ลี่ จ้านชู
ลี่ จ้านชู | |
---|---|
栗战书 | |
ลี่ จ้านชู ใน พ.ศ. 2565 | |
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 (4 ปี 358 วัน) | |
รอง | หวัง เฉิน |
ผู้นำ | สี จิ้นผิง |
ก่อนหน้า | จาง เต๋อเจียง |
ถัดไป | จ้าว เล่อจี้ |
ผู้อำนวยการสำนักงานกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (5 ปี 76 วัน) | |
รอง | ติง เซวียเสียง เฉิน ชื่อจฺวี้ เมิ่ง เสียงเฟิง |
เลขาธิการใหญ่ | สี จิ้นผิง |
ก่อนหน้า | ลิ่ง จี้-ฮฺว่า |
ถัดไป | ติง เซวียเสียง |
เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประจำมณฑลกุ้ยโจว | |
ดำรงตำแหน่ง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (1 ปี 345 วัน) | |
ผู้ว่าการ | จ้าว เค่อจื้อ |
ก่อนหน้า | ฉือ จง-ยฺเหวียน |
ถัดไป | จ้าว เค่อจื้อ |
ผู้ว่าการมณฑลเฮย์หลงเจียง | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มกราคม พ.ศ. 2551 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (3 ปี 212 วัน) | |
ก่อนหน้า | จาง จั๋วจี่ |
ถัดไป | หวัง เซี่ยนขุย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ผิงชาน มณฑลเหอเป่ย์ ประเทศจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2518–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | หวัง จินเฟิ่ง |
บุตร | ลี่ เฉียนซิน ลี่ ตัวสี |
บุพการี | ลี่ เจิ้งซิว (บิดา) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยครูเหอเป่ย์, สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน |
ลี่ จ้านชู | |||||||||||
"ลี่ จ้านชู" ในรูปแบบอักษรจีนตัวย่อ (บน) และตัวเต็ม (ล่าง) | |||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 栗战书 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 栗戰書 | ||||||||||
|
ลี่ จ้านชู (จีนตัวย่อ: 栗战书; จีนตัวเต็ม: 栗戰書; พินอิน: Lì Zhànshū; เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2493) เป็นนักการเมืองชาวจีน เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ. 2561–2566 และสมาชิกลำดับที่ 3ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของจีนระหว่างปี พ.ศ. 2560–2565 [1]
ลี่เริ่มต้นอาชีพทางการเมืองในพื้นที่ชนบทของมณฑลเหอเป่ย์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา โดยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเมืองซีอาน ผู้ว่าการมณฑลเฮย์หลงเจียง และเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกุ้ยโจว ในปี พ.ศ. 2555 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ลี่ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาระดับสูงของเลขาธิการใหญ่ สี จิ้นผิง เขาได้รับการยกย่องจากสื่อว่าเป็นสมาชิกอาวุโสของ "กลุ่มสีจิ้นผิง" ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มการเมืองหลักในพรรคคอมมิวนิสต์จีน[2]
ช่วงแรก
[แก้]ลี่เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ในอำเภอผิงชาน มณฑลเหอเป่ย์[3] เขาเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2518[3] เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ในนครฉือเจียจวง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลบ้านเกิดของเขา โดยทำงานเป็นพนักงานให้กับสำนักงานการค้าฉือเจียจวงและคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครฉือเจียจวง ในปี พ.ศ. 2523 ลี่เข้าเรียนเรียนภาคกลางคืนที่มหาวิทยาลัยครูเหอเป่ย์ (河北师范大学) หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคประจำอำเภออู๋จี๋ (ในเวลาเดียวกัน เลขาธิการพรรคประจำอำเภอเจิ้งติงที่อยู่ใกล้เคียงคือ สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนปัจจุบัน)
ในทศวรรษถัดมา ลี่รับตำแหน่งอาวุโสอย่างต่อเนื่องในมณฑลเหอเป่ย์ เช่น รองหัวหน้าพรรคและผู้ว่าการนครฉือเจียจวง (ไม่เทียบเท่ากับนายกเทศมนตรี) หัวหน้าองค์การสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ประจำจังหวัด ผู้ว่าการจังหวัดเฉิงเต๋อ สมาชิกและเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑลเหอเป่ย์
ผู้นำระดับภูมิภาค
[แก้]ในปี พ.ศ. 2541 ลี่ถูกย้ายไปที่มณฑลฉ่านซีเพื่อทำหน้าที่ในสภาผู้นำพรรคและเป็นหัวหน้าแผนกองค์กรประจำมณฑล ลี่กลายเป็นเลขาธิการพรรคประจำซีอานตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ในเดือนพฤษภาคม เขาได้เข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประจำมณฑลฉ่านซีไปพร้อม ๆ กัน ในระหว่างดำรงตำแหน่งในซีอาน เป็นที่รู้กันว่าลี่ได้ตั้งเป้าหมายให้ซีอานกลายเป็น "เมืองที่ดีที่สุดในเขตแดนตะวันตก"
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ลี่ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประจำมณฑลเฮย์หลงเจียง และรับตำแหน่งรองผู้ว่าการมณฑลในอีกหนึ่งปีต่อมา[4] ในขณะนั้น ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจัดลี่เป็นสมาชิกของกลุ่มถวนไพ่ (团派) หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีพื้นฐานมาจากสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ผู้ว่าการรัฐจาง จั๋วจี่ ลาออก และลี่ได้เข้ารับตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการมณฑลแทน ตามที่ได้รับการยืนยันในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[5] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ลี่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลกุ้ยโจว โดยรับบทบาทแรกในสำนักงานระดับสูงของมณฑล ในเวลานั้น ลี่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัวของคณะกรรมาธิการกลาง ถือว่าหายากมากสำหรับคนที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประจำมณฑลโดยไม่มีที่นั่งในคณะกรรมาธิการกลาง[6]
สำนักงานทั่วไป
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ลี่ถูกย้ายไปปักกิ่งเพื่อดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้รับการดูแลเป็นอย่างดีให้เข้ามาแทนที่ลิ่ง จี้-ฮฺว่า จนได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปในอีกสองเดือนต่อมา[7] สามเดือนต่อมา ลี่ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการงานองค์กรซึ่งขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการกลาง (中直工委书记)[8] ลี่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ดาวรุ่ง" โดยได้รับเลือกเข้าสู่กรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคครั้งที่ 18 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไป (เช่น ลิ่ง จี้-ฮฺว่า ไม่ได้เป็นสมาชิกกรมการเมือง) ส่งสัญญาณว่าลี่จะมีอิทธิพลสำคัญภายใต้การบริหารของสี จิ้นผิง นอกจากนี้ ตามธรรมเนียมของหัวหน้าสำนักงานทั่วไป ลี่ยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเลขาธิการของสำนักเลขาธิการกลางอีกด้วย[9] ในปี พ.ศ. 2556 ลี่ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่
หลี่มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจีนและรัสเซีย และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปคนแรกในจีนหลังยุคเหมาที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจการต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2558 ลี่ถูกส่งไปเป็น "ทูตพิเศษ" ของสี จิ้นผิง เพื่อไปพบกับวลาดิมีร์ ปูตินที่มอสโก[10] เป็นที่รู้กันว่าลี่เคยร่วมกับสีในการประชุมต่าง ๆ ของผู้นำกับแขกต่างชาติ รวมถึงการเยือนสหรัฐฯ ของสีเมื่อปี พ.ศ. 2558
ลี่ซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงในของสี จิ้นผิง ถูกมองว่าเป็น "ม้ามืด" ผู้สมัครชิงคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองชุดที่ 19 ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของจีนที่เข้ารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2560[11]
ลี่เป็นสมาชิกสำรองของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 16 และ 17 และเป็นสมาชิกเต็มตัวของคณะกรรมาธิการกลางพรรคชุดที่ 18
คณะกรรมาธิการกรมการเมือง
[แก้]ลี่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมือง ชุดที่ 19 ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินสูงสุดของจีน ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 19 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560[12]
ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561 ลี่ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ[13]
ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561 ลี่เป็นตัวแทนพิเศษของสี จิ้นผิง ในการเยือนเกาหลีเหนือเพื่อเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี[14]
ในการทำงานของเขา ลี่อ้างว่าตนปฏิบัติตามหลักการ "สามประการ" คือ "ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่เล่นเกม ไม่ขี้เกียจกับงาน"[15]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 หลังจากการขับสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อประชาธิปไตย 4 คนในสภานิติบัญญติฮ่องกง ลี่ออกมาปกป้องการไล่ออก โดยให้เหตุผลว่าการตัดสินใจดังกล่าวมีทั้ง "จำเป็น" และ "เหมาะสม"[16]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ในระหว่างการพบปะกับบุคคลระดับสูงของรัสเซีย ลี่ให้คำมั่นว่าจีนจะ "เข้าใจและสนับสนุนรัสเซียอย่างเต็มที่" ในประเด็นการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี พ.ศ. 2565 เขากล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ดังกล่าว รัสเซียได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น จีนเข้าใจ และเรากำลังประสานงานในด้านต่าง ๆ" เขากล่าวโทษสหรัฐฯ และเนโท โดยตรงว่า "เนโท ขยายกิจการถึงหน้าประตูรัสเซียโดยตรง คุกคามความมั่นคงของชาติและชีวิตของพลเมืองรัสเซีย"[17] หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล (The Wall Street Journal) รายงานเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยอ้างแหล่งข่าวว่ารัสเซียปล่อยภาพนี้รั่วไหลโดยที่จีนไม่รู้ และหากจีนรู้สถานการณ์ล่วงหน้า "การเลือกคำพูดของจีนคงจะระมัดระวังมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้จีนถูกมองว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัสเซีย"[18]
ครอบครัว
[แก้]- บิดา: ลี่ เจิ้งซิว (栗政修) มีพี่น้อง 3 คน ได้แก่ ลี่ เจิ้งทง (栗政通) ลี่ เจิ้งชิง (栗政清) และ ลี่ เจิ้งหมิน (栗政民)[19]
- ลุงทวด: ลี่ ไจ้เวิน (栗再温; พ.ศ. 2451–2510) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการสหพันธ์สหภาพแรงงานแห่งประเทศจีน รองผู้ว่าการมณฑลชานตง และเลขาธิการสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑลชานตงของ[20]
- ภรรยา: หวัง จินเฟิ่ง (王金峰) เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2496
บุตร
[แก้]- ลี่ เฉียนซิน
ลี่ เฉียนซิน (栗潜心; เกิด มิถุนายน พ.ศ. 2525) หรือที่รู้จักในชื่อนาโอมิ ลี่ เป็นบุตรสาวคนโตของลี่[21] ได้รับรายงานจากสื่อจีนว่ามีบทบาทในฮ่องกง และเป็นหนึ่งในรองประธานของสมาคมหฺวาจิงแห่งฮ่องกง (香港华菁会) ซึ่งเป็นองค์กรเยาวชนที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฮ่องกงและแผ่นดินใหญ่[22] มีรายงานว่าลี่ เฉียนซิน ซื้อทาวน์เฮาส์ในสแตนลีย์บีชของฮ่องกงในราคา 15 ล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2556[23]
- ลี่ ตัวสี
ลี่ ตัวสี (栗多习; เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2530) บุตรสาวคนเล็กของลี่ ทำงานที่ด็อยท์เชอบังค์
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]- เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพ (รัสเซีย, พ.ศ. 2565)[24][25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "China unveils new leadership line-up with no clear successor to Xi". Reuters. 25 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- ↑ "Members of the Xi Jinping Clique Revealed".
- ↑ 3.0 3.1 "Li Zhanshu". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ 栗战书、刘学良任黑龙江省副省长 (ภาษาChinese (China)). Xinhua News. 2004-10-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-20. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
- ↑ 栗战书履新黑龙江省代省长. ynet.com (ภาษาChinese (China)). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12. (北京青年报》网站)
- ↑ 栗战书任贵州省委书记. china.com (ภาษาChinese (China)). 2010-08-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
- ↑ Tang, Danlu (2012-09-01). "Ling Jihua appointed head of United Front Work Department". Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-03.
- ↑ 栗战书兼任中直工委书记 令计划不再兼任. zzdjw.com (ภาษาChinese (China)). 2012-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
- ↑ 十八届一中全会选举中央政治局委员 (ภาษาChinese (China)). Xinhua News. 2012-11-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
- ↑ "Meeting with Director of General Office of Chinese Communist Party Li Zhanshu". Kremlin.ru. March 19, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
- ↑ 十九大常委人事大推测,天王卡位战激烈预热(图). Sina Daily. July 15, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
- ↑ Wen, Philip; Blanchard, Ben (24 October 2017). "China unveils new leadership line-up with no clear successor to Xi". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ 栗战书当选为十三届全国人大常委会委员长. Xinhua. 2018-03-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-17. สืบค้นเมื่อ 2018-03-17.
- ↑ 习近平总书记特别代表栗战书将访问朝鲜. Xinhua. 2018-09-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-04.
- ↑ Xi Jinping's China. KW Publishers Pvt. 15 September 2017. ISBN 9789386288912.
- ↑ "Beijing disqualifies four pro-democracy lawmakers - RTHK". news.rthk.hk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ Feng, John (14 September 2022). "China gives clearest support for Russia's invasion of Ukraine so far". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ Wei, Lingling (19 March 2023). "Putin Proves an Unpredictable Partner for Xi as Nations Cement Ties". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
- ↑ "เส้นทางการเมืองของลี่ จ้านชู: การเลื่อนตำแหน่งของเขาหลังจากเขียนจดหมายถึงหู เย่าปัง". เครือข่ายข่าวตัวเว่ย์. 2017-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-23. สืบค้นเมื่อ 2018-11-02.
- ↑ หลี่ หรง (2011-07-01). "ลี่ จ้านชู: ผู้นคนใหม่ของกุ้ยโจว". เหรินหมินเหวินไจ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-09-20.
- ↑ "New York Times author Mike Forsythe". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-14.
- ↑ 习近平爱将栗战书之女以红二代港人身份活跃香港. Wenxuecity.com. September 10, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
- ↑ "Luxury Homes Tie Chinese Communist Elite to Hong Kong's Fate".
- ↑ "栗战书同俄罗斯联邦委员会主席马特维延科举行会谈". The National People's Congress of the People's Republic of China. 2022-04-15. สืบค้นเมื่อ February 3, 2023.
- ↑ Mo, Jingxi (2022-04-16). "Legislator: ties with Russia are resilient". China Daily. สืบค้นเมื่อ February 3, 2023.