ข้ามไปเนื้อหา

ทีนออง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Htin Aung)
ดร.
ทีนออง
ထင်အောင်
เอกอัครราชทูตพม่าประจำศรีลังกา
ดำรงตำแหน่ง
1959–1962
ประธานาธิบดีวี่น-มอง
นายกรัฐมนตรีเนวี่น (1959–1960)
อู้นุ (1960–1962)
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ดำรงตำแหน่ง
1959–1959
อธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ดำรงตำแหน่ง
1946–1958
ก่อนหน้าoffice created
ถัดไปHla Myint
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤษภาคม ค.ศ. 1909(1909-05-18)[1]
ร่างกุ้ง พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
เสียชีวิต10 พฤษภาคม ค.ศ. 1978(1978-05-10) (68 ปี)[1]
ร่างกุ้ง พม่า
สัญชาติพม่า
เชื้อชาติพม่า
ศาสนาเถรวาท
ญาติTin Tut, Myint Thein และ Kyaw Myint
ที่อยู่อาศัยย่างกุ้ง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
มหาวิทยาลัยลอนดอน
University of Dublin
พ่อU Hpein
แม่Daw Mi Mi

ทีนออง (พม่า: ထင်အောင်; ค.ศ. 1909–1978) หรือ มองทีนออง (မောင်ထင်အောင် - นิยมทับศัพท์เป็น "หม่องทินอ่อง") เป็นนักประพันธ์และนักวิชาการประวัติศาสตร์พม่าและวัฒนธรรมพม่าคนสำคัญ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีผลงานเขียนเป็นหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพม่าทั้งในภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ ผลงานภาษาอังกฤษของเขานั้นได้เปิดมุมมองที่เป็นที่ต้องการมากในการศึกษาประวัติศาสตร์พม่าแบบสากล ซึ่งจนถึงขณะนี้มีเฉพาะนักประวัติศาสตร์อังกฤษในสมัยอาณานิคมเท่านั้น ผลงานที่สำคัญ อาทิ ประวัติศาสตร์พม่า, Folk Elements in Burmese Buddhism, Burmese Drama เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

ทีนอองเกิดในครอบครัวชนชั้นสูงของพม่าในปี ค.ศ. 1909 เป็นลื่อ (great-great-grandson) ของมะฮามีนลามีนดีนราซา ซึ่งเป็นทหารในราชสำนักราชวงศ์คองบอง ซึ่งเคยรบในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง[2][3] เขาเป็นลูกชายคนที่ 4 และคนสุดท้องของครอบครัว

ทีนอองสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมอังกฤษเซนต์พอลส์ ซึ่งเป็นของชนชั้นสูงในย่างกุ้ง[4] ปริญญาตรีด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาโทด้านกฎหมายแพ่งจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาและวรรณกรรม[5] ทีนอองเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยย่างกุ้งระหว่าง ค.ศ. 1946 ถึง 1958 และรองนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1959 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำศรีลังกาตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ถึง 1962 และในภายหลังได้เป็นศาสตราจารย์รับเชิญพิเศษที่มหาวิทยาลัยโคลอมเบียและมหาวิทยาลัยเวกฟอเรสต์ตามลำดับ

หนังสือ

[แก้]
  1. Burmese Drama (Oxford University Press, 1937)
  2. Burmese Folk-Tales (Oxford University Press, 1948)
  3. Burmese Drama: A study, with translations, of Burmese plays (Oxford University Press, 1956)
  4. Burmese Law Tales (Oxford University Press, 1962)
  5. Folk Elements in Burmese Buddhism (Oxford University Press, 1962).
  6. The Stricken Peacock: An Account of Anglo-Burmese Relations 1752-1948 (Martinus Nijhoff, 1965)
  7. Burmese Monk's Tales (Columbia University Press, 1966)
  8. Epistles Written on Eve of Anglo-Burmese War (Martinus Nijhoff, 1967)
  9. A History of Burma (Columbia University Press, 1967)
  10. Lord Randolph Churchill and the dancing peacock : British conquest of Burma 1885
  11. Burmese history before 1287: A Defence of the Chronicles (1970).
  12. Folk Tales of Burma (Sterling Publishers, 1976)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Maung Maung 2008: 569
  2. A History of Burma. New York and London: Columbia University Press. 1967.
  3. Htin Aung (1973). Beyond Nyaungyang (Burmese translation of The Stricken Peacock) (ภาษาพม่า). Yangon: Sapemwethu.
  4. International Who's Who: 1964 (28 ed.). 1964. p. 43.
  5. G.E . Harvey: Imperialist or Historian, A lecture given at the Ramakrishna Hall on 21st February 1973