ราม วะรัณ ยาทวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะไรต์ออนเนเรเบิล
ราม วรัณ ยาทวะ
रामवरण यादव
ราม วรัณ ยาทวะ เมื่อปี 2014
ประธานาธิบดีเนปาลคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม 2008 – 29 ตุลาคม 2015
นายกรัฐมนตรี คีรีชา ประสาท โกอีราลา
บุษบา กมล
มาธว กุมาร เนปาล
ฌาลา นาถ ขานัล
บาบูราม ภัตตาราอี
ขิล ราช เรคมี
สุศิล โกอีราลา
ขัทคา ประสาท ชาร์มา โอลี
รองประธานาธิบดี ปรมานันท์ ฌา
ก่อนหน้า ประเดิมตำแหน่ง
ก่อนหน้ามีคีรีชา ประสาท โกอีราลา เป็ย รักษาการณ์แทนประมุขแห่งรัฐ
ถัดไป พิธยา เทวี ภัณฑารี
เลขาธิการพรรคคองเกรสเนปาล[1]
ดำรงตำแหน่ง
2006–2008
ดำรงตำแหน่งร่วมกับพิมเลนทร์ นิธี
กุล บะหะดูร์ คุรุง
ประธานาธิบดี คีรีชา ประสาท โกอีราลา
ก่อนหน้า คีรีชา ประสาท โกอีราลา
ถัดไป ประกาศ มัน สิงห์
กฤษณา ประสาท สีตาวลา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1948-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 (75 ปี)
สปหี ราชอาณาจักรเนปาล
พรรค พรรคคองเกรสเนปาล (1968–2008)
คู่สมรส Julekha Yadav
บุตร จันทระ โมหัน ยาทวะ
จันทระ เศขา ยาทวะ
อนิตา ยาทวะ
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยกัลกัตตา
สถาบันบัณฑิตศึกษาแทพยศาสตร์ศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์

ราม วะรัณ ยาทวะ (ไมถิลี: डा. राम वरण यादव; Ram Baran Yadav) เป็นนักการเมืองและแพทย์ชาวเนปาล ประธานาธิบดีเนปาลคนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม 2008 ถึง 29 ตุลาคม 2015 หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในปี 2008[2] ก่อนหน้านี้เขาเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขจากปี 1999 ถึง 2001 และเป็นเลขาธิการพรรคคองเกรสเนปาล

งานการเมือง[แก้]

ยาทวะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกิจการรัฐและสาธารณสุข (Minister of State for Health) จากปี 1991 ถึง 1994[3] เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปี 1999 ในฐานะผู้แทนจากพรรคคองเกรสเนปาล และในรัฐบาลก็ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข[4][5][6]

ในเดือนพฤษภาคม 2007 ที่พักของยาทวะในชนกปุระถูกกองกำลังของชนตานตฤก เตราอี มุกติ โมรฉะ (JTMM) โจมตี วางระเบิด และแขวนธงของกลุ่มบนบ้าน[7] ยาทวะชนะเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตธนุสะ-5 ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเดือนเมษายน 2008[8]

ยาทวะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเนปาลจากการลงคะแนนรอบสองในวันที่ 21 กรกฎาคม 2008 โดยเขาได้คะแนนเสียง 308 จาก 590 ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[9][10] เอาชนะ ราม ราช ประสาท สิงห์ ตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์เหมาอิสต์ ยาทวะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 23 กรกฎาคม 2008 ที่ศิตัลนิวาส (Shital Niwas) ในราษฏรบดีภวัน[11][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. ".::::: Nepali Congress Party :::::". www.nepalicongress.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
  2. "Physician to become Nepal's first president". International Herald Tribune. 2008-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-22.
  3. [1] เก็บถาวร มีนาคม 24, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Election Commission of Nepal เก็บถาวร 2006-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. aung bakyu (1999-06-09). "N980412". Myanmargeneva.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  6. Front Pagers May 31st, 1999 / Jestha 17, 2056 Awake Weekly Chronicle (Nepal) เก็บถาวร มิถุนายน 19, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "The Tribune, Chandigarh, India - World". Tribuneindia.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  8. "Ca Election report". Election.gov.np. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  9. "No Nepali president candidate wins simple majority_English_Xinhua". Big5.xinhuanet.com. 2008-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  10. "Nepalnews.com, news from Nepal as it happens". Nepalnews.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.[ลิงก์เสีย]
  11. thehimalayantimes.com, Yadav Sworn-in as First President of Nepal[ลิงก์เสีย]
  12. "nepalnews.com, President Yadav, VP Jha sworn in". Nepalnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.