ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ตลก
ป้ายระบุ: อิโมจิ การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
😎😊😎😚😎😋😋😋😋😋😋😋😊😊😊😊😊😙😉😃😉😃😋😋😋😋😋😋😊😊😉😊😊😉😉😊😉😊😞😧😟😖😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😩😨😤😞😨😟😧😤😧😩😩😨😞😞😞😞😞😨😨😨😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧👿😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😖😨😨😨😨😩😨😵😨😨😵😨😵😡😡😡😵😨😳😧😳😧😧😵😨😳😧😧😧😧😵😧😧😵😵😵😵😵
พระราชกรณียกิจหลักในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แก่ '''การทำสงคราม''' เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักร และขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง


== การรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ==
== การรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:27, 23 สิงหาคม 2562

😎😊😎😚😎😋😋😋😋😋😋😋😊😊😊😊😊😙😉😃😉😃😋😋😋😋😋😋😊😊😉😊😊😉😉😊😉😊😞😧😟😖😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😩😨😤😞😨😟😧😤😧😩😩😨😞😞😞😞😞😨😨😨😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧😧👿😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😖😨😨😨😨😩😨😵😨😨😵😨😵😡😡😡😵😨😳😧😳😧😧😵😨😳😧😧😧😧😵😧😧😵😵😵😵😵

การรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น

พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้เตรียมเรือและกำลังจะขึ้นไปตี เมืองพิษณุโลก ครั้นถึงฤดูน้ำนอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกำลังขึ้นไปทางเหนือเจ้าพิษณุโลกให้หลวงโกษา ยัง คุมกำลังมาตั้งรับบริเวณ ปากน้ำโพ เมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาถึงก็ได้มีการรบพุ่งกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกปืนเข้าที่พระชงฆ์ (แข้ง) กองทัพกรุงธนบุรีจึงถอยกลับคืนพระนครเจ้าพิษณุโลกทราบข่าวก็ปราบดาภิเษกตัวเองขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแต่อีก 7 วันต่อมาก็ถึงแก่พิราลัย[1] ชุมนุมพิษณุโลกก็อ่อนแอลง ไม่นานก็ถูกผนวกรวมกับชุมนุมเจ้าพระฝาง[2]

ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าแผ่นดิน "หุ่นเชิด"[3] ของชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ พระองค์จึงถูกนำตัวกลับมายังกรุงธนบุรี และทรงถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[4]

ราวเดือน 4 พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกำลัง 5,000 คน ยกไปตี เมืองนครศรีธรรมราช ทางบกเมื่อยกไปถึงท่าหมาก แขวงอำเภอลำพูน แม่ทัพธนบุรีไม่สามัคคี ตีค่ายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชไม่พร้อมกันจึงเสียทีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบและประเมินสถานการณ์แล้ว จึงเสด็จยกกองทัพเรือกำลัง 10,000 คน ยกลงไปช่วย ขึ้นบกแล้วเคลื่อนทัพต่อไปจนถึงเมืองไชยา ก่อนจะเข้าตีนครศรีธรรมราช ฝ่ายกองทัพเรือธนบุรีก็ไปถึงเช่นกันกองทัพกรุงธนบุรีจึงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้วตามไปตีเมือง สวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้จึงนับได้ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว

การปกป้องแผ่นดิน

ภาพจิตรกรรมการรบที่บางแก้ว

ครั้น พระเจ้ามังระ กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โก้นบอง ทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้งจึงได้มีพระบรมราชโองการให้ แมงกี้มารหญ้า[5] เจ้าเมือง ทวาย ยกทัพมาปราบปราม กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรีมีกำลังตามพระราชพงศาวดาร 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่ายกิตติศัพท์ที่รบชนะทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น[6] ราวปี พ.ศ. 2311 พระองค์ก็ยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกอีกแต่กระสุนปืนเข้าที่พระชงฆ์ (แข้ง) จึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร

หลังหายจากพระอาการประชวรแล้วในระหว่างปี พ.ศ. 2312-2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย[7] ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช[8] และชุมนุมเจ้าพระฝางตามลำดับ[9] เมื่อปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ[10] นอกจากการต่อสู้เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้วยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัยทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง ดังนี้

  • สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. 2310 เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเจ้าเมืองเวียงจันทน์มีใจฝักใฝ่พม่าได้กราบทูลข่าวการตั้งตัวเป็นใหญ่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้พระเจ้ามังระทราบพระองค์จึงมีบัญชาให้ แมงกี้มารหญ้า เจ้าเมืองทวายคุมกำลังมาตรวจตราแผ่นดินไทยมีหน้าที่ปราบปรามผู้ที่กำเริบตั้งตนเป็นใหญ่ แมงกี้มารหญ้ายกทัพเข้ามาทางเมืองไทรโยคในฤดูแล้งปลายปี พ.ศ. 2310 เมื่อทัพมาถึงบางกุ้งแขวงเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งมีค่ายทหารจีนของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ก็สั่งให้ทหารเข้าล้อมค่ายนั้นไว้ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นทัพหน้ามีพระองค์เป็นทัพหลวงโจมตีข้าศึก แมงกี้มารหญ้าเห็นสู้ไม่ได้ก็ยกทัพถอยไปทางเมืองทวายทางด้านเจ้าขว้าว ทำให้กองทัพไทยยสามารถยึดเรือรบ เครื่องศัตราวุธ และเสบียงอาหารเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เมืองราชบุรรยังตกอยู่ใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี อีกทั้งยึดได้กองทัพเรือพม่าซึ่งตั้งอยู่ที่นั่นด้วย[11]
  • สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. 2313 รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมืองสวรรคโลก ไทยสามารถตีแตกไปได้[9]
  • สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2314 เป็นการรบกับพม่าเมื่อฝ่ายไทยยกไปตีนครเชียงใหม่ครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดเสบียง[12]
  • สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ. 2315 โปสุพลา แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองเวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง ขากลับแวะตีเมืองพิชัยแต่ไม่สำเร็จ[13]
  • สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ. 2316 พม่ายกมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2 แต่พม่าตีไม่สำเร็จ พระยาพิชัยได้สร้างวีรกรรม พระยาพิชัยดาบหัก [14]
  • สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2317 กองทัพไทยชนะยึดนครเชียงใหม่กลับจากพม่าได้ เพราะชาวล้านนาออกมาสวามิภักดิ์กับไทยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแต่งตั้งให้ พระยาจ่าบ้าน เป็น พระยาวิเชียรปราการ ปกครองนครเชียงใหม่ พระยากาวิละ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กาวิละปกครองนครลำปาง และ พระยาลำพูน เป็นพระยาวัยวงศาปกครองเมืองลำพูน การครั้งนี้จึงได้ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และ น่าน กลับมาเป็นของไทย[15]
  • สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามจับพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรีโดยบัญชาการทัพด้วยพระองค์เองตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราชในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความเกรงกลัวพม่า[16]
  • สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึกมีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้น มี เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คนเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คนล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คนเท่านั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปช่วย ในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับเนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินมังระเสด็จสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ[17]
  • สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ไพร่พล 6,000 คนยกมาตีเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่านครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์เจ้าเมืองพิษณุโลกคุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกับกองกำลังของพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง และยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่[18]

การขยายอาณาเขต

แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
การขยายอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์

พ.ศ. 2322 ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระแก้วมรกต และพระบางมาสู่กรุงธนบุรี

การอาณาเขตไปยังกัมพูชา

พ.ศ. 2324 ยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร

อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้

การขยายอำนาจเข้าสู่อาณาจักรลาว (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) โดยตรงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เช่นเดียวกับการขยายอำนาจสู่เขมร

ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

อ้างอิง

  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 151.
  2. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 153.
  3. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 156.
  4. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 158.
  5. ธีระชัย ธนาเศรษฐ. เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.
  6. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.
  7. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 36-38
  8. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบรัดเล, หน้า 41-49
  9. 9.0 9.1 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 50-53
  10. นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.
  11. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 33-34
  12. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 56-58
  13. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 56-61
  14. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 68
  15. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า 68-78
  16. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล, หน้า
  17. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 128-146
  18. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 177

บรรณานุกรม

  • กรมตำรากระทรวงธรรมการ. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4. --พระนคร : กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. มติชน. ISBN 9789740201779.
  • ธีระชัย ธนาเศรษฐ. เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด.

ดูเพิ่ม