ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
วางรากฐานเนื้อหาของบทความบนแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับสิ่งที่กำลังกล่าวถึง แหล่งข้อมูลควรจะสนับสนุนเนื้อหาที่ปรากฏในบทความโดยตรงและควรเหมาะสมที่จะใช้อ้างอิงข้อกล่าวอ้างใด ๆ ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท แต่โดยทั่วไปแล้ว แหล่งข้อมูลที่ดีจะต้องมีโครงสร้างการเขียนแบบมืออาชีพสำหรับการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเด็นทางกฎหมาย หลักฐานและข้อโต้แย้ง หากแหล่งข้อมูลนั้นมีระดับการพิจารณาในประเด็นเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด แหล่งข้อมูลนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
วางรากฐานเนื้อหาของบทความบนแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับสิ่งที่กำลังกล่าวถึง แหล่งข้อมูลควรจะสนับสนุนเนื้อหาที่ปรากฏในบทความโดยตรงและควรเหมาะสมที่จะใช้อ้างอิงข้อกล่าวอ้างใด ๆ ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท แต่โดยทั่วไปแล้ว แหล่งข้อมูลที่ดีจะต้องมีโครงสร้างการเขียนแบบมืออาชีพสำหรับการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเด็นทางกฎหมาย หลักฐานและข้อโต้แย้ง หากแหล่งข้อมูลนั้นมีระดับการพิจารณาในประเด็นเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด แหล่งข้อมูลนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเท่านั้น


หากสามารถหาได้ สื่อตีพิมพ์ทางวิชาการและที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้วมักจะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงวิชาการก็สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏว่ามันได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อกระแสหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นรวมไปถึงหนังสือเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หนังสือซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือ นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน โดยอยู่ภายใต้เกณฑ์เหล่านี้
หากสามารถหาได้ สื่อตีพิมพ์ทางวิชาการและที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้วมักจะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงวิชาการก็สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏว่ามันได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อกระแสหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นรวมไปถึงหนังสือเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หนังสือซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือ นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน หากอยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

=== บล็อกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ===
หนังสือพิมพ์บางแห่งมีคอลัมน์ที่เรียกว่า "บล็อก" บล็อกเหล่านี้สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ หากผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญและบล็อกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรณาธิการอย่างเต็มที่ (full editorial control) เมื่อใดที่สำนักข่าวนั้นตีพิมพ์งานที่เป็นความคิดเห็น ให้บ่งชี้ว่าข้อความนั้นใครเป็นผู้เขียน (เช่น "ก เขียนว่า ...") ห้ามใช้โพสต์ของผู้อ่านเป็นแหล่งข้อมูล


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:26, 19 ตุลาคม 2554

เกณฑ์พิจารณาว่าเนื้อหาใดจะอยู่ในวิกิพีเดียได้นั้นคือ ต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ - ไม่ใช่ว่าต้องเป็นจริง คำว่า "พิสูจน์ยืนยันได้" ในที่นี้หมายถึง ผู้อ่านสามารถตรวจสอบว่า ข้อมูลเนื้อหาใด ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในวิกิพีเดียนั้น ได้เคยเผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาก่อน ผู้แก้ไขควรแจ้งแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการอ้างคำพูดและสาระใด ๆ ที่เป็นประเด็นขัดแย้ง หรืออาจเป็นประเด็นขัดแย้งได้ง่าย อย่าเพิ่มเนื้อหาเพียงเพราะผู้เขียนทึกทักเอาเองว่าจริงเด็ดขาด

ในการแสดงว่าเนื้อหานั้นน่าเชื่อถือ ข้อมูลทั้งหมดในบทความจะต้องอ้างจากแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือซึ่งเหมาะสมแก่เนื้อหาที่กำลังกล่าวถึงนั้น แต่ในทางปฏิบัติคุณไม่จำเป็นจะต้องอ้างข้อมูลทุกอย่าง เพียงแต่เฉพาะคำกล่าวของบุคคลและเนื้อหาที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มที่จะถูกคัดค้าน มีการอ้างอิงในบรรทัด (inline citation) ซึ่งสนับสนุนข้อมูลที่กำลังกล่าวถึงโดยตรง สำหรับรูปแบบการเขียนอ้างอิง ดูที่ การอ้างอิงแหล่งที่มา

นโยบายนี้มีผลใช้กับเนื้อหาทั้งหมดในเนมสเปซหลัก ซึ่งรวมไปถึงบทความ รายการ เนื้อหาเฉพาะส่วน และคำบรรยายใต้ภาพ โดยไม่มีข้อยกเว้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ข้อมูลซึ่งต้องการการพิสูจน์ยืนยันแต่ไม่อาจหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนได้อาจนำออก และข้อมูลที่ไม่มีการอ้างอิงซึ่งก่อให้เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำออกโดยทันที

การพิสูจน์ยืนยันได้เป็นหนึ่งในนโยบายแกนกลางด้านเนื้อหาของวิกิพีเดีย เช่นเดียวกับงดงานค้นคว้าต้นฉบับและมุมมองที่เป็นกลาง ซึ่งนโยบายเหล่านี้ร่วมกันกำหนดประเภทและคุณภาพของแหล่งข้อมูลที่สามารถใช้อ้างอิงเนื้อหาในบทความได้ และนโยบายเหล่านี้ไม่ควรถูกตีความโดยไม่พิจารณาทั้งหมดไปในขณะเดียวกัน และผู้แก้ไขควรจะทำให้คุ้นเคยกับหลักสำคัญของนโยบายทั้งสามนี้ นอกจากนี้บทความจะต้องเป็นไปตามนโยบายด้านลิขสิทธิ์

เมื่อใดที่ต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกคัดค้าน

คำกล่าวของบุคคลทั้งหมดและเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกคัดค้าน จะต้องนำมาจากแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือโดยใช้การอ้างอิงในบรรทัด ซึ่งควรกระทำอย่างชัดเจนและแม่นยำ พร้อมด้วยหมายเลขหน้า (มิใช่เฉพาะชื่อหนังสือหรือสื่อเท่านั้น) ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้โปรดระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์และโจรกรรมทางวรรณกรรม อ่านแหล่งข้อมูล ทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคย จากนั้นสรุปสิ่งที่แหล่งข้อมูลนั้นกล่าวถึงด้วยภาษาของคุณเอง เมื่อมีการถอดความแบบคำต่อคำหรือลอกคำพูดของผู้อื่น จะต้องแสดงที่มาในบรรทัด

หน้าที่ของหลักฐาน

หน้าที่ของหลักฐานเป็นความรับผิดชอบของผู้แก้ไขซึ่งเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเนื้อหา คุณอาจนำเนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนข้อมูลนั้นโดยตรง การที่ผู้แก้ไขคนหนึ่งจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการดังนี้นั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาและสภาพโดยรวมของบทความ ผู้แก้ไขอาจคัดค้านว่าคุณนำเนื้อหานั้นออกเร็วเกินไปโดยที่ยังไม่ให้เวลาเพียงพอในการหาแหล่งอ้างอิง เป็นการปฏิบัติที่ดีที่จะพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการค้นหาแหล่งข้อมูลสนับสนุนด้วยตัวคุณเองและใช้อ้างอิงข้อมูลนั้น การพิจารณาพิเศษมีผลกับเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงหรืออ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่ไม่ดีพอซึ่งฝ่าฝืนนโยบายของเราเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โปรดนำเนื้อหานั้นออกในทันที และไม่ต้องย้ายเนื้อหานั้นไปอภิปรายต่อในหน้าอภิปรายอีก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

คำว่า "แหล่งข้อมูล" ในวิกิพีเดียมีสามความหมาย: ชิ้นงานนั้น (เอกสาร บทความ รายงาน หรือหนังสือ) ผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้น (ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประพันธ์) และสำนักพิมพ์ผู้ตีพิมพ์ผลงาน (ยกตัวอย่างเช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์) ทั้งสามล้วนแต่กระทบต่อความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลทั้งสิ้น

วางรากฐานเนื้อหาของบทความบนแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับสิ่งที่กำลังกล่าวถึง แหล่งข้อมูลควรจะสนับสนุนเนื้อหาที่ปรากฏในบทความโดยตรงและควรเหมาะสมที่จะใช้อ้างอิงข้อกล่าวอ้างใด ๆ ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท แต่โดยทั่วไปแล้ว แหล่งข้อมูลที่ดีจะต้องมีโครงสร้างการเขียนแบบมืออาชีพสำหรับการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเด็นทางกฎหมาย หลักฐานและข้อโต้แย้ง หากแหล่งข้อมูลนั้นมีระดับการพิจารณาในประเด็นเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด แหล่งข้อมูลนั้นย่อมมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

หากสามารถหาได้ สื่อตีพิมพ์ทางวิชาการและที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้วมักจะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงวิชาการก็สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏว่ามันได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อกระแสหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นรวมไปถึงหนังสือเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หนังสือซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือ นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน หากอยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

บล็อกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

หนังสือพิมพ์บางแห่งมีคอลัมน์ที่เรียกว่า "บล็อก" บล็อกเหล่านี้สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ หากผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญและบล็อกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรณาธิการอย่างเต็มที่ (full editorial control) เมื่อใดที่สำนักข่าวนั้นตีพิมพ์งานที่เป็นความคิดเห็น ให้บ่งชี้ว่าข้อความนั้นใครเป็นผู้เขียน (เช่น "ก เขียนว่า ...") ห้ามใช้โพสต์ของผู้อ่านเป็นแหล่งข้อมูล

ดูเพิ่ม