ตักลีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตักลีด (อาหรับ: تَقْليد taqlīd) หมายถึง การปฏิบัติตาม การติดตาม ส่วนความหมายตามหลักปฏิบัติศาสนกิจของอิสลาม หมายถึง  การนำกฎเกณฑ์ทีี่มัรญิอ์ตักลีด อธิบายไว้มาปฏิบัติ โดยทั่วไปแล้วไม่อนุญาตให้ ตักลีด เรื่องที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อของศาสนา  ส่วนในเรื่องหลักปฏิบัติศาสนกิจนั้นจำเป็นต้องตักลีดตามผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งก็คือ มุจตะฮิดที่มีคุณสมบัติครบถ้วน หรือ มัรญิอ์ตักลีด อย่างไรก็ตามยังคงมีทัศนะที่แตกต่างกันในการระบุขอบข่ายของการตักลีด[1]

ความหมายต่างๆของตักลีด[แก้]

ตักลีด เป็นรากศัพท์ภาษาอาหรับ มาจากแม่แบบ ตัฟอีล ของรากศัพท์ ก้อละด้า ในพจนานุกรมหมายถึง การกำหนดให้สิ่งหนึ่งอยู่เคียงคู่กับบุคคลหนึ่ง[2] และ การก้มหัวให้การงานใดการงานหนึ่ง[3] ส่วนความหมายเชิงวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) หมายถึง การต้องปฏิบัติตามมุจตะฮิดที่เจาะจง[4] แต่ในตัวบทนิติศาสตร์อิสลามที่ว่าด้วยเรื่องของการประกอบพิธีฮัจญ์ ก็หมายถึง เครื่องหมายที่แขวนไว้บนต้นคอของสัตว์ที่จะทำการเชือด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นสัตว์ที่ใช้เชือดในพิธีฮัจญ์ เช่นกัน [5] ตามแหล่งอ้างอิงด้านอุซูลและนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์) แล้ว ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้สองลักษณะ  บรรดาฟะกีฮ์กลุ่มหนึ่งอธิบายการตักลีดว่า เป็นเรื่องหนึ่งที่แตกต่างไปจากการปฏิบัติหลักศาสนกิจ  โดยการยึดเอาคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด หรือยอมรับคำวินิจฉัยนั้น หรือการมีพันธะต่อสิ่งนั้น ส่วนบรรดาฟะกีฮ์ส่วนมาก ถือว่า แก่นของการตักลีด ก็คือการปฏิบัติตามคำฟัตวา ของมุจตะฮิดนั่นเอง

รูปธรรมต่างๆของการตักลีด[แก้]

ในทัศนะด้านนิติศาสตร์ (ฟิกฮ์) อิสลามนั้นไม่อนุญาตให้ทำการตักลีดในบางกรณี อาทิ เรื่องเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจที่จำเป็นและเป็นที่มีความมั่นใจแล้ว เพราะตามวิถีประชาแล้ว การตักลีดจะมีขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้นๆไม่มีความรู้และมั่นใจ อีกกรณีหนึ่งที่ไม่อนุญาตให้ทำการตักลีด คือเรื่องความเชื่อที่บุคคลนั้นๆจำเป็นต้องได้รับความเชื่อมั่นในการศรัทธาด้วยตนเอง (เช่นเรื่องหลักศรัทธา)เป็นต้น เพราะการตักลีดในกรณีนี้ไม่สามารถนำมาซึ่งมีความมั่นใจได้ ทว่าผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องความเชื่อปลีกย่อยบางประการก็สามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้ด้วยการย้อนกลับไปหาผู้รู้ เช่น การย้อนกลับไปหา ศาสดาแห่งอิสลาม ในเรื่องการแต่งตั้งผู้นำภายหลังจากท่าน แต่กรณีนี้ไม่ถือว่าอยู่ในขอบข่ายรูปธรรมของการตักลีดในเชิงวิชาการ ชาวซุนนีก็ไม่อนุญาตให้ตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเช่นกัน  เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความคิดและการเข้าถึงยังความมั่นใจ และการตักลีดในเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ โองการที่ 22 ซูเราะฮ์ซุครุฟ ได้ตำหนิการปฏิบัติตามบรรพชนอย่างไม่มีเหตุผลเอาไว้ ท่าน ศาสดาแห่งอิสลาม ยังได้อธิบายโองการดังกล่าวไว้ถึงการรู้จัก(มะอ์รีฟัต)ต่อพระผู้เป็นเจ้า การอนุญาตให้ตักลีดในเรื่องความเชื่อนั้นเป็นเพียงเรื่องผิวเผินเท่านั้น

อีกกรณีหนึ่งที่ห้ามทำการตักลีด ซึ่งมีระบุไว้ในแหล่งอ้างอิงด้านฟิกฮ์ของชีอะฮ์ ได้แก่  เรื่องอุซูลุลฟิกฮ์   เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของการวินิจฉัย อาทิ ศาสตร์ด้านไวยากรณ์ (ซอรอฟและนะห์วุ)  การทำความเข้าใจความหมายเนื้อหาหลักปฏิบัติศาสนกิจ(อะห์กามชัรอี) ที่วิถีประชาและพจนานุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างไปจากเรื่องต่างๆที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ (อาทิ นมาซและการถือศีลอด เป็นต้น) และไม่อนุญาตให้ทำการตักลีดในการปฏิบัติศาสนกิจที่ไม่เป็นข้อบังคับ ได้แก่ การปฏิบัติที่เป็นจิตอาสา (มุสตะฮับ) และการปฏิบัติที่น่ารังเกียจ โดยให้ปฏิบัติด้วยความมุ่งหวังรางวัลตอบแทนจากพระเจ้า  เกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงด้านฟิกฮ์ทั้งสามกรณีข้างต้นนั้นก็มีการยกเอาวิถีประชาเข้ามาประมวลอยู่ในเหตุผลที่ว่าด้วยการอนุญาตให้ตักลีดด้วยเช่นกัน

นิกายต่างๆในอิสลามต่างก็ถือว่าการตักลีดของมุจตะฮิดเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ส่วนผู้ที่ไม่เป็นมุจตะฮิดหรือผู้ที่มีความรู้ไม่ครอบคลุมในบางเนื้อหานั้นจำเป็นต้องทำการตักลีด

การตักลัดในนิกายชีอะฮ์[แก้]

การตักลีด ในนิกายชีิอะฮ์ เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยบรรดาอิมาม  โดยพวกท่านอนุญาตให้บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามท่านย้อนกลับไปหานักรายงานฮะดีษ หรือบรรดาสาวกผู้ใกล้ชิดของท่าน  หรือบางครั้งท่านก็รับสั่งและส่งเสริมให้บรรดาสาวกของท่านออกพบปะผู้คนตามมัสญิดและแหล่งศูนย์กลางต่างๆเพื่อออกคำวินิจฉัยและชี้นำผู้คน  การตักลีดเกิดขึ้นในยุคสมัยบรรดาอิมามด้วยการส่งเสริมของพวกท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลแต่ละเมือง ผู้คนไม่มีสวัสดีการที่จำเป็นต้องใช้ในการเดินทาง กล่าวคือเป็นการยากลำบากที่ผู้คนจะเข้าพบอิมามของพวกเขา จนเป็นเหตุให้ผู้คนต้องปฏิบัติอำพราง (ตะกียะฮ์)ในบางกรณี สรุปแล้วคือเป็นการยากลำบากที่ผู้คนจะเข้าพบบรรดาอิมามของพวกเขาโดยตรง การตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจยิ่งทวีความต้องการและจำเป็นมากขึ้นในยุคการ เร้นกายระยะสั้น  ตามบทบันทึก(เตาเกี้ยะอ์)ของอิมามท่านสุดท้ายของชาวชีอะฮ์(อิมามท่านที่ 12 ของชาวชีอะฮ์)  ได้แนะนำเญี้ยะอ์ที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจในเนื้อหาใหม่ๆว่าเป็นฟะกีฮ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและผู้คนต้องตักลีดตามพวกเขา

ในยุคการเร้นกายระยะยาว เรื่องการตักลีดก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกนำเสนออยู่ในหมู่ชีอะฮ์ และในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมาน้อยมากที่จะเห็นความสงสัยถึงความจำเป็นของการตักลีด แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องเงื่อนไขอยู่บ้างระหว่างสำนักอุซูลีและสำนักอัคบารี ก็ตาม

มันดูเหมือนว่าการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอิจติฮาดและตักลีดนั้นจะย้อนกลับไปในยุคของการประพันธ์ศาสตร์ด้านอุซุลุลฟิกฮ์ เรื่องนี้ได้ผ่านตรวจสอบแล้วในตำราต่างๆด้านอุซูลของชีอะฮ์ นับตั้งแต่ยุคการเขียนตำรา อัซซะรีอะฮ์ อิลาอุซูลิชชะรีอะฮ์ ( เขียนโดย ซัยยิดมุรตะฎอ อะละมุลฮุดา เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 436) จนถึงยุคปัจจุบันนี้  และในตำรา ฟิกฮ์อิสติดลาลก็กล่าวถึงเรื่องของการตักลีดอยู่บ้าง ภายใต้หัวข้อวิเคราะห์เงื่อนไขและคุณสมบัติครบถ้วนของฟะกีฮ์ นับตั้งแต่ทศวรรษที่สิบเป็นต้นมา ตำราต่างๆในหัวข้อ อัลอิจติฮาดวัตตักลีด หรือหัวข้ออื่นๆ ก็ถูกเขียนขึ้นเป็นเอกเทศ และภายหลังจาก เชคอันซอรี  ก็เริ่มมีการเขียนตำราที่เกี่ยวกับมาตราการปฏิบัติศาสนกิจขึ้นอย่างแพร่หลาย เรื่องการอิจติฮาดและตักลีดถูกกล่าวไว้ในบทเกริ่นนำของตำราด้านฟิกฮ์มาตั้งแต่ยุคที่ได้เขียนหนังสือ อัลอุรวะตุลวุษกอ โดยซัยยิดมุฮัมหมัดกาซิม ฏอบาฏอบาอี ยัซดี (เสียชีวิตวิต ฮ.ศ. 1337) 

เหตุผลในการอนุญาตและจำเป็นต้องตักลีดในมุมมองของชีอะฮ์[แก้]

ทัศนะอันเป็นที่รู้กันในฟุกอฮาของชีอะฮ์ คือ ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ (มุกัลลัฟ) จำเป็นต้องเป็นหนึ่งในประการนี้ ได้แก่ อิจติฮาด เอี้ยะห์ติยาฏ และตักลีด แต่มีทัศนะที่แตกต่างกันในประเภทของความจำเป็น บ้างก็ถือว่าความจำเป็นนี้เป็นความจำเป็นในหลักศาสนา  ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผลที่ว่า การศึกษาหลักปฏิบัติศาสนกิจนั้นถือเป็นความจำเป็นตามหลักการศาสนา หรือเหตุผลที่ว่าการตักลีดเป็นปฐมบทสู่การปฏิบัติศาสนกิจ ซึ่งก็เท่ากับว่าอยู่ในฐานะ "ปฐมบทที่มีความจำเป็น" และบ้างก็เชื่อว่าความจำเป็นนี้คือความจำเป็นด้านสติปัญญา เพราะปัญญาสามารถรับรู้ได้ว่า การทำสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และละทิ้งสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญ่ิบ) นั้นย่อมได้รับการลงโทษ ดังนั้นจำเป็นต้องมีเหตุผลอ้างอิงและหลักฐานยืนยันที่จะทำให้เขารอดพ้นจากการลงโทษ หลักฐานยืนยันนี้จะได้รับมาจากหนทางทั้งสามข้างต้น ( อิจติฮาด  เอี้ยะห์ติยาฏ และตักลีด) บนพื้นฐานดังกล่าว การตักลีด คือหนึ่งในสองหนทางเลือกที่มีความจำเป็น (วะญูบตัคยีรี) และผู้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถที่จะเรียนรู้หลักปฏิบัติศาสนกิจของตนได้จากหนทางของการตักลีด ด้วยเหตุนี้ หากหนทางของการอิจติฮาด เป็นไปไม่ได้สำหรับเขา ดังนั้นการตักลีดจึงเป็นหนทางบังคับที่ถูกระบุไว้สำหรับเขา(วาญิบตะอ์ยีนี) จากการอธิบายอย่างชัดเจนของฟุกอฮาว่า กฎเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องการตักลีด นั้นไม่อาจตักลีดได้ ทว่าผู้ที่ทำการตักลีดต้องตักลีดด้วยความมั่นใจของตนเองโดยอ้างอิงจากการตัดสินชี้ขาดของปัญญา เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดการวนเป็นห่วงโซ่อันเป็นโมฆะขึ้น แม้ว่าสามารถตักลีดได้ในรายละเอียดของการปฏิบัติศาสนกิจก็ตามที ซัยยิด มุฮัมหมัด ญะวาด ฆอรอวี เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า ผู้ปฏิบัติศาสนกิจเองก็ต้องมีความรู้ในการทำความรู้จักกับหลักปฏิบัติศาสนกิจแห่งพระผู้เป็นเจ้าด้วย ด้วยเหตุนี้การปฏิบัติตาม ฟะกีฮ์ท่านหนึ่งจึงไม่อาจปัดหน้าที่ความรับผิดชอบจากเขา  และจำเป็นต้องปฏิบัติตามฟะกีฮ์ที่อธิบายมาตราหนึ่งมาตราใดของหลักปฏิบัติศาสนกิจตามหลักฐานอ้างอิงจากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าและซุนนะฮ์ที่แน่นอน ด้วยการตัดสินชี้ขาดของปัญญา  ดังนั้นผู้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถปฏิบัติศาสนกิจในแต่ละบทบัญญัติตามมุจตะฮิด ท่านหนึ่งได้อย่างอิสระ ไม่ใช่ว่าตักลีดตาฟะกีฮ์ ในทุกเรื่อง โดยไม่อนุญาตให้ตักลีดในเรื่องที่ได้รับการยืนยันตามหลักศาสนาแล้ว และฟะกีฮ์ ต้องเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่[6]

เหตุผลทั้งสี่ของการอนุญาตและจำเป็นต้องตักลีด[แก้]

เหตุผลทั้งสี่ด้านฟิกฮ์ที่อนุญาตและจำเป็นต้องตักลีด ได้แก่ สติปัญญา วะห์ยู ฮะดีษ และอิจมาอ์

เหตุผลทางด้านสติปัญญา[แก้]

สำหรับความจำเป็นหรือการอนุญาตให้ทำการตักลีดนั้น มีการนำเสนอเหตุผลเอาไว้มากมาย เช่น การอนุญาตให้ทำการตักลีดนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนเข้าใจและเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องยกเหตุผลอะไรมาอ้างอิง  เพราะโดยธรรมชาติแล้วผู้ที่ไม่รู้ต้องย้อนกลับหาผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆเพื่อขจัดความรู้ของตนให้หมดไป อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ วิถีประชาต่างก็ยอมรับกันบนพื้นฐานของปัญญาว่าต้องย้อนหาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและพระเจ้าก็ไม่ได้ห้ามวิถีนี้ไว้แต่ประการใด อีกทั้งยังสนับสนุนและรับรองไว้อีกด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วพระองค์ย่อมนำสเนอและมีบัญชาใหม่ๆมาเพื่อให้รู้จักการปฏิบัติศาสนกิจและการภักดีต่อพระองค์

เหตุผลทางด้านวะห์ยู[แก้]

อีกเหตุผลหนึ่งที่อนุญาตให้ทำการตักลีด ก็คือโองการต่างๆ อาทิ โองการที่ 7ซูเราะฮ์อันบิยา  ที่ถือว่าจำเป็นสำหรับผู้ไม่รู้ต้องถามผู้รู้ (อะฮ์ลุซซิกร์) แต่ก็กล่าวกันว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องของหลักศรัทธาที่ไม่อนุญาตให้ทำการตักลีด และบ้างก็ถือว่าโองการที่ 122 ซูเราะฮ์เตาบะฮ์ ที่กล่าวถึงความจำเป็นในการเดินทางเพื่อนคิดใคร่ครวญในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาว่าเป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการอนุญาตให้ทำการตักลีดตามฟุกอฮา

กุรอานกล่าวถึงการตักลีดไว้สองลักษณะ คือ การตักลีดอันเป็นที่ยอมรับ และการตักลีดอันไม่เป็นที่ยอมรับ[7]

โองการต่างๆ ไม่ยอมรับและตำหนิการตักลีดตามบรรดาผู้นำที่ตั้งภาคี การตักลีดตามบรรดาผู้อหังการ การตักลีดตามคนดีอย่างมีทิฐิและเบาปัญญา และตามหลักการศาสนาแล้วถือว่าการตักลีดอย่างหลับหูหลับตานั้นเป็นเรื่องโง่เขลาและขัดแย้งกับปัญญา อีกทั้งยังได้ตำหนิการตักลีดอย่างคนตาบอดและตามอย่างไร้เหตุผลในเรื่องศาสนาของชาวยิว ไว้ในโองการที่ 31 ซูเราะฮ์เตาบะฮ์อีกด้วย[8]

การตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา(อุซูลุดดีน) และ ความเชื่อ นั้นเป็นที่น่าตำหนิและไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ก็มีหลายโองการที่สนับสนุนและย้ำถึงการตักลีดในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ(ฟุรูอุดดีน) และ บัญญัติศาสนกิจ (อะห์กาม) [9] นักวิชาการด้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานและด้านฟิกฮ์เข้าใจถึงความจำเป็นในการตักลีดตามบรรดาฟะกีฮ์และบรรดาผู้รู้จากโองการที่ 122 ซูเราะฮ์เตาบะฮ์ ว่า: บรรดาผู้รู้กลุ่มหนึ่งของอิสลามได้ใช้โองการข้างต้นนี้เป็นเหตุผลในการอนุญาตให้ทำการตักลีด โดยได้ยกเป็นเหตุผลว่า การศึกษาสาระธรรมของอิสลามแล้วส่งสาระธรรมเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจแก่ผู้อื่น และการที่ผู้รับสาส์นต้องปฏิบัติตามพวกเขา นั่นก็คือ การตักลีด นั่นเอง[10]  นักอรรถาธิบายอัลกุรอานและบรรดาฟะกีฮ์บางคนก็เข้าใจจากโองการที่ 43 ซูเราะฮ์นะห์ล และ โองการที่ 7 ซูเราะฮ์อันบิยา ถึงความจำเป็นในการตักลีดและการย้อนกลับไปหาบรรดาผู้รู้และบรรดามุจตะฮิดสำหรับผู้ที่ "ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักปฏิบัติศาสนกิจ" ว่า : นักวิชาการบางท่านได้ยกเอาโองการข้างต้นเป็นเหตุผลในการอนุญาตให้ผู้คนทั่วไปและผู้ที่ไม่ใช่มุจตะฮิดตักลีดและย้อนกลับไปหามุจตะฮิดในเรื่องรายละเอียดของการปฏิบัติศาสนกิจ[11] อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี ก็เชื่อเช่นกันว่า โองการข้างต้น เป็นโองการชี้นำสู่หลักสากลและกินกับสติปัญญา นั่นก็คือ การที่ผู้ไม่รู้ต้องย้อนกลับไปหาผู้รู้และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ[12]

แน่นอน, ความเข้าใจจากโองการอัลกุรอานที่บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานและบรรดาฟุกอฮาได้รับมาเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นเป็นการคำนึงถึงความหมาย (มัฟฮูม) ของโองการต่างๆ เพราะการตักลีดตามคนที่โง่เขลาและยังไม่รับทางนำนั้นเป็นที่น่าตำหนิ และความหมายก็คืออนุญาตให้ตักลีดตามผู้รู้ที่มีปัญญาและได้รับทางนำแล้วนั่นเอง[13]

เหตุผลทางด้านฮะดีษ[แก้]

ฮะดีษต่างๆ ที่บรรดาฟุกอฮาใช้ยกเป็นหลักอ้างอิงถึงการอนุญาตให้ทำการตักลีด มีหลายกลุ่มฮะดีษ ด้ังนี้

1) ฮะดีษ ที่มีคำว่า ตักลีด และคำที่แตกออกมาจากมัน 

2) ฮะดีษต่างๆ ที่บรรดาอิมามรับสั่งให้ชาวชีอะฮ์ย้อนกลับไปหานักรายงานฮะดีษ เช่น หนังสือบันทึก (เตาเกี้ยะอ์) ของอิมามท่านที่สิบสอง

3) ฮะดีษต่างๆ ที่บรรดาอิมามรับสั่งให้ชาวชีอะฮ์ย้อนกลับไปหาบุคคลที่ท่านได้ระบุชื่อไว้

4) ฮะดีษต่างๆ ที่บรรดาอิมามสนับสนุนและส่งเสริมให้บรรดาสาวกของท่านออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) แก่ประชาชน

5) ฮะดีษต่างๆ ที่ห้ามการออกคำวินิจฉัยโดยปราศจากความรู้ หรือออกคำวินิจฉัยที่วางอยู่วิธีการต่างๆ ดังเช่น ทัศนะตามอำเภอใจและการอนุมาน เป็นต้น ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าอนุญาตให้ออกคำวินิจฉัยที่วางอยู่พื้นฐานของเหตุผลที่น่าเชื่อถือตามหลักศาสนา

6) ฮะดีษต่างๆ ที่รับรองการนิ่งเงียบของบรรดาอิมาม บนบรรทัดฐานของการอนุญาตให้ตักลีดตามบุคคลที่ออกคำวินิจฉัยสอดคล้องตามกฎเกณฑ์ต่างๆของศาสนาบัญญัติ

เหตุผลทางด้านอิจมาอ์[แก้]

อีกเหตุผลหนึ่งที่บ่งบอกถึงการอนุญาตให้ทำการตักลีด คือ การเห็นพ้องต้องกันอย่างเป็นมติเอกฉันท์ของบรรดาฟุกอฮาในการอนุญาตให้สอบถามและขอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ

อิจมาอ์ ตามความหมายพจนานุกรม หมายถึง ความมุ่งมั่นและความเห็นเป็นมติเอกฉันท์ ส่วนความหมายเชิงวิชาการด้านอิลมุลอุซูล หมายถึง มติเอกฉันท์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แม้ว่าอิจมาอ์จะเป็นหนึ่งในเหตุผลทั้งสี่ข้างต้น แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเหตุผลที่เป็นเอกเทศน์เสียเลยทีเดียว คำกล่าวของบรรดามะอ์ซูมนั้นเป็นพยานยืนยัน(ฮุจญัต) ได้ แต่อิจมาอ์สามารถเป็นพยานยืนยันได้ก็ต่อเมื่อพบความมั่นใจว่ามาจากคำกล่าวของบรรดามะอ์ซูม (อ.) ฟุกอฮาบางท่านจึงให้นิยามอิจมาอ์ว่า คือมติเอกฉันท์ของบรรดาฟะกีฮ์กลุ่มหนึ่งที่ควบคู่ไปกับบรรดามะอ์ซูม (อ.)   ประเภทของอิจมาอ์

1. อิจมาอ์มัดรอกี หมายถึง อิจมาอ์ ที่อาจเป็นไปได้มีที่มาจากหลักฐานและเหตุผลหนึ่ง เช่น การอิจมาอ์ของฟุกอฮารุ่นก่อนเกี่ยวกับการเป็นมุตะนัจญิสของน้ำบ่อที่เป็นนะญิส ซึ่งมีรายงานต่างๆจำนวนมาก แต่ฟุกอฮารุ่นหลังมีมติเห็นต่างเนื่องจากไม่มีความมั่นใจในสายรายงานที่ได้รับ หรือเรียกอิจมาอ์ประเภทนี้ว่า อิจมาอ์มุสตะนัด


2. อิจมาอ์มุฮัศซอล หมายถึง อิจมาอ์ที่ฟะกีฮ์ได้รับความมั่นใจถึงบทบัญญัตินั้นๆ

3. อิจมาอ์มันกูล หมายถึง อิจมาอ์ที่ฟะกีฮ์มั่นใจตามการรายงาน ซึ่งรายงานที่ได้รับมาอาจจะมีสื่อกลางหรือไม่มีสื่อกลางก็ได้ และหากอิจมาอ์ถึงขั้นตะวาติร ก็จะเรียกอิจมาอ์นั้นว่า อิจมาอ์มุตะวาติร


4. อิจมาอ์มุร็อกกับ หมายถึง อิจมาอ์ของฟุกอฮาในการปฏิเสธคำกล่าวที่สาม ผนวกกับมีการขัดแย้งกันอยู่แล้วในนั้น


5. อิจมาอ์บะซีฏ หมายถึงอิจมาอ์ของฟุกอฮาในคำวินิจฉัยหนึ่ง เช่น การเป็นนะญิสของมูลสัตว์ที่เนื้อของมันฮะรอม เป็นต้น 

ศัพท์สำคัญทางวิชาการของการตักลีด[แก้]

  • อุดูล: การเปลี่ยนมัรเญี้ยะอ์จากท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่ง อนุญาตให้เปลี่ยนมัรเญี้ยะอ์ตักลีกได้ในกรณีที่มัรเญี้ยะอ์ท่านที่สองมีความรู้มากกว่า
  • ตับอีฎ: การย้อนหามัรเญี้ยะอ์ท่านอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวกับบางกรณีของฟิกฮ์ (เช่น เรื่องเงินคุมส์หรือเรื่องมรดก เป็นต้น)  มัรเญี้ยะอ์ส่วนใหญ่ถือว่าอนุญาตให้ย้อนการมุจตะฮิดที่อยู่ในระดับเดียวกันได้
  • รุญูอ์: การย้อนหาคำวินิจฉัยจากมัรเญี้ยะอ์ท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่งที่มีความรู้ในระดับเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถือว่าอนุญาต
  • การตักลีดมัรเญี้ยะอ์ที่เสียชีวิตแล้ว: การยึดปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมัรเญียะอ์ที่เสียชีวิตแล้วกระทำได้ด้วยการขออนุญาตจากมัรเญี้ยะอ์ที่มีชีวิตอยู่[14]

การตักลีดตามคำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี[แก้]

  • ความเชื่อของบรรดามุสลิมเกี่ยวกับหลักศรัทธานั้นต้องได้มาจากเหตุผล แต่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วนั้นจำเป็นที่เขาจะต้องเป็นมุจตะฮิดที่สามารถได้รับบทบัญญัติศาสนกิจด้วยเหตุผล หรือไม่ก็เขาต้องตักลีดตามมุจตะฮิด กล่าวคือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของเขา หรืออีกหนทางหนึ่งก็คือ การปฏิบัติศาสนกิจในลักษณะที่เผื่อ (เอี้ยะห์ติยาฏ) เอาไว้ เพื่อให้ได้รับความมั่นใจว่าได้ปฏิบัติศาสนกิจของตนแล้ว เช่น หากมุจตะฮิดกลุ่มหนึ่งถือว่าการกระทำหนึ่งเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ส่วนอีกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ไม่เป็นที่ต้องห้าม ก็ให้เขาเลือกที่จะไม่ทำสิ่งนั้น และหากกลุ่มหนึ่งบอกว่าการกระทำหนึ่งเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอก ว่าเป็นการกระทำที่พึงกระทำ (มุสตะฮับ)  ก็ให้เขาเลือกที่จะกระทำสิ่งนั้น ดังนั้นหากผู้ที่ไม่ใช่มุจตะฮิดและไม่สามารถที่จะทำการเอี้ยะห์ติยาฏได้ ก็เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ให้เขาต้องตักลีดตามมุจตะฮิด                                                                    มาตราที่ 1 คำวินิจจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี
  • การตักลีดในเรื่องบัญญัติศาสนกิจนั้นก็คือการปฏิบัติตามคำสั่งของมุจตะฮิด และต้องตักลีดตามมุจตะฮิดที่เป็น ผู้ชาย บรรลุวัยนิติภาวะ มีสติปัญญาครบสมบูรณ์  เป็นชีอะฮ์ 12 อิมาม  มีการเกิดที่ถูกต้องตามหลักศาสนา เป็นผู้มีความยุติธรรม และเป็นเอี้ยะห์ติยาฏวาญิบ ให้ตักลีดตามมุจตะฮิดที่ไม่หลงทางโลก และเป็นผู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจตะฮิดท่านอื่น กล่าวคือ เป็นผู้ที่ความรู้ความเข้าใจในบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าได้มากกว่ามุจตะฮิดท่านอื่นๆในยุคของตน                                                                                                              

มาตราที่ 2 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • สามารถรู้จักมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่าได้จากสามหนทาง ดังนี้ 1. มั่นใจด้วยตัวเขาเอง เช่น เขาเองก็เป็นหนึ่งในนักวิชาการซึ่งสามารถรู้จักมุจตะฮิดที่มีความรู้มากว่าได้  2. มีผู้รู้ที่ยุติธรรมสองคนที่สามารถระบุและยืนยันการเป็นมุจตะฮิดหรือการมีความรู้มากกว่าได้ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้รู้ที่ยุติธรรมท่านอื่นอีกสองท่านต้องไม่กล่าวขัดแย้งกับสองท่านนี้ 3. นักวิชาการกลุ่มหนึ่งระบุและยืนยันถึงการเป็นมุจตะฮิดและการมีความรู้มากกว่า โดยสามารถได้รับความเชื่อมั่นได้จากคำกล่าวของพวกท่าน                                                                     

มาตราที่ 3 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • หากการรู้จักมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ก็เป็นเอี้ยะห์ติยาฏวาญิบให้ตักลีดตามผู้ที่คาดคะเนได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้มากกว่า ทว่าหากเป็นการคาดคะเนที่อ่อนว่าเป็นผู้ที่มีความรู้มากกว่า และรู้ว่าไม่มีใครมีความรู้มากไปกว่าเขาแล้ว ดังนั้นเป็นเอี้ยะห์ติยาฏวาญิบให้ตักลีดตามมุจตะฮิดท่านนั้น และหากในทัศนะของเขามีผู้ที่มีความรู้หลายคนหรือมีความรู้ในระดับเดียวกัน ก็ให้เขาเลือกตักลีดตามคนใดคนหนึ่ง                                                       

มาตราที่ 4 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • การได้รับคำวินิจฉัย หมายถึง คำสั่งของมุจตะฮิดนั้นมีสี่หนทางด้วยกัน ได้แก่ 1. ได้รับฟังจากมุจตะฮิดด้วยตนเอง 2. ได้รับฟังจากผู้ที่มีความยุติธรรมสองคนที่รายงานถึงคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด 3. ได้รับฟังจากผู้ที่ได้รับความไว้วางใจและน่าเชื่อถือ 4. เห็นคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด โดยนำมาซึ่งความเชื่อมั่นอย่างถูกต้อง                                                             

มาตราที่ 5 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • ตราบเท่าที่ยังไม่มั่นใจถึงการเปลี่ยนคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด ก็ให้ปฏิบัติไปตามคำวินิจฉัยที่มีอยู่เดิม และก็ไม่จำเป็นต้องเสาะหาแม้คาดคะเนว่าคำวินิจฉัยของเขาเปลี่ยนไปแล้ว0
มาตราที่ 6 คำวินิจจฉัยของอายาตุลลอฮ์โคมัยนี
  • หากมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่าได้ออกคำวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติตาม (มุก็อลลิด)ท่าน ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดท่านอื่น  แต่หากยังไม่ได้ออกคำวินิจฉัยไว้และกล่าวเพียงว่าเอี้ยะห์ติยาฏให้ปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น กล่าวว่า เอี้ยะห์ติยาฏให้กล่าวตัสเบียะห์ กล่าวคือ ซุบฮานั้ลลอฮ์ วัลฮัมดุลิลลาฮ์ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วัลลอฮุอักบัร สามครั้งในรอกะอัตที่สามและรอกะอัตที่สี่  ก็จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติตามต้องปฏิบัติเอี้ยะห์ติยาฏตามนี้ซึ่งเรียกว่า เอี้ยะห์ติยาฏวาญิบ โดยกล่าวสามครั้ง หรือให้ปฏิบัติคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดที่มีความรู้รองลงมาจากมุจตะฮิดที่เขาตักลีดอยู่ แต่มีความรู้มากกว่ามุจตะฮิดท่านอื่นๆ ดังนั้นหากถือเอาการกล่าวตัสบีห์เพียงครั้งเดียวก็เป็นที่เพียงพอ ก็ให้เขากล่าวเพียงครั้งเดียวได้ และเช่นกันหากมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่ากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องยังต้องไตร่ตรองหรือยังเป็นกรณีที่มีปัญหาอยู่                                                                         มาตราที่ 7 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี
  • หากมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่าได้กล่าวเอี้ยะห์ติยาฏหลังจากที่ได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว เช่น กล่าวว่าภาชนะที่เป็นนะญิสจะสะอาดได้โดยการล้างด้วยน้ำกุรเพียงหนึ่งครั้ง แม้ว่าเอี้ยะห์ติยาฏให้ล้างสามครั้งก็ตาม ดังนั้นผู้ปฏิบัติตาม (มุก็อลลิด) ไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้จากมุจตะฮิดท่านอื่นได้ ทว่าจำเป็นที่เขาจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้นหรือเอี้ยะห์ติยาฏหลังจากคำวินิจฉัยซึ่งเรียกกันว่า เอี้ยะห์ติยาฏมุสตะฮับ นอกจากว่าคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดท่านนั้นจะใกล้เคียงกับการเอี้ยะห์ติยาฏมากกว่า                                   
มาตราที่ 8 คำวินิจฉัยของท่านอายุตุลลอฮ์โคมัยนี
  • ไม่อนุญาตให้เริ่มต้นตักลีดตามมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ไม่ถือเป็นปัญหาประการใดในการยังคงการตักลีดตามมุจตะฮิดของตนที่เสียชีวิตไปแล้ว และจำเป็นต้องคงการตักลีดนี้ไว้ตามมุจตะฮิดที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  และสำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยในบางเรื่องของมุจตะฮิดท่านหนึ่ง หลังจากที่มุจตะฮิดท่านนั้นได้เสียชีวิตลง ก็สามารถที่จะตักลีดตามเขาในเรื่องต่างๆทั้งหมดได้                                                                                   

มาตราที่ 9 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • หากเคยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดในเรื่องหนึ่ง หลังจากการเสียชีวิตของมุจตะฮิดท่านนี้ เขาก็ได้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยในเรื่องนั้นจากคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นเขาไม่อาจที่จะย้อนกลับไปปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดที่เสียชีวิตได้อีกต่อไป  ทว่าหากมุจตะฮิดที่ีมีชีวิตอยู่ไม่ได้ออกคำวินิจฉัยใดนอกจากกล่าวเพียงเอี้ยะห์ติยาฏไว้ และมุก็อลลิดก็ปฏิบัติตามเอี้ยะห์ติยาฏนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้นเขาก็สามารถที่จะย้อนกลับไปปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดที่เสียชีวิตแล้วได้อีกครั้ง เช่น หากมุจตะฮิดท่านหนึ่งกล่าวว่า เพียงพอสำหรับการกล่าว  ซุบฮานั้ลลอฮ์ วัลฮัมดุลิลลาฮ์ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วัลลอฮุอักบัร เพียงหนึ่งครั้งในรอกะอัตที่สามและรอกะอัตที่สี่    แล้วมุก็อลลิดก็ปฏิบ้ติตามคำสั่งนี้มาระยะหนึ่ง ครั้นเมื่อมุจตะฮิดท่านนี้เสียชีวิตลง และมุจตะฮิดที่มีชีวิตอยู่ได้ถือเอาการกล่าวสามครั้งเป็นเอี้ยะห์ติยาฏวาญิบ และมุก็อลลิดก็ปฏิบัติตามเอี้ยะห์ติยาฏนี้มาระยะหนึ่ง ดังนั้นเขาสามารถที่จะย้อนกลับไปปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้วได้อีกครั้ง โดยกล่าวตัสเบี้ยะห์เพียงหนึ่งครั้ง                                                                                       

มาตราที่ 10 คำวินิจฉัยของท่านอายตุลลอฮ์โคมัยนี

  • เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ในเรื่องอันเป็นที่จำเป็นและต้องการของคนส่วนใหญ่                                                                                                               

มาตราที่ 11 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • หากมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นกับผู้หนึ่งที่เขาไม่รู้บัญญัติของเรื่องนั้น  ก็ให้เขาอดทนรอคำวินิจฉัยจากมุจตะฮิดที่มีความรู้มากกว่า หากเขาสามารถปฏิบัติเอี้ยะห์ติยาฏได้ ก็ให้ปฏิบัติตามหลักเอี้ยะห์ติยาฏ หากไม่สามารถทำการเอี้ยะห์ติยาฏได้ และการกระทำดังกล่าวก็ไม่เป็นที่ผิดพลาดอะไรก็ให้ปฏิบัติไปตามนั้น แต่หากรู้ภายหลังว่าผิดพลาดและไม่ตรงตามบัญญัติหรือคำวินิจฉัยที่แท้จริงของมุจตะฮิด ก็ให้เขาปฏิบัติสิ่งนั้นเสียใหม่                       

มาตราที่ 12 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

  • หากผู้ใดได้แจ้งคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดท่านหนึ่งแก่ผู้อื่น โดยที่มุจตะฮิดท่านนั้นได้เปลี่ยนคำวินิจฉัยแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งแก่เขาว่าคำวินิจฉัยเปลี่ยนไปแล้ว แต่หากเข้าใจคำวินิจฉัยผิดพลาดหลังจากที่ได้บอกคำวินิจฉัยไปแล้ว หากเป็นไปได้ ก็จำเป็นที่เขาต้องแก้ไขความผิดพลาด                    มาตราที่ 13 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี
  • หากผู้ปฏิบัติศาสนกิจได้ปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ โดยปราศจากการตักลีดในระยะหนึ่ง การปฏิบัติศาสนกิจของเขาจะถูกต้องได้ก็ต่อเมื่อ เขาต้องเข้าใจว่าได้ปฏิบัติศาสนกิจตรงตามความเป็นจริง  หรือการปฏิบ้ติของเขาตรงกับคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดท่านใดท่านหนึ่งอันเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องตักลีดนั้น หรือตรงตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดท่านปัจจุบันที่จำเป็นต้องตักลีด     

มาตราที่ 14 คำวินิจฉัยของท่านอายาตุลลอฮ์โคมัยนี

การตักลีดในนิกายของชาวซุนนี[แก้]

เรื่องการตักลีดในหมู่ซุนนีมีความปรวนแปรเป็นอย่างมาก นักเขียนบางท่านได้แบ่งฟิกฮ์ของชาวซุนนีไว้ 4 ยุค ดังนี้:

1) ยุคแรก: อยูในสมัยบรรดาคอลีฟะฮ์และบรรดาสาวกที่ผู้คนย้อนกลับไปหาพวกเขาเพื่อรู้ถึงบทบัญญัติศาสนา ในสมัยนี้ไม่มีมัซฮับใดเป็นที่แพร่หลายในหมู่ซุนนี ทว่าในกรณีที่พวกเขามีมติเป็นเอกฉันท์กันก็จะปฏิบัติตามริวายะฮ์ที่รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ส่วนกรณีที่มีความเห็นขัดแย้งกันนั้นก็ย้อนกลับหาสาวกที่ตนต้องการ โดยไม่มีการยึดแนวทางและบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

2) ยุคเกิดมัซฮับด้านฟิกฮ์: เนื่องจากมีจำนวนนักรายงานฮะดีษ นักวิชาการที่โดดเด่นเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ผู้คนจึงย้อนกลับไปหาผู้คนหลากหลายเพื่อเรียนรู้บทบัญญัติ  บุคคลเหล่านี้ก็กลายเป็นผู้มีฐานะภาพในการย้อนกลับทางด้านศาสนาของผู้คน และแต่ละคนได้สถาปนามัซฮับฟิกฮ์ขึ้น

3) ยุคสังกัดมัซฮับด้านฟิกฮ์ทั้งสี่: เนื่องจากเกิดความขัดแย้งต่างๆขึ้นในมัซฮับต่างๆด้านฟิกฮ์ และความทิฐิของผู้ปฏิบัติตามในมัซฮับนั้นๆทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น ผนวกกับความอิจฉาริษยา ความเห็นแก่ตัว และขาดคุณธรรม จึงทำให้จิตวิญญาณแห่งการใช้สติปัญญาสูญสิ้นไป อีกด้านหนึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างมัซฮับต่างๆ ทำให้ในเชิงปฏิบัติไมอาจใช้กฎหมายใดกฎหมายหนึ่งตัดสินชี้ขาดการทะเลาะเบาะแว้งได้  บางครั้งมัซฮับหนึ่งถือว่าการอ่านแบบหนึ่งเป็นโมฆะ อีกมัซฮับหนึ่งถือว่าถูกต้อง หรือ มัซฮับหนึ่งถือว่าต้องโทษกับผู้ที่ทำการใดการหนึ่ง แต่อีกมัซฮับหนึ่งถือว่าไม่จำเป็นต้องโทษ ปัจจัยต่างๆ นีั้นับวันยิ่งก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางด้านมัซฮับทวีมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดปิดประตูการวินิจฉัย และจำกัดมัซฮับด้านฟิกฮ์ขึ้น ในที่สุด มัซฮับทั้งสี่ของชาวซุนนี ก็ถูกทำให้เป็นทางการขึ้นในศตวรรษที่ 7 โดยห้ามปฏิบ้ติตามมัซฮับอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้ มีฟะกีฮ์หลายท่าน เช่น อิบนุซอลาห์ ได้ออกคำวินิจฉัยห้ามตักลีดตามมัซฮับอื่นที่นอกเหนือไปจากมัซฮับทั้งสี่

4) ยุคที่การอิจติฮาดและการตักลีดแพร่หลายอีกครั้ง: อุละมารุ่นก่อนบางท่านของชาวซุนนี เช่น อะบุลฟัตห์ ชะฮ์ริสตานี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 548) อะบูอิสฮาก ชาฏิบี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 790)ได้คัดค้านการปิดประตูอิจติฮาดและเรียกร้องสู่การเปิดประตูนี้อีกครั้ง ในศตวรรษหลังนี้อุละมาชาวซุนนีจำนวนหนึ่งและบรรดานักวิชาการแห่งอัลอัซฮัร ได้ปฏิเสธการจำกัดการอิจติฮาดไว้เพียงมัซฮับทั้งสี่ โดยอ้างอิงการอิจมาอ์ของบรรดามุสลิมในยุคต้นของอิสลามที่อนุญาตให้ตักลีดตามสาวกแต่ละท่าน  จึงทำให้การอิจติฮาดทางด้านวิชาการเบ่งบานขึ้นอีกครั้ง บนพื้นฐานนี้ทำให้มุกัลลัฟซุนนีสามารถเลือกตักลีดตามมัซฮับฟิกฮ์ได้ตามต้องการ แม้กระทั่งอนุญาตให้เลือกตักลีดตามฟิกฮ์ที่นำมาปฏิบัติได้ง่ายที่สุดในระหว่างทัศนะต่างๆของมัซฮับทั้งสี่ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากฟุกอฮารุ่นก่อนของชาวซุนนี แม้ว่าบางท่าน เช่น อิบนุตัยมียะฮ์ (เสียชีวิตปีฮ.ศ. 728) จะเห็นต่างและขัดแย้งก็ตาม

การอนุญาตหรือการห้ามตักลีดในมุมมองของชาวซุนนี[แก้]

ในหมู่ชาวซุนนี มีสองทัศนะหลัก ๆ เกี่ยวกับการอนุญาตหรือการห้ามตักลีด โดยฟุกอฮารุ่นก่อนถือว่าการต้กลีดนั้นเป็นที่ต้องห้าม บรรดาอิมามทั้งสี่ (อะบูฮะนีฟะฮ์ มาลิกบิน อะนัส ชาฟิอี และอะห์มัด บิน ฮัมบัล)  ได้บันทึกเกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้ตักลีดเอาไว้ อีกด้านหนึ่งบรรดาฟะกีฮ์รุ่นก่อนของชาวซุนนีเช่นกัน เช่น  ฟะกีฮ์ที่ยิ่งใหญ่ของฮะนะฟี ท่านมุฮัมหมัด บิน ฮะซัน ชัยบานี ได้บันทึกเกี่ยวกับการอนุญาตให้ตักลีดไว้  ชาฟิอีก็เช่นกันที่บางกรณีได้ให้ทัศนะของตนเห็นตามซะฮาบะฮ์หรือตาบิอี นอกจากนั้นหนังสือของชาฟิอีและบรรดาฟุกอฮา เช่น อิบนุซัรรอจ อะห์มัด บิน ฮัมบัล และซุฟยาน เษารี ได้บันทึกการอนุญาตให้ผู้รู้ตักลีดตามผู้รู้ไว้ และอิบนุ กอยยิม ญุวัยซียะฮ์ ได้ชี้แจงความแตกต่างนี้ไว้ว่า อนุญาตให้ผู้รู้สามารถตักล่ีดได้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และไม่อนุญาตให้กรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ อิบนุฮัซม์ ก็ถือว่าการตักลีดเป็นเรื่องโมฆะ โดยเชิญชวนให้ผู้ที่ปฏิบัติตมตนและมัซฮับอื่นสู่การอิจติฮาด

ฟุกอฮารุ่นหลังของชาวซุนนี เชื่อในการอนุญาตให้ทำการตักลีดและเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคลทั่วไป (ที่ไม่ใช่ผู้รู้)  เพราะแต่ละคน เป็นผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติศาสนกิจ และหากไม่มีพยานยืนยัน (ฮุจญัต) ในการระบุและยืนยันหน้าที่ปฏิบัติศาสนกิจ ก็จะทำให้หลักการศาสนาสูญสิ้นไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • มัรญิอ์ตักลีด
  • สารบัญเกี่ยวกับมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์
==แหล่งอ้างอิง ==
  1. "نظرات کارشناسانه فقیه در موضوعات احکام". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ 2017-11-07.
  2. لسان‌العرب، ج ۱۱، ص ۲۷۶.
  3. کشّاف اصطلاحات الفنون و العلوم، ج ۱، ص ۵۰۰.
  4. عروةالوثقی، ج ۱، ص ۴.
  5. لسان‌العرب، ج ۱۱، ص ۲۷۶، «قلد»؛ زبدةالبیان، ص ۳۸۰.
  6. شرح رساله، حواشی آیت‌الله غروی بر رساله آیت‌الله بروجردی، نشر نگارش، ۱۳۸۲
  7. ترکیب مطالب این مقاله (تقسیم تقلید به پسندیده و ناپسند و بیان آیات آن) عمدتاً بر اساس دو کتاب زیر است:แม่แบบ:سخแม่แบบ:یادکرد کتابแม่แบบ:سخแม่แบบ:یادکرد کتاب
  8. تفسیر نمونه، ج ۷، ص ۳۶۵.
  9. شب خیز، محمدرضا، اصول فقه دانشگاهی، نشر لقاء، قم - ایران، اول، 1392 ه‍ ش.
  10. تفسیر نمونه، ج ۸، ص ۱۹۳.
  11. روح‌المعانی، ج ۸، جزء ۱۴، ص ۲۱۹
  12. المیزان، ج ۱۲، ص ۲۵۹.
  13. فرهنگ قرآن، ج ۸، ص ۳۴۰
  14. رساله دانشجویی، سید مجتبی حسینی، نشر معارف 1387 (صفحات 54-57)