พ่อลาวแก่นท้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อลาวแก่นท้าว
ทายาทโดยสันนิษฐานแห่งหงสาวดี
ครองราชย์ค.ศ. 1383–1390
ก่อนหน้าพ่อขวัญเมือง (ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง)
ต่อไปพญาธรรมราชา (ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง)
ประสูติค.ศ. 1383
พะโค อาณาจักรหงสาวดี
สวรรคตป. เมษายน ค.ศ. 1390
พะโค อาณาจักรหงสาวดี
พระราชบิดาพระเจ้าราชาธิราช
พระราชมารดาตะละแม่ท้าว
ศาสนาพุทธเถรวาท

พ่อลาวแก่นท้าว (พม่า: ဘောလောကျန်းထော, ออกเสียง: [bɔ́.lɔ́.t͡ɕáɰ̃.dɔ́]; ประมาณ ค.ศ. 1383–1390) พระราชโอรสองค์ใหญ่และพระราชบุตรองค์แรกของพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งอาณาจักรหงสาวดี กับตะละแม่ท้าว เจ้าชายน้อยพระองค์นี้เป็นที่รู้จักจากคำสาบานที่พระองค์ให้ไว้ก่อนถูกสำเร็จโทษตามพระบัญชาของพระเจ้าราชาธิราช ว่าจะกลับมาเกิดใหม่เพื่อสู้กับพระองค์ถ้าพระองค์บริสุทธิ์ ทำให้ประชาชนของหงสาวดีและประชาชนของอาณาจักรคู่แข่งอย่างอังวะเชื่อว่าเจ้าชาย มังรายกะยอชวา แห่งอาณาจักรอังวะคือพ่อลาวแก่นท้าวที่กลับมาเกิดใหม่เพื่อเติมเต็มคำสาบาน

พระเจ้าราชาธิราชกลัวว่าเจ้าชายหนุ่มจะก่อการจลาจลต่อต้านพระองค์ หลังพระมารดาของพระองค์ตะละแม่ท้าวปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง และกลัวว่าเจ้าชายหนุ่มจะแก้แค้นให้กับพระมารดา

ประวัติ[แก้]

พระเจ้าราชาธิราช เมื่อครั้งเสด็จมาที่เมืองพะสิม ได้มีรับสั่งประหารพระโอรสน้อย พ่อลาวแก่นท้าว ซึ่งพระชนมายุเพียงเจ็ดพรรษา ประทับในอยู่ในหงสาวดี[1] เมื่อประมาณ เมษายน ค.ศ. 1390[note 1]

เพชฌฆาตนำพระองค์ไปที่เจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) เจ้าชายถูกคุมขังอยู่สามวันที่บริเวณพระเจดีย์ ในระหว่างนี้พระองค์ถูกสั่งให้อ่านพระอภิธรรมปิฎก[2]

ตามพงศาวดารมอญและพม่าในวันที่พระองค์ถูกประหารชีวิตพระองค์ได้กล่าวคำสัตย์สาบานซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์พม่าไว้ว่า:

"เราไม่ได้วางแผนเพื่อกบฎกับพ่อของเรา ไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ ในตัวเรา พ่อกับแม่เล่นกันเป็นเด็ก เมื่อเธอโตขึ้นเป็นผู้หญิงงามเขาก็ชื่นชมความงามของเธอแล้วทอดทิ้ง เธอเป็นลูกสาวของกษัตริย์ แต่พวกเขาขับไล่เธอออกไปเหมือนพวกทาส พวกเขาทำให้เธอตายไม่ดี ถ้าเรามีความผิดในการกบฏด้วยความคิด คำพูด หรือการกระทำ ก็ขอให้เราต้องทนทุกข์ทรมานจากไฟในนรกเป็นเวลาพัน ๆ ปี แต่ถ้าเราบริสุทธิ์ใจขอให้เราเกิดใหม่ในราชวงศ์กษัตริย์อังวะ และเราจะนำความวิบัติมาให้กับอาณาจักรหงสาวดี"[2][3][note 2]

ในหนังสือราชาธิราช ฉบับแปลภาษาไทยของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้บรรยายไว้ว่า พ่อลาวแก่นท้าวได้ขอให้เพชฌฆาตพาพระองค์ไปนมัสการพระธาตุมุเตาก่อนจะทรงถูกสำเร็จโทษ ทรงถอดพระมาลาที่ทรงอยู่นั้นบูชาพระเจดีย์ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานไว้ดังนี้

"ข้าพเจ้าจะเปนขบถคิดประทุษฐร้ายต่อสมเด็จพระราชบิดาหามิได้ บัดนี้พระราชบิดาให้ประหารชีวิตข้าพเจ้าผู้หาความผิดมิได้เสีย เดชะผลอานิสงส์ที่ข้าพเจ้าได้เอาพระมหามาลาออกกระทำพุทธบูชา ถ้าข้าพเจ้าตายแล้วขอให้ได้ไปเกิดในครรภ์พระอัครมเหษีสมเด็จพระเจ้ามณเฑียรทอง ณ กรงุรัตนบุระอังวะเถิด ถ้าอายุข้าพเจ้าได้ยี่สิบสองปีแล้ว ขอให้ได้ทำสงครามด้วยพระราชบิดาองค์นี้จงได้ แลเมื่อข้าพเจ้าไปถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้น ขอให้พระราชมารดาอยากเสวยดินในกลางใจเมืองหงษาวดีนี้ ให้ได้สมความปรารถนาทุกประการ"[4]

พระเจ้าราชาธิราช ถูกรบกวนพระทัยเป็นอันมากเมื่อพระองค์ได้ยินเรื่องคำสาบาน และพระองค์ตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อพระมเหสีองค์หนึ่งของ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง แห่งอังวะ ได้เสวยอาหารต่างๆที่นำมาจากพม่าตอนล่างก่อนที่พระนางจะตั้งครรภ์ พระนางให้กำเนิด มังรายกะยอชวา หนึ่งปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พ่อลาวแก่นท้าว เมื่อเติบโตขึ้นมังรายกะยอชวาได้เป็นแม่ทัพผู้มีความสามารถของอาณาจักรอังวะในการรุกรานอาณาจักรหงสาวดีช่วงสงครามสี่สิบปี[2]

หมายเหตุ[แก้]

  1. According to the main Burmese chronicles Maha Yazawin (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 299) and Hmannan Yazawin (Hmannan Vol. 1 2003: 427), the prince was executed in 751 ME (28 March 1389 to 28 March 1390). But Razadarit Ayedawbon (Pan Hla 2005: 195) and Yazawin Thit (Hmannan Vol. 1 2003: 429) give 752 ME (29 March 1390 to 28 March 1391). Since Minye Kyawswa was born in 752 ME, it means Bawlawkyantaw died in early 752 ME (ป. April 1390).
  2. Standard chronicles (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 299) and (Hmannan Vol. 1 2003: 427) say the prince wished to destroy the kingdom of Mons. Razadarit Ayedawbon (Pan Hla 2005: 195) says the prince swore to fight his father (not the kingdom of Mons).

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. Phayre 1873: 47–55
  2. 2.0 2.1 2.2 Harvey 1925: 111–116
  3. Htin Aung 1967: 88–93
  4. ราชาธิราช ตอนที่ 15 คัดจาก พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. 2489
บรรณานุกรม
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Phayre, Major Gen. Sir Arthur Purves (1873). "The History of Pegu". Journal of Asiatic Society of Bengal. Oxford University. 42: 47–55.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.