อะห์มัด ดะห์ลัน
กิไย หัจญี อะห์มัด ดะห์ลัน | |
---|---|
Ahmad Dahlan | |
![]() รูปถ่ายของอะห์มัด ดะห์ลัน ไม่ทราบวันที่ | |
ผู้นำมุฮัมมะดิยะฮ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 | |
ถัดไป | กิไย อิบราฮีม |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | มุฮัมหมัด ดาร์วิส 1 สิงหาคม ค.ศ. 1868 |
มรณภาพ | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 ยกยาการ์ตา, รัฐสุลต่านยกยาการ์ตา, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ | (54 ปี)
ที่ฝังศพ | สุสานกะรังกะเจิน, ยกยาการ์ตา |
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | ซิติ วะลีดะห์ |
บุตร | 7 |
บุพการี |
|
นิกาย | ซุนนี |
รู้จักจาก | ผู้ก่อตั้ง มุฮัมมะดิยะฮ์ |
อาชีพ | ผู้นำทางศาสนา |
กิไย หัจญี อะห์มัด ดะห์ลัน (ชื่อเกิด มุฮัมหมัด ดาร์วิส; อินโดนีเซีย: Ahmad Dahlan; อาหรับ: أحمد دحلان; 1 August 1868 – 23 February 1923), มักเขียนย่อว่า K.H. Ahmad Dahlan เป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามและนักฟื้นฟูศาสนาชาวอินโดนีเซีย ซึ่งก่อตั้งองค์กรมุฮัมมะดิยะฮ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์กรมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินโดนีเซีย รองจากนะฮ์ฎะตุล อุละมะ เขาเกิดที่หมู่บ้านเกามัน ยกยาการ์ตา เป็นบุตรของอิหม่ามของมัสยิดในท้องถิ่น และสืบเชื้อสายมาจากมุฮัมหมัด อะห์มัด ดะห์ลัน ประกอบพิธีฮัจญ์เมื่ออายุได้ 15 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่มักกะฮ์อีก 5 ปี
เขาเริ่มมีส่วนร่วมในแนวคิดปฏิรูปภายในศาสนาอิสลาม ณ ที่นั่น จากนั้นเขากลับมายังอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1888 ในปี ค.ศ. 1903 เขากลับไปที่มักกะฮ์อีกครั้งเพื่อศึกษาความรู้ทางศาสนาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เขากลับมายังอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1905 และสองปีต่อมา เขาเข้าร่วมองค์กรบูดีอุโตโม (Budi Utomo) อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนของเขาได้กระตุ้นให้เขาก่อตั้งองค์กรของเขา ในปี ค.ศ. 1912 เขาก่อตั้งองค์กรมุฮัมมะดิยะฮ์ ขึ้นเพื่อเป็นวิธีในการบรรลุอุดมคติปฏิรูปของเขา องค์กรนี้ได้รับการเข้าร่วมอย่างรวดเร็วโดยพ่อค้าและช่างฝีมือ ในปี ค.ศ. 1917 เขาได้เพิ่มกลุ่มสตรีที่มีชื่อว่า ไอชิยะห์ (Aisyiyah) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงชีวิตของสตรีชาวอินโดนีเซียให้ทันสมัย มุฮัมมะดิยะฮ์ขยายไปยังหมู่เกาะภายนอก และได้ก่อตั้งฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งในซูลาเวซีเพียงหนึ่งทศวรรษต่อมาหลังจากก่อตั้ง
มุฮัมมะดิยะฮ์เป็นหนึ่งในองค์กรพื้นเมืองของอินโดนีเซียหลายแห่งที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงสามทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าการตื่นรู้ของชาติอินโดนีเซีย (Kebangkitan Nasional Indonesia) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความรู้สึกชาตินิยมของอินโดนีเซียและกลายเป็นการเรียกร้องเอกราชในที่สุด ตลอดปีสุดท้ายของชีวิต อะห์มัด ดะห์ลัน ประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ในปี ค.ศ. 1923 เขาใช้เวลาพักผ่อนที่ภูเขาเตอร์เตรส เมืองมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ตามคำแนะนำของแพทย์ ก่อนจะเดินทางกลับยกยาการ์ตาเพื่อเข้าร่วมการประชุมมุฮัมมะดิยะฮ์ประจำปี สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานกะรังกะเจิน ด้วยคุณูปการอันดีงามของเขา อะหมัด ดะห์ลัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นวีรบุรุษของชาติ ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับที่ 657 ปี ค.ศ. 1961
อะห์มัด ดะห์ลัน มีศักดิ์เป็นปู่ของ ดร.วินัย ดะห์ลัน
แหล่งอ้างอิง
[แก้]หนังสืออ้างอิง
[แก้]- Abdul, Mu'thi; Mulkhan, Abdul Munir; Marihandono, Djoko (2015). Parlindungan, Utan (บ.ก.). K.H. Ahmad Dahlan (1868–1923) [K.H. Ahmad Dahlan (1868–1923)] (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). National Awakening Museum and Director General of Culture. ISBN 978-602-14482-8-1. สืบค้นเมื่อ 27 November 2021.
- Burhani, Ahmad Najib (2010). Muhammadiyah Jawa [Muhammadiyah Java] (ภาษาอินโดนีเซีย). Al-Wasat Publishing. ISBN 9786029691603. สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- Salam, Junus (2009). K.H. Ahmad Dahlan Amal dan Perjuangannya [K.H. Ahmad Dahlan Amal and His Struggle] (ภาษาอินโดนีเซีย). Suara Muhammadiyah. ISBN 978-979-19415-1-8. สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- Salam, Junus (1968). Riwajat hidup K.H.A. Dahlan: amal dan perdjoangannja [Biography of K.H.A. Dahlan: charity and struggle] (ภาษาอินโดนีเซีย). Muhammadiyah. สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- Vickers, Adrian (2005). A History of Modern Indonesia (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9781139447614. สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- Nugraha, Adi (2009). K.H. Ahmad Dahlan: biografi singkat, 1869-1923 [K.H. Ahmad Dahlan: brief biography, 1869–1923] (ภาษาอังกฤษ). Garasi. ISBN 9789792545418. สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- Saputra, Amrizal, Wira Sugiarto, Suyendri, Zulfan Ikhram, Khairil Anwar, M. Karya Mukhsin, Risman Hambali, Khoiri, Marzuli Ridwan Al-bantany, Zuriat Abdillah, Dede Satriani, Wan M. Fariq, Suwarto, Adi Sutrisno, Ahmad Fadhli (2020-10-15). PROFIL ULAMA KARISMATIK DI KABUPATEN BENGKALIS: MENELADANI SOSOK DAN PERJUANGAN (ภาษาอินโดนีเซีย). CV. DOTPLUS Publisher. ISBN 978-623-94659-3-3.