ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
{{flagdeco|Taiwan}} [[Li Mi (ROC general)|หลี่ หมี]]
{{flagdeco|Taiwan}} [[Li Mi (ROC general)|หลี่ หมี]]
| commander2 = {{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[พโยม จุลานนท์]]<br>
| commander2 = {{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[พโยม จุลานนท์]]<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]]<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[ปิยบุตร แสงกนกกุล]]<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[พรรณิการ์ วานิช]]<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} [[ทักษิณ ชินวัตร]]<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} อุดม สีสุวรรณ<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} อุดม สีสุวรรณ<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} ดำริห์ เรืองสุธรรม{{POW}}<br>
{{flagicon image|Flag of the Communist Party of Thailand.svg}} ดำริห์ เรืองสุธรรม{{POW}}<br>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:31, 28 กันยายน 2562

การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น
วันที่7 สิงหาคม 2508–2526
(18 ปี)
สถานที่
ผล รัฐบาลชนะ
คู่สงคราม

 ไทย  สาธารณรัฐจีน (ถึงกรกฎาคม 2510)

  • กองพลที่ 49[1]

 สหรัฐ

  • กองทัพอากาศสหรัฐ

 มาเลเซีย

  • กองทัพมาเลเซีย

สนับสนุนโดย:

 อินโดนีเซีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2511)

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ปะเทดลาว[2][3]
เขมรแดง (ถึงปี 2522)[2][3]
สนับสนุนโดย:
 เวียดนามเหนือ (ถึงปี 2519)
 เวียดนาม (ตั้งแต่ปี 2519)
 จีน (2514–21)
พรรคคอมมิวนิสต์มลายา
 เกาหลีเหนือ[3]

 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ชวลิต ยงใจยุทธ
เปรม ติณสูลานนท์

หลี่ หมี

พโยม จุลานนท์
อุดม สีสุวรรณ
ดำริห์ เรืองสุธรรม (เชลย)
วิรัช อังคถาวร (เชลย)

ธง แจ่มศรี (เชลย)
กำลัง
กองทัพ: 127,700
ตำรวจ: 45,800[2]
ผู้ก่อการกำเริบ 1,000–12,000 คน
ผู้ฝักใฝ่ 5,000–8,000 คน[3][4]
ความสูญเสีย
ทหาร ตำรวจและข้าราชการเสียชีวิต 1,450+ นายและคน
ได้รับบาดเจ็บ 100+ นายและคน[5]
(เฉพาะปี 2512–14)
ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิต 365+ คน
บาดเจ็บ 30+ คน
49+ (เชลย)[4][5]
(เฉพาะปี 2512–14)

การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเป็นสงครามกองโจรที่กินเวลาตั้งแต่ปี 2508 ถึง 2526 สู้รบกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และรัฐบาลไทยเป็นหลัก สงครามเสื่อมลงในปี 2523 หลังรัฐบาลประกาศนิรโทษกรรม และในปี 2526 พคท. เลิกก่อการกำเริบ

ความขัดแย้ง

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 นักคอมมิวนิสต์ไทย 50 คนเดินทางไปกรุงปักกิ่ง ที่ซึ่งได้รับการฝึกด้านอุดมการณ์และการโฆษณาชวนเชื่อ ในปี 2504 กลุ่มผู้ก่อการกำเริบขบวนการปะเทดลาวขนาดเล็กแทรกซึมเข้าภาคเหนือของประเทศไทย มีการจัดระเบียบกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นและมีการส่งอาสาสมัครไปยังค่ายฝึกในประเทศจีน ลาวและเวียดนามเหนือ โดยการฝึกมุ่งไปยังการต่อสู้ด้วยอาวุธและยุทธวิธีก่อการร้าย ระหว่างปี 2505 ถึง 2508 ชาวไทย 350 คนรับการฝึกนาน 8 เดือนในเวียดนามเหนือ เดิมทีกองโจรมีปืนคาบศิลาจำนวนจำกัด ตลอดจนอาวุธฝรั่งเศส จีนและญี่ปุ่น ในครึ่งแรกของปี 2508 ผู้ก่อการกำเริบลักลอบนำอาวุธที่ผลิตในสหรัฐ 3,000 ชิ้นและเครื่องกระสุน 90,000 นัดเข้าจากประเทศลาว สินค้าเหล่านี้เดิมจัดส่งให้กองทัพลาวที่สหรัฐหนุนหลัง แต่ถูกขายให้ผู้ลักลอบส่งออก แล้วแลกเปลี่ยนอาวุธให้แก่ พคท. แทน[2][4]

ระหว่างปี 2504 ถึง 2508 ผู้ก่อการกำเริบลอบฆ่าทางการเมือง 17 ครั้ง พคท. ยังไม่เปิดฉากสงครามกองโจรเต็มขั้นจนฤดูร้อนปี 2508 เมื่อ พคท. เริ่มปะทะกับฝ่ายความมั่นคง มีบันทึกรวม 13 ครั้งในช่วงนั้น ครึ่งหลังของปี 2508 มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีก 25 ครั้ง และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2508 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มปฏิบัติการที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งการซุ่มโจมตีกองลาดตระเวนของตำรวจที่จังหวัดนครพนม[5]

ในปี 2509 การก่อการกำเริบลามไปส่วนอื่นของประเทศไทย แต่เหตุการณ์การก่อการกำเริบร้อยละ 90 เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 14 มกราคม 2509 โฆษกกลุ่มแนวร่วมรักชาติไทยเรียกร้อง "สงครามประชาชน" ในประเทศไทย แถลงการณ์นั้นเป็นเครื่องหมายการยกระดับความรุนแรงในความขัดแย้งนี้ และต้นเดือนเมษายน 2509 ผู้ก่อการกำเริบฆ่าทหาร 16 นายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 13 คนระหว่างการปะทะในจังหวัดเชียงราย มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรวม 45 นายและพลเรือน 65 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของผู้ก่อการกำเริบในครึ่งแรกของปี 2509[5]

หลังกองทัพปฏิวัติชาติพ่ายในสงครามกลางเมืองจีน กองพลที่ 49 ข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทยจากมณฑลยูนนาน ทหารจีนบูรณาการเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว และเข้าร่วมการค้าฝิ่นที่ได้กำไรงามภายใต้การคุ้มครองของข้าราชการฉ้อฉล การค้ายาเสพติดเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ทหารคณะชาติยังให้ความร่วมมือกับรัฐบาลระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบ ในเดือนกรกฎาคม 2510 เกิดสงครามฝิ่นเมื่อผู้ปลุกฝิ่นไม่ยอมจ่ายภาษีให้พรรคก๊กมินตั๋ง กำลังรัฐบาลเข้าร่วมความขัดแย้งนี้ด้วย โดยทำลายหมู่บ้านจำนวนหนึ่งแล้วย้ายถิ่นฐานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ประชากรที่ถูกย้ายใหม่นี้เป็นทหารเกณฑ์ใหม่สำหรับ พคท.[1]

ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม 2510 รัฐบาลดำเนินการตีโฉบฉวยต่อต้านการก่อการกำเริบจำนวนหนึ่งในกรุงเทพมหานครและธนบุรี จับกุมสมาชิก พคท. ได้ 30 คนรวมทั้งเลขาธิการพรรค ธง แจ่มศรี มีการจับกุมตามมาในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2511[5]

รัฐบาลวางกำลังกว่า 12,000 นายในจังหวัดภาคเหนือของประเทศในเดือนมกราคม 2515 ดำเนินปฏิบัติการนานหกสัปดาห์ซึ่งทำให้ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิตกว่า 200 คน ฝ่ายรัฐบาลมีทหารเสียชีวิต 30 นายและได้รับบาดเจ็บ 100 นาย[5]

ปลายปี 2515 กองทัพ ตำรวจและอาสารักษาดินแดน "เผาถังแดง" พลเรือนกว่า 200 คน[6] (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน)[7][8] ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย จังหวัดพัทลุง คาดว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งการ[6][9] ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ "รูปแบบการละเมิดอำนาจของกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย"[10] ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบที่ป่าเถื่อนในปี 2514–2516 ซึ่งทำให้มียอดพลเรือนเสียชีวิต 3,008 คนทั่วประเทศ[6] (ส่วนประมาณการอย่างไม่เป็นทางการว่ามีระหว่าง 1,000 ถึง 3,000 ในจังหวัดพัทลุงที่เดียว)[8] ผู้ที่ถูกฆ่าทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับ พคท. จนถึงเวลานั้นผู้ต้องสงสัยคอมมิวนิสต์ที่ถูกทหารจับกุมปกติถูกยิงข้างถนน มีการริเริ่มเทคนิค "ถังแดง" ภายหลังเพื่อกำจัดหลักฐานใด ๆ ผู้ต้องสงสัยจะถูกทุบตีจนเกือบหมดสติก่อนถูกทิ้งลงในถังน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น[11][12] ถังแดง 200 ลิตรมีตะแกรงกั้นเหล็ก โดยมีไฟด้านล่าง และผู้ต้องสงสัยอยู่ด้านบน[13]

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ท่ามกลางความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ยึดประเทศเช่นเดียวกับที่เกิดในเวียดนาม ตำรวจและกำลังกึ่งทหารโจมตีการเดินขบวนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณการอย่างเป็นทางการระบุว่ามีนักศึกษาถูกฆ่า 46 คน และได้รับบาดเจ็บ 167 คน[14]

ตั้งแต่ปี 2522 ท่ามกลางความเจริญของลัทธิชาตินิยมไทยและความเสื่อมของความสัมพันธ์จีน–เวียดนาม ภายใน พคท. เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง สุดท้ายฝ่ายนิยมเวียดนามแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มแยกต่างหาก ชื่อ "พรรคใหม่"[3]

ความพยายามยุติการก่อการกำเริบนำสู่นิรโทษกรรมซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 นายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 คำสั่งนี้มีผลสำคัญต่อความเสื่อมของการก่อการกำเริบ ในปี 2526 การก่อการกำเริบก็ถึงคราวยุติ[15]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Thailand" (PDF). Stanford University. 19 June 2005. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Communist Insurgency In Thailand" (PDF). CIA Report. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Anatomy of a Counterinsurgency Victory" (PDF). January 2007. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 Wilfred Koplowitz (April 1967). "A Profile of Communist Insurgency-The Case of Thailand" (PDF). The Senior Seminar in Foreign Policy 1966-67. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "The Communist Insurgency In Thailand". Marine Corps Gazette. March 1973. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  6. 6.0 6.1 6.2 Jularat Damrongviteetham (2013). Narratives of the "Red Barrel" Incident. p. 101.
  7. Tyrell Haberkorn (2013). Getting Away with Murder in Thailand. p. 186.
  8. 8.0 8.1 Matthew Zipple (2014). "Thailand's Red Drum Murders Through an Analysis of Declassified Documents": 91. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Summary of World Broadcasts: Far East, Part 3. Monitoring Service of the British Broadcasting Corporation. 1976.
  10. Kim, Sung Chull; Ganesan, Narayanan (2013). State Violence in East Asia. University Press of Kentucky. p. 259. ISBN 9780813136790.
  11. "[untitled]". The Bangkok Post. 30 March 1975. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  12. Peagam, Norman (14 March 1975). "Probing the 'Red Drum' Atrocities". Far Eastern Economic Review. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  13. "POLITICS: Thailand Remembers a Dictator". Inter Press Service. 18 June 2004. สืบค้นเมื่อ 29 June 2014.
  14. Handley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3, p. 236.
  15. Bunbongkarn, Suchit (2004). "The Military and Democracy in Thailand". ใน R.J. May & Viberto Selochan (บ.ก.). The Military and Democracy in Asia and the Pacific. ANU E Press. pp. 52–54. ISBN 1920942017. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.

ดูเพิ่ม