มุฮัมมะดิยะฮ์
Persyarikatan Muhammadiyah | |
ตราของมุฮัมมะดิยะฮ์ | |
ธงของมุฮัมมะดิยะฮ์ | |
ก่อตั้ง | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 |
---|---|
ประเภท | องค์กรทางศาสนาอิสลาม |
วัตถุประสงค์ | สังคมศาสนา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และสุขภาพ |
สํานักงานใหญ่ | ยกยาการ์ตา และ จาการ์ตา, อินโดนีเซีย |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | Southeast Asia |
สมาชิก | 60 ล้านคน |
ประธาน | ฮาเอดาร์ นาชีร์ |
เลขานุการ | อับดุล มุติร์ |
สังกัด | Islamic modernism (นิกายซุนนี)[1] |
เว็บไซต์ | en |
มุฮัมมะดิยะฮ์ (อาหรับ: محمدية, อักษรโรมัน: Muḥammadiyyah, แปลตรงตัว 'ผู้ติดตามมุฮัมหมัด'); ชื่อทางการ สมาคมมุฮัมมะดิยะฮ์ (อินโดนีเซีย: Persyarikatan Muhammadiyah) เป็นองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย [2] องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 โดยอะห์มัด ดะห์ลัน ในเมืองยกยาการ์ตา ในฐานะขบวนการปฏิรูปทางสังคมและศาสนา โดยสนับสนุนอิจญ์ติฮาด หรือการตีความคัมภีร์อัลกุรอาน และซุนนะห์แบบรายบุคคล ตรงข้ามกับ ตักลีด หรือความสอดคล้องกับการตีความแบบดั้งเดิมที่เสนอโดยอุละมะ [3] ตั้งแต่ก่อตั้ง มุฮัมมะดิยะฮ์ได้นำเอาแนวทางปฏิรูปที่ผสมผสานการศึกษาด้านศาสนาและฆราวาสมาใช้ [4] หลักๆ แล้วเป็นหนทางส่งเสริมให้ชาวมุสลิมก้าวหน้าขึ้นสู่ชุมชน "ทันสมัย" และเพื่อชำระล้างศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียจากการปฏิบัติที่ผสมผสานกันในท้องถิ่น [4] กลุ่มยังคงสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมการยอมรับทางศาสนาในอินโดนีเซีย ในขณะที่สถาบันการศึกษาระดับสูงบางแห่งมีผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกและจังหวัดปาปัว กลุ่มนี้ยังบริหารโรงพยาบาลการกุศลขนาดใหญ่หลายแห่งอีกด้วย [2] และดำเนินกิจการในมหาวิทยาลัย 128 แห่งในปลายทศวรรษ 1990 [5]
เมื่ออะห์มัด ดะห์ลันเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1923 องค์กรนี้มีสมาชิกเป็นชาย 2,622 คนและเป็นหญิง 724 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองยกยาการ์ตา [6] จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี 10,000 คนในปี ค.ศ. 1928, 17,000 คนในปี ค.ศ. 1929 และ 24,000 คนในปี ค.ศ. 1931 [7] นอกจากนี้ ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1930 ยังได้เริ่มขยายสาขาออกไปนอกเกาะชวาซึ่งเป็นศูนย์กลางประชากรหลัก และกระจายไปทั่วอินโดนีเซีย และปัจจุบันถือเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย (รองจากนะฮ์ฎะตุล อุละมะ) โดยมีสมาชิก 29 ล้านคนในปี ค.ศ. 2008 [8] สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนเมืองและชนชั้นกลาง [3] แม้ว่าผู้นำและสมาชิกมุฮัมมะดิยะฮ์จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดทิศทางการเมืองในอินโดนีเซีย แต่มุฮัมมะดิยะฮ์ไม่ใช่พรรคการเมือง และได้อุทิศภารกิจเพื่อกิจกรรมทางสังคมและการศึกษา
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ Nashir M. Si, Dr. H Haidar (2015). MUHAMMADIYAH: A REFORM MOVEMENT. Jl. A Yani Pabelan Tromol Pos 1 Kartasura Surakarta 57102 Jawa Tengah – Indonesia: Muhammadiyah University Press. p. 94. ISBN 978-602-361-013-6.
From aqidah standpoints, Muhammadiyah may adhere Salafi , as stated by Tarjih in Himpinan Putusan Tarjih (wy: 11), that Muhammadiyah promotes the belief principles referring to the Salaf (al-fi rqat al-najat min al-Salaf).
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 A. Jalil Hamid, Tackle the rising cost of living longer . New Straits Times, 30 October 2016. Accessed 1 November 2016.
- ↑ 3.0 3.1 "Muhammadiyah". Div. of Religion and Philosophy, St. Martin College, UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
- ↑ 4.0 4.1 Abu Zayd, Nasr (2006). Reformation of Islamic Thought. Amsterdam University Press. ISBN 9789053568286. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ Pieternella van Doorn-Harder, WOMEN SHAPING ISLAM: Reading the Qu'ran in Indonesia, pg .95. Champaign: University of Illinois Press, 2010. ISBN 9780252092718
- ↑ Peacock 1978, 45
- ↑ Israeli 1982, 191
- ↑ Europa Publications Limited
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Pacific Affairs, Vol. 27, No. 3 (Sep., 1954), pp. 255-263 Modern Islam in Indonesia: The Muhammadiyah After Independence
- Ali Shodiqin, Mochammad. 2014. "Muhammadiyah itu NU!: Dokumen Fiqh yang Terlupakan". Jakarta: NouraBooks.
- Burhani, Ahmad Najib. 2005. "Revealing the Neglected Missions: Some Comments on the Javanese Elements of Muhammadiyah Reformism." Studia Islamika, 12 (1): 101–129.
- Burhani, Ahmad Najib. 2010. Muhammadiyah Jawa. Jakarta: Al-Wasat.
- Peacock, J.L. (1978). Purifying the Faith: The Muhammadijah Movement in Indonesian Islam. Cummings Press.
- "Muhammadiyah". Div. of Religion and Philosophy, St. Martin College, UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-28.
- Ricklefs, M.C. 1991. A History of Modern Indonesia since c.1300. 2nd Edition, Stanford: Stanford University Press. ISBN 0-333-57690-X