ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปฮอปไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 280: บรรทัด 280:


* kiko dogfu ไฟไฟ
* kiko dogfu ไฟไฟ
*
* Rah Gangsta
* SEA Crew
* White Trash
* Last 20
* DZ Clan
* W2DE
* TB Crew
* Hot Chronics
* Ballistic
* Golden Triangle
* Sing Zero
* N.M.C.
* 2 Lust For
* Thaiphoon
* Hashish
* Million Dollars
* Dogg Tribe
* The Real
* Flip Element
* Quasar Crew
* Namotazaa
* Afro Bros
* Dog Side
* Sukha Crew
* Y.K. Crew
* 8 Row
* N-PRO
* O.E.M.
* ASJ Crew
* Three Crown
* S.Venom
* D-Ex
* OC Crew
* Mcca
* The 25 Stang
* Crackboyz
* Three Kings and The Babe
* Young Che
* 3.2.1. ([[UrboyTJ]] Last aka TJ, [[กวินท์ ดูวาล|Gavin D]] และ Poppy)
* Areedungka
* Sukha Crew
*Rapake
* ฯลฯ


==เชิงอรรถและอ้างอิง==
==เชิงอรรถและอ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:36, 28 สิงหาคม 2562

ในประเทศไทยแนวฮิปฮอปหรือแร็ปยังไม่ได้อยู่ในกระแสหลักแต่มีศิลปินบุกเบิกอย่าง โจอี้บอย ก้านคอคลับและเพื่อนที่แยกกันไปอย่างไทเทเนี่ยม[1]

ประวัติ

ในประเทศไทย เพลงแร็ปได้ปรากฏเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2534[2]ในอัลบั้ม จ เ-ะ บ ของ เจตริน วรรธนะสิน ในสังกัดแกรมมี่ กับ ทัช ธันเดอร์ ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ในสังกัดอาร์เอส โดยในเวลานั้นทั้งคู่เสมือนเป็นคู่แข่งกัน แต่ว่าดนตรีของทั้งคู่ในเวลานั้นยังไม่ใช่แร็ปเต็มตัว เพียงแต่แฝงเข้าไปในทำนองเพลงป๊อปแดนซ์เท่านั้นเอง จนกระทั่ง เจ เจตรินได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ 108-1009 มาในปี พ.ศ. 2536 มีหลายเพลงในอัลบั้มที่เป็นแร็ปมากขึ้น โดยเฉพาะในเพลง ยุ่งน่า, สมน้ำหน้า นับเป็นแร็ปเต็มตัว และในเพลง ประมาณนี้หรือเปล่า ก็มีบางช่วงที่เป็นแร็ป แต่หลังจากนี้ เจตรินก็ไม่ได้ทำเพลงในลักษณะแร็ปออกมาอีกเลย จนกระทั่งอัลบั้มชุดใหม่ Seventh Heaven ในปลายปี พ.ศ. 2550 กับเพลง สวรรค์ชั้น 7

แร็พเตอร์ก็น่าจะถือเป็นศิลปินเพลงในแนวฮิปฮอปด้วยเพราะก็มีหลายเพลงที่มีแร็ปมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 2 อัลบั้มแรก คือ Raptor ในปี พ.ศ. 2537 อัลบั้มแรกของทั้งคู่ แนวเพลงเป็นแนวป๊อป และผสมกับแนวแร็ป ซึ่งจะนำเพลงดังในยุคนั้นของอาร์เอส มาทำใหม่และเพิ่มเติม เนื้อเพลงในส่วนที่เป็นท่อนแร็ป เช่น ซูเปอร์ฮีโร่ และอัลบั้ม Waab Boys ในปี พ.ศ. 2539 อัลบั้มที่สอง แนวเพลงจะแปลกไปจากชุดก่อนเพราะจะเป็นแนวป๊อปแดนซ์มากยิ่งขึ้น แต่ในเพลงก็ยังมีท่อนแร็ปมาผสมอยู่บ้าง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ อย่าพูดเลย[3]

แต่ว่า ศิลปินไทยที่นับว่าเป็นแร็ปเปอร์กลุ่มแรกจริง ๆ คือ ทีเคโอ[4] ในปี พ.ศ. 2536 สังกัดคีตา เรคคอร์ดส โปรดิวซ์โดย กมล สุโกศล แคลปป์ แต่ว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเพราะกระแสดนตรีไทยในเวลานั้นยังไม่อาจรับได้กับเพลงในลักษณะนี้

แร็ป มาประสบความสำเร็จครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อ โจอี้ บอย สังกัดเบเกอรี่ มิวสิก ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย เป็นชุดแรก ซึ่งเป็นแร็ปแท้ทั้งอัลบั้ม โดยในช่วงเวลานั้นกระแสการฟังดนตรีในเมืองไทยได้เปลี่ยนไปจากแนวดนตรีกระแสหลักไปสู่แนวอิสระมากขึ้น จึงทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมขึ้นมาด้วย

ในปี พ.ศ. 2544 แกรมมี่ ก็ได้มีศิลปินแร็ปออกมาอีกหนึ่งชุดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ ดาจิม

ต่อมาปี พ.ศ. 2547 ไทยเทเนี่ยม เป็นอีกหนึ่งวงฮิปฮอปได้ปล่อยอัลบั้ม และเป็นที่รู้จักคือเพลง ยักไหล่ กลายเป็นรันวงการ สมัยนั้นใครไปเหยียบคลับ แต่ไม่ได้ฟัง"ยักไหล่" แสดงว่าคุณยังไปไม่ถึงคลับ!

ถัดมาปี พ.ศ. 2549 บุดด้า เบลส สมัยนั้นฮิปฮอปที่รันวงการคงจะเป็นวงซะส่วนใหญ่ สุดท้าย บุดด้า เบลส ก้ได้มีเพลงติดหู Fire - Buddha Bless

หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2553 จากที่กระแสฮิปฮอปเงียบอยู่สักพัก ILLSLICK ก็ได้ปล่อยอัลบั้ม fixtape2 มีผลงานโด่งดังหลายเพลง และที่รู้จักกันก็คือเพลง : รักเมียที่สุดในโลก , ใจร้าย และ illslick ก็เป็นที่พูดถึงและมีผลงานดังเยอะแยะมากมายจากที่รันยาวนาน ถึงแม้จะมีเพลงดังเยอะ อิลสลิก ก็ยังคงความเป็น underground สูง เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้ติดตามจำนวนมาก

เพลงแร็ปในประเทศไทยมักจะมีคำไม่สุภาพหรือหยาบโลนเหมือนอย่างศิลปินในต่างประเทศ เช่น ไทเทเนี่ยม โจอี้ บอย และ ดาจิม (ในช่วงเป็นศิลปินใต้ดิน)

อนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว เพลงที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงแร็ปเพลงแรกของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ชื่อเพลง หมูแข้งทอง ในอัลบั้ม My Lover โดย มิสเตอร์แตงโม เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตนักมวยไทยชื่อดังในอดีต ผุดผาดน้อย วรวุฒิ[5]

ปี 2561 กลุ่ม Rap Against Dictatorship นำโดย Liberate P, Hockhacker ร่วมกับศิลปินหลายคน ได้ปล่อยซิงเกิ้ล "ประเทศกูมี" เป็นบทเพลงสะท้อนสังคม และเป็นเพลงที่ทำให้คนไทยสนใจการเมืองมากขึ้นจากช่วงรัฐประหาร และได้รางวัลที่ Václav Havel Prize for Creative Dissent ในงาน Oslo Freedom Forum ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์[6]

13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เว็บไซต์ Highsnobiety ได้เสนอคอลัม "10 Thai Rappers You Need to Know" (10 แร๊พเปอร์ไทยที่คุณต้องรู้) ได้แก่ 19TYGER เจ้าของเพลง "กูนะคลองเคย", Chink99 (นำเสนอ GT), Fiixd, J$R (Jayrun, Sir Poppa Lot และ Rahboy), Nur$etime (ปุ๊บปั๊บ และ Cyanide ได้กล่าวถึง), Og-Anic (Lazyloxy ได้กล่าวถึง), Pee Clock (Diamond ได้กล่าวถึง), Rap Against Dictatorship, UDT BOY$ และ Younggu[7]

ปี 2562 เดฟแจมเรเคิดดิงส์ ได้เปิดสาขาในประเทศไทยผ่านยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป Daboyway เป็นศิลปินคนแรกที่ได้เซ็นสัญญา ภายใต้เดฟแจมไทยแลนด์ พร้อมปล่อยอัลบั้มเดี่ยวภายในปี 2562[8]

วิวัฒนาการของฮิปฮอปไทย

การแบทเทิล และการแข่งขัน

ในปี พ.ศ. 2543 เริ่มมีการแบทเทิล แต่ยังไม่กว้างเหมือนในปัจจุบัน และได้ก่อศิลปินฮิปฮอปมากมายอย่าง [9] เช่น Twopee Southside เคยเป็นแชมป์ Singha Battle of The Year 2007 และ ILLSLICK ก็เคยได้แชมป์ SEA Audio Battle Vol.1 2008 ; เห็นได้ว่าศิลปินก่อนๆส่วนใหญ่โตมาและดังมากับแรปแบทเทิลจริงๆก็ว่าได้

ในปี พ.ศ. 2555 Rap Is Now ก็เป็นเวทีที่แข่งขันแรปแบทเทิลที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่เมืองไทย

ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงฮิปฮอป เริ่มนิยมในวงกว้างขึ้น จึงการประกวดบนดินขึ้นมา คือ รายการ เดอะแร็ปเปอร์ และ รายการ Show Me The Money Thailand ซึ่งทั้งสองรายการเริ่มมีเสียงทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งเรื่องการตัดสินของโปรดิวเซอร์ และผู้เข้าแข่งขัน ที่เน้นการร้องมากกว่า

เพลงฮิปฮอปเริ่มเป็นกระแสหลัก ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2560 กระแสเพลงฮิปฮอป กลับมาโด่งดังอีกครั้ง หลังจากสมาชิกวง ไทยเทเนี่ยม แต่ละคนอยู่ในช่วงกำลังสร้างครอบครัว ในยุคที่อินเตอร์เน็ท โดยเฉพาะยูทูบ ที่กำลังแข่งขันสูง กลับกลายเป็น PMC (ปู่จ๋านลองไมค์) ในซิงเกิ้ล "แลรักนิรันดร์กาล" มียอดวิวเกิน 204 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) ต่อมา ILLSLICK เจ้าพ่อเพลงรัก ดังไม่มีตกจริงๆ ได้ปล่อยซิ้งเกิ้ล "ถ้าเธอต้องเลือก" ในช่วงที่ฮิปฮอปมีระบบสตีมมิ่งมีบทบาทในไทย มียอดวิวเกิน 300 ล้านวิว

YOUNGOHM ศิลปินไฟแรงจากกลุ่ม Rap Is Now ปล่อยซิงเกิ้ล "เฉยเมย" มียอดวิวเกิน 110 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) กลับกลายเป็นศิลปินหน้าใหม่อย่างเป็นทางการหลังจากปล่อยเพลงฟรีสไตร์ในเพลง "ไม่ต้องมารักกู" ในปี พ.ศ. 2558 (ใช้แซมเปิ้ลเพลง oui ของ Jeremih) มียอดวิวเกิน 20 ล้านวิว และได้ผลักดันศิลปิน อย่าง Fiixd, Doper Doper, NICECNX, P-Hot, Wonderframe รวมถึงวงร๊อกอย่าง เก็ตสึโนวา รวมถึงยอดร้อยล้านวิวเร็วที่สุด ในซิ้งเกิ้ล "ดูไว้" และ "ธารารัตน์", D Gerrard ในซิงเกิ้ล "GALAXY" มียอดวิวเกิน 106 ล้านวิว และซิ้งเกิ้ล "เกาะสวาทหาดสวรรค์" ร่วมกับ Gavin D และได้ร่วมงานกับศิลปินฮิปฮอประดับตำนานอย่าง P9d ในเพลง "มายา", UrboyTJ ในซิงเกิ้ล "วายร้าย" มียอดวิวเกิน 100 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561), เก่ง ธชย ร่วมกับ Tossakan ในซิงเกิ้ล "หัวใจทศกัณฐ์" มียอดวิวเกิน 133 ล้านวิว (รวม 2 เวอร์ชัน เนื้อร้อง และ มิวสิควีดีโอ) , Og-Anic ซิ้งเกิ้ล "รู้ทั้งรู้" (ในเวอร์ชั่นแรกใช้แซมเปิ้ลเพลง Honey ของ Nu J) และได้ทำปล่อยเวอร์ชั่นเป็นทางการ โดย NINO ได้โปรดิวเซอร์ ใหม่ทั้งหมด ซิ้งเกิ้ล "อยากนอนกับเธอ" ของ เด็กเลี้ยงควาย และ "เป็นไรไหม" ร่วมกับ Lazyloxy มียอดวิวเกิน 200 ล้านวิว และ ได้ร่วมงานกับ F. Hero โปรดิวเซอร์รายการเดอะแร๊พเปอร์ ซิ้งเกิ้ล "มีแค่เรา"

รวมถึงโปรดิวเซอร์ NINO เป็นโปรดิวเซอร์กระแสหลัก เริ่มทำงานให้ F. Hero, J$R, TM303, Fiixd ฯลฯ[10] และเป็นผู้บริหารค่าย Yupp ร่วมกับ Rap Is Now และ Freshment[11]

ที่มียอดรวมวิวเกิน 30 ล้านวิว อย่าง Bossa On the Beat (ผลงานสร้างชื่อ "พอจะรู้" ของ Meyou.) และได้มีโอกาสแสดงฝืมือในซิงเกิ้ล "แอบบอกรัก" ของ เจ้านาย ลูกชายของ เจตริน วรรธนะสิน ร่วมโปรดิวกับ Stickyrice Killah, T-BIGGEST โปรดิวเซอร์จากทีม 8garad ได้โปรดิวเซอร์ซิงเกิ้ล "ยอม...ปล่อย" (Let you go) ที่ออกในทางป๊อปแร๊ปของ Cyanide ร่วมกับ Lazyloxy ยอดรวมวิวเกิน 150 ล้านวิว

การใช้ออโต้จูนในเพลงฮิปฮอป เริ่มนำมาใช้มาขึ้นโดนศิลปินคนแรกคือ Thaiboy Digital แล้วส่งต่อให้กับศิลปินอย่าง Younggu, YOUNGOHM, Fiixd และหลายๆ คน เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น เริ่มมีเสียงวิจารณ์ทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากคำที่ร้องไปบางทีไม่ชัด บางเพลงก็สูญเสียความเป็นตัวเอง

ปี 2562 แกรมมี่ และ Rap Is Now ร่วมกันเปิดโปรเจ๊คพิเศษเพื่อความหลายแก่คนฟัง Rapisode (เป็นการ Cover ในสไตร์ Hip-Hop) และ FUSE เป็นการผสมผสานความหลากหลายของทุกแนวเพลง

ดนตรีแทร๊ป ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงแทร๊ปจากอเมริกาเริ่มเข้ามาในประเทศไทย ศิลปินรุ่นแรกที่ทำเพลงแนวแทร๊ป ได้แก่ Ben Bizzy, TM303 รวมถึง Younggu ณ เวลานั้น, VKL รวมถึง Khun OC, TARVETHZ และ 2GBOY ซึ่งเวลานั้นฮิปฮอปในไทยกลับสู่กระแสหลักอีกครั้ง แทร๊ป ณ เวลานั้นยังไม่เปิดเผยมากนัก จนกระทั่ง Young Bong & Bongton ได้ทำเพลงแทร๊ปอย่างจริงจัง หลายเพลงอย่าง "อีกา", "ควัน" ร่วมกับ Daboyway, "เยติแก๊ง" จนมีโชว์หลาย ๆ ที่ จนเป็นที่รู้จัก

ปี พ.ศ. 2562 1Mill ได้เปิดช่องยูทิวปี พ.ศ. 2559 หลายเพลงและเริ่มพัฒนาตัวเอง จนเข้าตา Fiixd จนมีเพลง "NRN" อยู่ในอัลบั้ม "More Nights In Thonglor" และได้เปิดตัวต่อสาธารณะชน หลังจากเริ่มเรียนมัธยมปลาย (ม.4) กลับค้นพบตัวเองว่าการทำเพลง น่าจะประสบความสำเร็จกว่า จึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน มาอยู่กรุงเทพอย่างจริงจัง, ซิงเกิ้ล "เงินหมื่น" เป็นซิงเกิ้ลอย่างทางการ จนได้รับความนิยมในสตีมมิ่ง itunes รวมถึงการร่วมงานกับ MAYA (Warpgvng) ยูทิปเปอร์ข่าวฮิปฮอปต่างประเทศ, Bongpton, PeterSmoke จาก MQT, 18 Crowns และ YungTwekie และได้เปิดตัวEP "งู" ในวันที่ 25 พฤษภาคม กลายเป็นแร๊ฟเปอร์ที่น่าจับจากมองอีกคน[12] และทำให้วงการแทร๊ปในไทยเป็นที่เปิดเผย และได้เปิดตัวโปรดิวเซอร์แทร๊ปอย่าง BIGYA$EN, SixkyoungO, MAYA (Warpgvng) และ NINO กลับโปรดิวในเพลงแนวแทร๊ปอีกครั้งอย่าง "มนต์รักนักแร๊ฟ" และ "ไม่เอา" รวมถึง Diamond Rap Battle ชื่อดังที่อายุน้อยที่สุด และอีกหลาย ๆ คนได้เริ่มทำเพลงแนวนี้ตาม ๆ มา

รายชื่อศิลปินแนวฮิปฮอปในประเทศไทย

ศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

  • ดาจิม
  • B-King
  • P9d
  • J$R (Jayrun, Sir Poppa Lot และ Rahboy)
  • UrboyTJ
  • RIVER RHYME Black Sheep RR, Maiyarap, John Takashi, Repaze, Zeesky
  • NICECNX
  • YOUNGOHM
  • Fiixd
  • YB Gang aka Young Bong & Bongton (JAHMAN, NGAZ, LIL ICE, NROLL, COMZOMBIE) (BILLBA เสียชีวิต เนื่องจากเสพยาเกินขนาด)
  • Thaiboy Digital
  • Mindset
  • Tossakan
  • กบ FLAT BOY
  • Og-Anic
  • Lazyloxy
  • Oak
  • CobraK
  • PMC ปู่จ๋านลองไมค์
  • MC-King  
  • UMA
  • CP สมิง
  • Mikesickflow
  • Eazy I Am
  • D Gerrard
  • Way-G
  • KQ
  • ปุ๊บปั๊บ & หมวดแวน
  • PAE BANGKOKBOI
  • Nil Lhohitz (NLHz)
  • G-Bear
  • Torded
  • Diamond
  • Younggu
  • P-Hot
  • 1Mill
  • ROOTKIT < Bank
  • The old i$e (CD กันต์ธีร์ และ Dawut)
  • Rap Against Dictatorship (Liberate P, Dif Kids, K.Aglet, G-Bear, Hockhacker)
  • Ben Bizzy

ศิลปิน เดี่ยว ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน

  • kiko dogfu ไฟไฟ
  • Sololist (032westtown)
  • Liberate P
  • PP'Dreams
  • M-FLOW
  • Jigsaw
  • นายนะ
  • Cyanide
  • เด็กเลี้ยงควาย
  • LINEMIND
  • Ice Maiden (ปรากฎอีกครั้งในรายการ เดอะแร็ปเปอร์)
  • Ben Bizzy
  • แร๊พอีสาน & PPP
  • Doper Doper
  • FUUALONE HAPPYRICH
  • Ironboy
  • Jonin
  • Sonofo
  • ตาเนม
  • STAMP-ST
  • TIMETHAI
  • Cnan (อดีตสมาชิก KamiKaze)
  • Tarvethz
  • Maxsickboy
  • Urius
  • Chitswift
  • Dif Kid
  • Halibavg
  • Arttilla
  • YOUNGTERK
  • Princefiend
  • 8botsboyz
  • เคนน้อยร้อยลีลา
  • OZEEOOS
  • Estee
  • Highhot
  • Nursetime
  • Perm.yarb
  • Finn Play
  • Ling of King
  • Neykofear
  • Hymnnae
  • LVRK
  • Jahrom
  • Darkface
  • NANA
  • ยงบอย
  • Feeling
  • สิงห์น้อย
  • NameMT
  • Dreamhigh
  • Charred
  • Pandaboyz
  • K-Aglet
  • Guy James
  • Redtail
  • Angie Gelato (อดีตสมาชิก KamiKaze)
  • K.kron
  • Lykenz
  • Ph4niyah
  • Frankie CH.
  • Frax Granade
  • Tahmag
  • D3
  • Chasvii
  • M-pee
  • Autta
  • Ttbros
  • Mangkodpup
  • Dondy
  • Santi
  • sssunshine
  • I'm tist
  • Rafa
  • 23street
  • G-Zon
  • Ozmosisz
  • Kxngb
  • Squareboy
  • M.Foray
  • Super-B
  • Amazing
  • Hassadin
  • Zeesky
  • ZO9
  • Rever Rhuem
  • Monkey P
  • Killerflow
  • Neversole
  • Macnum
  • Part Kieran (อดีตสมาชิก XIS, KamiKaze)
  • Johnny Def
  • J JAZZSPER
  • NewBlood
  • Charlie.g
  • MIUMIU
  • BORAX
  • Wangpha
  • Ramasuon
  • Thissmc
  • ฟิต มิตร ด้าม
  • ZPY
  • Christopher
  • Saran
  • Icespazz
  • Milli
  • Sunthii
  • POSS
  • หัวปลาวาฬ
  • Pompadour
  • Mratyamic
  • ICE I AM

โปรดิวเซอร์ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป

  • kiko dogfu ไฟไฟ
  • Sweeny
  • Roony
  • เหลื่อมทอง สนองตัณหา
  • BIGYA$EN
  • โจอี้บอย
  • DeejayB
  • Freshment
  • Spatchies
  • Staygold
  • Snuff
  • 20 October

ศิลปิน กลุ่ม ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน

  • kiko dogfu ไฟไฟ
  • J$R (Jayrun, Sir Poppa Lot และ Rahboy)
  • Thaikoon (Big P, Dennis tha Menace, KK, Danny B, DJ SG, JCN และ N-A-Double-T)
  • Sweed Dream Records (VKL, Trip J, Bank Tazz, callmeYoung, Maxkk, Beem Loei)
  • TM303 (Dandee, NJ Henessy, MD Mochio, FollowJoJoe ในปัจจุบัน) (Younggu, Rahboy ในอดีต)
  • Z4records (Mikezickflow, M-FLOW, Darkface, Nil Lhohitz, 23Street, Repaze, Zeesky, Monkey.P, Nachot, P$J, KXNGB, Neversole, Skinnybankk, King.B, ฯลฯ)
  • Chink99 (GT, Htwo, Coco และ Halibavg) (Way-G, Halibavg ในอดีต)
  • 8garad (T-BIGGEST, IMMAFXRD, 8BOTSBOYZ, NICECNX, AOF UFO, PNPEE, BVSE)
  • Pattaya Boi (PEE CLOCK, G-Bear, Guy James, Nickname ฯลฯ)
  • Zigga Rice (Ziggavoy และ Stickyrice Killah)
  • UDT BOY$ & UDT JR (Sweeny, Sunnybone, HN, A$CE(A2), G Flex, Lil Slum, Wintan, ฯลฯ) (Bossa On the Beat ในอดีต)
  • MQT SQUAD (Suriya, Diamond, DELAY, VANGOE, Perm.yarb , Flowmanz , Petersmoke , tawanbullet , jakkaphat)
  • Warpgvng (MAYA, Arttilla, Petersmoke, Lil Angpao, Tarvethz, Khun OC, BrainDogg)
  • The Foolest (ปรัชญาไมค์, King Aglet, LVRK)
  • The old i$e (CD กันต์ธีร์ และ Dawut)
  • Hurrikanez (Kevin, Rifle, เสือดาว)
  • 18Crown
  • BPKBOYZ

ศิลปิน กลุ่ม ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ในอดีต

  • kiko dogfu ไฟไฟ
  • Sming Crew (Cruel Pistol, Bongzera, ฯลฯ)
  • Raw Uncut (Zero, Zeehot, Kappa และ Redfaze)
  • Dude Boi (Professor Jay และ Sir Poppa Lot)
  • Souls Of Siam Family (Dakotaa Jade(ตอนนี้ติดเหล้าอย่างหนักและกำลังเป็นโรคซึมเศร้า), Young Jack, Miyabi, Groovy Bee, ฯลฯ)
  • 6ick Town (Liberate P, Razzle D และ Slipyer)
  • None (Roony, Aper, Way-G และ Arm)
  • Young Esvn (Ben Bizzy, Estee, Fiixd, Jomjam, Rahboy และ VKL)
  • สัมฤทธิ์ผล (Buffalo,A HingSa,Nazesus,dumbell,Sir Not)
  • Nefhole (NUKIE.P, ZGRAMM, TE(K-twin), LJ(K-twin), YB(KidzBoss),ฯลฯ)
  • Civilize (MC King, Repaze, Zeesky, Uma และ Keep2Sky)
  • Rap is Now Alumni (MC King, Darkface, Nil Lhohitz, 23Street, Repeze, Zeesky, Monkey P, ZO9, Tossakan, Maiyarap, Uma, Neversole, Halibavg, ฯลฯ)
  • Real Records (P9d, ปรัชญาไมค์, King Aglet,ฯลฯ)
  • p.w.o.d (ILLSLICK, น้าเน็ก, SPIPEKY, AEKKY, NUKIEPE, YOUNG TRIP, DM)
  • 4กุมาร (ดาจิม, CPสมิง, DJsnap, DJKKB)

ศิลปินที่มีชื่อเสียง ในอดีต

  • kiko dogfu ไฟไฟ

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Thaitanium releases sixth album: "Still Resisting" | CNN Travel". Travel.cnn.com. 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  2. ในปกเทปอัลบั้ม ทัช ธันเดอร์ ของทัช ณ ตะกั่วทุ่ง เนื้อเพลง เท้าไฟ ซึ่งแต่งโดย ธนพล อินทฤทธิ์ มีคำว่า แร็ป ปรากฏขึ้น แต่สะกดคำว่า แร็ป เป็น RAB ซึ่งสะกดผิด
  3. BigChild (Jun 9, 2015). "แฟนพันธุ์แท้ - บอยแบนด์ & เกิร์ลแก๊ง 07ก.ค. 2006". แฟนพันธุ์แท้ 2006.
  4. ย้อนวันวาน TKO ต้นฉบับวงแรป วงแรกของไทยจากเอ็มไทยดอตคอม
  5. "แฟนพันธุ์แท้ 2014 มวยไทย". แฟนพันธุ์แท้ 2014. Apr 5, 2014.
  6. https://www.matichon.co.th/politics/news_1511559
  7. https://www.highsnobiety.com/p/best-thai-rappers-2019/
  8. http://music.trueid.net/detail/nLMnzVQMQMnq
  9. https://www.rapisnow.com/blog/battle-winners/
  10. https://www.youtube.com/watch?v=cbadPM3V6zY&t=883s
  11. http://music.sanook.com/2401297/
  12. https://www.youtube.com/watch?v=2I1tcY07J-A&t=719s