur parler romanechte, c'est-à-dire romain... " in Voyage fait par moy, Pierre Lescalopier l'an 1574 de Venise a Constantinople, in: Paul Cernovodeanu, Studii și materiale de istorie medievală, IV, 1960, p. 444
- ↑ Panaitescu, Petre P. (1965). Începuturile şi biruinţa scrisului în limba română (ภาษาโรมาเนีย). Editura Academiei Bucureşti. p. 5.
- ↑ Kamusella, T. (2008). The Politics of Language and Nationalism in Modern Central Europe. Springer. p. 352. ISBN 9780230583474.
- ↑ Olson, James Stuart; Pappas, Lee Brigance; Pappas, Nicholas Charles; Pappas, Nicholas C. J. (1994). An Ethnohistorical Dictionary of the Russian and Soviet Empires. Greenwood Publishing Group. p. 550. ISBN 9780313274978.
- ↑ Brătianu 1980, p. 93.
- ↑ 10.0 10.1 Giurescu, Istoria Românilor, p. 481
- ↑ "Wallachia". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.