มันเฟรท ร็อมเมิล
มันเฟรท ร็อมเมิล | |
---|---|
มันเฟรท ร็อมเมิล ในปี ค.ศ. 2004 | |
นายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ท | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1974 – ค.ศ. 1996 | |
ก่อนหน้า | อาร์นุล์ฟ เคล็ท |
ถัดไป | ว็อล์ฟกัง ชูสเทอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 ธันวาคม ค.ศ. 1928 ชตุทการ์ท สาธารณรัฐไวมาร์ |
เสียชีวิต | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ชตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี | (84 ปี)
พรรคการเมือง | พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน |
คู่สมรส | ลีเซอล็อทเทอ ไดเบอร์ (สมรส 1954–2013) |
บุตร | คาเทอรีเนอ |
อาชีพ | นักกฎหมาย |
มันเฟรท ร็อมเมิล (เยอรมัน: Manfred Rommel; 24 ธันวาคม ค.ศ. 1928 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันของพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ถึง 1996 นโยบายของร็อมเมิลได้รับการอธิบายว่าใจกว้างและเสรีนิยม และเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองในประเทศเยอรมนี เขาเป็นผู้รับเกียรติยศจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของจอมพลแอร์วีน ร็อมเมิล กับลูซีอา มารีอา ม็อลลิน ผู้เป็นมารดา (ค.ศ. 1894–1971) และมีส่วนทำให้เกิดการสถาปนาพิพิธภัณฑ์ในเกียรติยศของผู้เป็นบิดา เขาเป็นที่รู้จักสำหรับมิตรภาพของเขากับลูกของสองฝ่ายตรงข้ามหลักทางทหารของพ่อเขา หนึ่งในนั้นคือเดวิด มอนต์โกเมอรี[1]
ความเป็นมาและครอบครัว
[แก้]ร็อมเมิลเกิดในชตุทการ์ท และเข้ารับราชการเป็นลุฟท์วัฟเฟินเฮ็ลเฟอร์ (ผู้ช่วยกองทัพอากาศ) เมื่ออายุ 14 ปี โดยทำงานในกองปืนใหญ่ต้านอากาศยาน เขาพิจารณาที่จะเข้าร่วมวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส แต่พ่อของเขาคัดค้าน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เขาอยู่ที่บ้านพ่อแม่ของเขาเมื่อพ่อของเขาถูกนำตัวออกไปและถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายเพราะถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคมเพื่อลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งพรรณาต่อสาธารณชนในฐานะความตายที่เกิดขึ้นจากการทำสงคราม[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ร็อมเมิลถูกไล่ออกจากงานกองทัพอากาศและในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เขาถูกเกณฑ์ทหารสู่ราชการหน่วยทหารไรชส์อาร์ไบทซ์ดีนสท์ อยู่ในเมืองรีทลิงเงินใกล้ ๆ ปลายเดือนเมษายน ทันทีก่อนที่กองทัพบกที่หนึ่งเข้ายึดครอง เขาได้ถูกทอดทิ้ง เขาถูกจับเป็นเชลยศึก โดยได้เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการตายของพ่อของเขา และถูกสอบปากคำโดยนายพลฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี[3]
ชีวิตหลังสงครามและอาชีพ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1947 เขาได้รับอบีทัวร์ขณะศึกษาอยู่ที่บีเบอรัคอันแดร์ริส และไปศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน เขาแต่งงานกับลีเซอล็อทเทอในปี ค.ศ. 1954 และมีลูกสาวชื่อคาเทอรีเนอ[4] หลังจากยุติการทำงานในฐานะนักกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1956 ร็อมเมิลเข้าข้าราชการพลเรือนและต่อมาได้กลายเป็นเลขานุการของรัฐในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
ในปี ค.ศ. 1974 ร็อมเมิลสืบตำแหน่งต่อจากอาร์นุล์ฟ เคล็ท ในฐานะโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์ (เทียบเท่ากับนายกเทศมนตรี) ของชตุทการ์ทโดยชนะ 58.5 เปอร์เซนต์ของคะแนนเสียงในรอบที่สองของการเลือกตั้ง ซึ่งเอาชนะเพเทอร์ ค็อนราดี จากพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี เขาได้รับการเลือกตั้งใหม่หลังจากรอบแรกของการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1982 โดยมีคะแนนเสียงถึง 69.8 เปอร์เซนต์ และในปี 2533 มีคะแนนเสียงถึง 71.7 เปอร์เซนต์ของการลงคะแนนเสียง ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ท เขายังเป็นที่รู้จักสำหรับความพยายามของเขาที่จะให้กลุ่มกองทัพแดงเยอรมันผู้ก่อการร้ายผู้ที่ได้ฆ่าตัวตายที่เรือนจำชตัมไฮม์-ชตุทการ์ทได้รับการฝังศพที่เหมาะสม แม้จะมีความกังวลว่าหลุมฝังศพจะกลายเป็นจุดเดินทางของพวกการเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง[5][6]
ระหว่างการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ร็อมเมิลเริ่มต้นมิตรภาพที่ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายกับพลตรีกองทัพบกสหรัฐจอร์จ แพ็ทตันที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายของนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน ผู้เป็นศัตรูของพ่อเขาในสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้รับมอบหมายให้อยู่ในสำนักงานใหญ่กองพลที่เจ็ดใกล้เมือง[7][8] นอกจากนี้ เขายังเป็นเพื่อนกับเดวิด มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีนที่ 2 ผู้เป็นบุตรชายของจอมพลเบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ผู้เป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่อีกรายของพ่อเขา มิตรภาพดังกล่าวได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการคืนดีของอังกฤษและเยอรมันหลังจากสงคราม และการเข้าสู่นาโตของเยอรมนีตะวันตก[9]
ในการเฉลิมฉลองปี ค.ศ. 1996 ที่โรงละครรัฐเวือร์ทเทิมแบร์ค มันเฟรท ร็อมเมิล ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อันเป็นเกียรติยศแด่พลเมืองชาวเยอรมันระดับสูงสุด ในการกล่าวสุนทรพจน์ เฮ็ลมูท โคล ได้เน้นความสำคัญต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีในระหว่างการดำรงตำแหน่งของร็อมเมิล ในฐานะการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ไม่กี่วันหลังมอบเกียรติยศนี้แด่ร็อมเมิล เมืองชตุทการ์ทได้มอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่เขา[10] นอกจากนี้เขายังเสี่ยงต่อการเป็นที่นิยมของเขา เมื่อเขายืนหยัดในการปฏิบัติต่อผู้อพยพชาวต่างชาติอย่างเป็นธรรม ที่ได้รับการชักจูงสู่ชตุทการ์ท โดยเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเมือง[11] ในฐานะนายกเทศมนตรี ร็อมเมิลยังทำ "การควบคุมการเงินของเมืองที่เข้มงวด, การลดหนี้และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนและระบบขนส่งสาธารณะ [ขณะทำงาน]...เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน"[11] การเมืองของร็อมเมิลได้รับการอธิบายว่าใจกว้างและเสรีนิยม[12]
นอกการเมือง
[แก้]หลังเกษียณจากการเมืองเมื่อปี ค.ศ. 1996 ร็อมเมิลยังคงอยู่ในความต้องการในฐานะนักเขียนและวิทยากร แม้จะมีความทุกข์ทรมานจากโรคพาร์คินสัน เขาเขียนหนังสือทางการเมืองและหนังสือขำขันหลายเล่ม เขาเป็นที่รู้จักในแบบมนุษย์เดินดินและคำพูดรวมถึงคำคมแบบตลกอยู่บ่อย ๆ บางครั้ง เขาก็เขียนบทความให้แก่หนังสือพิมพ์ชตุทการ์เทอร์ไซทุง
ร็อมเมิลยังร่วมมือกับแบซิล ลิดเดลล์ ฮาร์ต ในการตีพิมพ์เดอะรอมเมิลเปเปอร์ส ซึ่งเป็นการรวบรวมไดอารี, จดหมาย และบันทึกที่พ่อของเขาเขียนในระหว่างและหลังจากการสู้รบทางทหาร เขาได้รับรางวัลหลายรางวัลจากต่างประเทศรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช (ซีบีอี), เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ฝรั่งเศส, เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีสหรัฐ และเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งรัฐบาลกลางเยอรมันชั้นสูงสุด[11] เขาเสียชีวิตในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 คงเหลือไว้ซึ่งลูกสาวชื่อคาเทอรีเนอ[13]
ภาพยนตร์
[แก้]ในภาพยนตร์เกี่ยวกับพ่อของเขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีนักแสดงที่รับบทเป็นมันเฟรท ร็อมเมิล ดังต่อไปนี้:
- ค.ศ. 1951: The Desert Fox: The Story of Rommel (เยอรมัน: Rommel, der Wüstenfuchs) (ผู้กำกับ: เฮนรี แฮททาเวย์), วิลเลียม เรย์โนลด์ส รับบทเป็น มันเฟรท ร็อมเมิล
- ค.ศ. 1962: วันเผด็จศึก (เยอรมัน: der längste Tag) (ผู้กำกับ: แอนนากิน/มาร์ตัน/วิคคี/ออสวาด/ซานัก), มิชาเอล ฮินทซ์ รับบทเป็น มันเฟรท ร็อมเมิล ส่วนแวร์เนอร์ ฮินทซ์ ผู้เป็นพ่อ รับบทเป็นจอมพลร็อมเมิลในภาพยนตร์
- ค.ศ. 1989: War and Remembrance (ละครโทรทัศน์), มัททีอัส ฮินเซ รับบทเป็น มันเฟรท ร็อมเมิล
- ค.ศ. 2012: Rommel (ผู้กำกับ: นีคี สไตน์), พาทริค เมิลเลเคน รับบทเป็น มันเฟรท ร็อมเมิล
เกียรติประวัติ
[แก้]มันเฟรท ร็อมเมิล เคยเขียนเกี่ยวกับเกียรติประวัติของเขาเป็นจำนวนมาก: "Die Zahl der Titel will nicht enden. Am Grabstein stehet: bitte wenden!" ซึ่งแปลว่า: "จำนวนเกียรติประวัติดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด คำจารึกบนศิลาเหนือหลุมฝังศพของฉันจะอ่านได้ว่า: กรุณาเงยขึ้นเถอะ!"[4]
- ค.ศ. 1979: พลเมืองกิตติมศักดิ์ประจำกรุงไคโร[14]
- ค.ศ. 1982: โอร์เดนไวแดร์เดนทีแอร์ริสเชน สำหรับอารมณ์ขันของเขา[15]
- ค.ศ. 1982: เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์
- ค.ศ. 1982: วุฒิสมาชิกกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยประยุกต์ชตุทการ์ท
- ค.ศ. 1984: อิสริยาภรณ์เจเนอรัล-เคลย์
- ค.ศ. 1985: อัศวินแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1987: ผู้พิทักษ์แห่งเยรูซาเลม[15]
- ค.ศ. 1987: กางเขนคุณธรรมเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
- ค.ศ. 1990: ผู้บังคับบัญชาแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช[15]
- ค.ศ. 1990: อิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
- ค.ศ. 1990: เหรียญ ดร.ฟรีดริช เลเนอร์ สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ
- ค.ศ. 1990: เหรียญพันธะสำหรับมิตรภาพเยอรมันอเมริกัน
- ค.ศ. 1992: ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์
- ค.ศ. 1993: เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมทองคำแห่งสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ
- ค.ศ. 1995: เหรียญอ็อทโท เฮียร์ช
- ค.ศ. 1996: พลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งเมืองชตุทการ์ท
- ค.ศ. 1996: ประธานหัวหน้าร่วมแห่งรางวัลบุคลากรสำหรับบริการสาธารณะที่โดดเด่น
- ค.ศ. 1996: เหรียญฟรีดริช เอ. โฟคท์ สำหรับบริการในภาษาถิ่นสเวเบีย
- ค.ศ. 1996: ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์
- ค.ศ. 1996: มหากางเขนคุณธรรม (ค.ศ. 1978) กับดาว (ค.ศ. 1989) และสายสะพายไหล่ (ค.ศ. 1996) : เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- ค.ศ. 1996: ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์
- ค.ศ. 1997: คุณค่าแห่งข้อตกลงฝรั่งเศส-เยอรมัน สำหรับมิตรภาพเยอรมัน-ฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1997: สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมเมืองแห่งเยอรมัน
- ค.ศ. 1997: รางวัลไฮนซ์ เฮอร์เบิร์ต คาร์รี
- ค.ศ. 1998: รางวัลดอล์ฟ สเติร์นเบอร์เกอร์
- ค.ศ. 2008: รางวัลฮันส์-เพเทอร์-ชตีล
หนังสือที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- Abschied vom Schlaraffenland. Gedanken über Politik und Kultur. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1987, ISBN 3-421-06081-9.
- Manfred Rommels gesammelte Sprüche, Gefunden und herausgegeben von Ulrich Frank-Planitz, Engelhorn Verlag, Stuttgart 1988, ISBN 3-87203-050-7
- Wir verwirrten Deutschen. Ullstein, Frankfurt am Main 1989, ISBN 3-548-34614-6.
- Manfred Rommels gesammelte Gedichte. Engelhorn-Verlag, Stuttgart 1993
- Die Grenzen des Möglichen. Ansichten und Einsichten. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1995, ISBN 3-421-05001-5.
- Trotz allem heiter. Erinnerungen. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1998, ISBN 3-421-05151-8.
- Neue Sprüche und Gedichte. Ge sammelt und herausgegeben von Ulrich Frank-Planitz, Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2000, ISBN 978-3-89850-002-9
- Manfred Rommels gesammelte Sprüche, dva, Stuttgart 2001, ISBN 978-3-421-05573-6.
- Holzwege zur Wirklichkeit. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2001, ISBN 3-89850-026-8.
- Soll und Haben. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 2001, ISBN 3-421-05579-3.
- Das Land und die Welt. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2003, ISBN 3-89850-099-3.
- Ganz neue Sprüche & Gedichte und andere Einfälle. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2004, ISBN 3-89850-123-X
- Vom Schlaraffenland ins Jammertal?. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2006, ISBN 3-89850-137-X.
- Gedichte und Parodien. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2006, ISBN 3-89850-151-5.
- Manfred Rommels schwäbisches Allerlei. Eine bunte Sammlung pfiffiger Sprüche, witziger Gedichte und zumeist amüsanter Geschichten. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2008, ISBN 978-3-89850-170-5.
- Auf der Suche nach der Zukunft. Zeitzeichen unter dem Motto: Ohne Nein kein Ja. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2008, ISBN 978-3-89850-173-6.
- 1944 – das Jahr der Entscheidung. Erwin Rommel in Frankreich(The year of decesion. Erwin Rommel in France), Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2010, ISBN 978-3-89850-196-5.
- Die amüsantesten Texte. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2010, ISBN 978-3-89850-203-0.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The sons of wartime generals who became great friends". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
- ↑ "Death of the Desert Fox: Rommel's son's account of his father's last moments after Hitler ordered him to take a cyanide pill or be arrested". Daily Mail. 30 December 2012.
- ↑ Manfred Rommel: Trotz allem heiter. Stuttgart 1998, 3rd edition, p. 77–85. ISBN 3-421-05151-8
- ↑ 4.0 4.1 Was Macht Eigenlich...: Manfred Rommel stern.de
- ↑ Usselmann, Rainer. "18. Oktober 1977: Gerhard Richter's work of mourning and its new audience". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-11.
- ↑ "Tage des Zorns, Tage der Trauer" (ภาษาเยอรมัน). Die Zeit. 16 October 1987. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013.
- ↑ Sobel, Brian M. (1997). The Fighting Pattons. Greenwood Publishing Group. p. 94. ISBN 9780275957148.
- ↑ "Career Spotlight: Benjamin Patton (C'88)". alumni.georgetown.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2013.
- ↑ "Die Väter Feinde, die Söhne Freunde" (ภาษาเยอรมัน). Badische Zeitung. 5 May 2009.
- ↑ "Festive retirement party for Stuttgart Mayor Manfred Rommel". German News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-10-05.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Dan van der Vat, Manfred Rommel obituary, The Guardian, 7 November 2013
- ↑ Manfred Rommel: Freundlich, ehrlich, demokratisch Der Tagesspiegel, vom 23. Dezember 2008.
- ↑ Martin, Douglas (9 November 2013). "Manfred Rommel, Son of German Field Marshal, Dies at 84". The New York Times.
- ↑ "Ehrenbürgerwürde der Universität Stuttgart für Suzanne Mubarak und Manfred Rommel". Informationsdienst Wissenschaft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2007-06-30.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Löffelholz, Thomas (16 December 1996). "Was vorbei ist, kann nicht mehr schiefgehen". Die Welt.
บรรณานุกรม
[แก้]- Puhl, Widmar: Manfred Rommel: Der Oberbürgermeister. (in German). Zürich/Wiesbaden: Orell Füssli 1990, ISBN 3-280-01997-4.
- Rommel, Manfred: Trotz allem heiter. Erinnerungen. (in German). Stuttgart: Deutsche Verlagsanstalt, Stuttgart 1998, ISBN 3-421-05151-8. (His memories)