ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Copelonian (คุย | ส่วนร่วม)
สังกัดพรรค
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 46: บรรทัด 46:


== บทบาท ==
== บทบาท ==
สุรเชษฐ์ได้มีบทบาท โดยการอภิปรายความเห็นในฐานะกรรมาธิการหรือสมาชิกผู้แทนราษฎรดังนี้
สุรเชษฐ์ได้มีบทบาท โดยการอภิปรายความเห็นในฐานะกรรมาธิการหรือสมาชิกผู้แทนราษฎรดังนี้

=== กรณีขยายสัมปทานสัญญาทางด่วนของรัฐบาล ===
สุรเชษฐ์ได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่าได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลทั้งหมด 3 ประเด็น ได้แก่
# รัฐบาลได้มีความเร่งรีบผิดปกติ โดยปกติแล้วจะได้มีการนัดประชุมบอร์ดเดือนละครั้ง แต่กลับมีการประชุมพิเศษ (ลับ) เสมือนมีคำสั่งรีบเร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
# สัญญาฉบับร่าง ได้ทำการร่างจากทางบริษัท โดยปกติแล้วโครงการที่มีขนาดใหญ่จำต้องมีคณะกรรมการการทางพิเศษร่เป็นผู้ร่าง ซึ่งการให้บริษัทเป็นผู้ร่างส่งผลกระทบต่องบประมาณทางการเงินจำนวนมาก
# หากพิจารณษจาก คำสั่ง นายกฯที่ 10/2562 ที่มีเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับการปลดผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้น สันนิษฐานได้ว่า ผู้ว่าฯการทางพิเศษต้องการทำงานอย่างรอบคอบ ซึ่งเคยมีการเสนอตั้งพิจารณาหลายด้าน อย่างไรก็ตาม หากสัญญาสัมปทานเหล่านี้สำเร็จรัฐบาลจะสามารถขยายเวลาสัมปทานทางด่วนออกไปอีก 30 ปี ซึ่งสามารถคิดมูลค่าความเสียหายได้ถึง 4.3 แสนล้านบาท

กรรมาธิการที่ได้มีการขอสงวนความเห็นทำการอภิปรายในเรื่องของการพิจารณารถไฟฟ้าบีทีเอส ได้มีความคิดเห็นตรงกับเสียงข้างมากกล่าวคือไม่ควรขยายสัญญาสัปทาน ขณะที่ในการสงวนความคิดเห็นเรื่องของการต่ออายุสัปทานทางด่วนอีก 30 ปีนั้น สุรเชษฐ์ได้อยู่ฝ่ายกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ให้ความเห็นว่าไม่ควรขยายสัญญาสัปทานเช่นกัน


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:39, 9 เมษายน 2563

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม 2561
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (46 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคอนาคตใหม่ (พ.ศ. 2561-2563) พรรคก้าวไกล (พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน)
การศึกษาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
มหาวิทยาลัยรัฐยูทาห์
อาชีพ
  • อาจารย์
  • นักการเมือง

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ[1] (ชื่อเล่น เชษฐ์, เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521) คือนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทยโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 แบบบัญชีรายชื่อ[2] ให้คำปรึกษานโยบายด้านคมนาคม[3]ของอดีตพรรคอนาคตใหม่ และเคยเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียโดยมีประสบการณ์ในการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านการคมนาคม[4] หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ สุรเชษฐ์ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล

ประวัติ

สุรเชษฐ์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมโยธาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2542 แล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านการวางแผนและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2544 แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจรที่มหาวิทยาลัยรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐ

สุรเชษฐ์เคยเป็นนักวิจัยและอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่ง อาทิ ประเทศไทย ประเทศนอร์เวย์ และ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น อีกทั้งยังเคยได้รับตำแหน่ง ประธาน เลขานุการและกรรมการโครงการหรือคณะทำงาน มากกว่า 20 คณะ ทั้งในลักษณะของการจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจการจ้าง หรือการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยจากประสบการณ์การลงมือทำงานจริงที่มีความหลากหลายในภาคปฏิบัติ ส่งผลให้ ดร.สุรเชษฐ์ ได้รับเลือกให้มาเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ดร.สุรเชษฐ์ ได้ลาออกจาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (Asian Institute of Technology : AIT) เพื่อตัดสินใจเข้าร่วมงานกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และผู้ที่มีความคิดเห็นแนวทางทางการเมืองอีกจำนวนมาก เพื่อลุกขึ้นสู้ด้วยประณิธานที่แรงกล้า โดยพลักดันนโยบายที่ดีต่อประชาชนและประเทศชาติในภาพรวมอย่างแท้จริง ภายใต้ พรรคการเมืองชื่อ พรรคอนาคตใหม่ พรรคการเมืองแห่งความหวัง ที่จะสร้างสรรค์ประเทศไทยที่มีอนาคตอยู่เคึยงคู่กับประชาชน

การทำงาน

  • รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาความปลอดภัยทางถนนและคมนาคม
  • รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563[5]สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรัฐวิสาหกิจ สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562)

การแถลงนโบาย

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ได้แถลงนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ (16 ธันวาคม พ.ศ.2562) ได้แก่ นโยบาย "ขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน" เป็นนโยบายที่จะผลักดันให้ภาครัฐ ควรจะนำงบประมาณไปทำการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อประชาชน มากกว่าการนำงบประมาณด้านคมนาคมส่วนใหญ่ไปทำการสร้าง หรือ ซ่อมถนน โดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น กล่าวคือ การสร้าง และ ซ่อมถนนจะส่งผลเชิงบังคับให้ประชาชนส่วนใหญ่ซื้อ รถยนต์ ทั้งนี้ การซื้อรถยนต์ถือได้ว่าเป็นการสูญสิ้นต้นทุนทางชีวิตในระดับหนึ่ง (ค่าซ่อมบำรุงหรือค่าประกัน) และ ก่อให้เกิดมลพิษในสังคม ด้วยเหตุนี้ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ และ พรรคอนาคตใหม่ ได้ทำการแจงข้อเสียของปัญหาดังกล่าวดังนี้

  1. การสูญเสียโอกาส เนื่องจากค่าเวลาเฉลี่ยในการเดินทางของประชาชนไทย อยู่ที่ประมาณ 120 บาท / คน / ชั่วโมง
  2. ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 9 ของโลก
  3. ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบถึง 640,000 ล้านบาท / ปี
  4. การสร้างถนนจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการกระจายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทางและขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ เมืองพัฒนาในแนวราบแทนที่จะพัฒนาแนวดิ่ง
  5. ส่งผลให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยขาดโอกาสในการเดินทาง เนื่องจากการเดินทางมีต้นทางในการเดินทางที่สูง

นโยบายดังกล่าว จึงมีจุดประสงค์ที่สำคัญในการพัฒนา "ขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน" โดยผลักดันการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ ในรูปแบบของ "ระบบราง" เนื่องจากระบบรางเป็นระบบที่มีคุณภาพที่ดี ค่าโดยสารมีความเหมาะสม สามารถเข้าถึงได้ง่าย และที่สำคัญอย่างยิ่ง ระบบรางใช้พลังงานน้อยกว่าระบบขนส่งรูปแบบอื่นถึง 9 เท่า ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 3 เท่า และใช้พื้นที่น้อยกว่า 20 เท่า โดยการพัฒนาระบบรางจะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น รถเมล์ระบบไฟฟ้า เรือ ตลอดจนแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในทุกหัวเมืองควบคู่กันไปด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการขนส่งในลักษณะระบบขนส่งโครงข่ายรองตามความเหมาะสมของแต่ละสภาพพื้นที่

อีกทั้ง การผลักดันระบบขนส่งสาธารณะแบบรางสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ โดยอุตสาหกรรมรถไฟ สามารถสร้างอาชีพการงานให้แก่ประชาชนได้ 150,000 ตำแหน่ง อีกทั้งสามารถก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนจำนวน 540,000 ล้านบาท / ปี

บทบาท

สุรเชษฐ์ได้มีบทบาท โดยการอภิปรายความเห็นในฐานะกรรมาธิการหรือสมาชิกผู้แทนราษฎรดังนี้

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  3. นโยบายขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน
  4. The Daily Dose - สัมภาษณ์ ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ แห่งพรรคอนาคตใหม่ - FULL EP
  5. งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563

แหล่งข้อมูลอื่น