ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{{{{Bonjour((((good}}}
{{กล่องข้อมูล แผ่นดินไหว
| title = แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
| image = Patong Rubble.jpg
| imagecaption = ความเสียหายที่[[หาดป่าตอง]] [[จังหวัดภูเก็ต]] หลังคลื่นสึนามิพัดถล่ม
| date = [[26 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2547]]
| origintime = 00:58:50 [[เวลาสากลเชิงพิกัด|UTC]] <br /> (07:58:50 [[UTC+7|เวลาท้องถิ่น]])
| map =
| map_alt =
| map_caption =
| map2 = {{Location map |
| relief = y
| label =
| lat = 3.316
| long = 95.854
| mark = Bullseye1.png
| marksize = 40
| position = top
| width = 280
| float = right
| caption =}}
| magnitude = 9.1-9.3 [[แมกนิจูด|M<sub>w</sub>]]

ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ lX ตามมาตราเมอร์คัลลี่
| depth = 30 [[กิโลเมตร]] (19 [[ไมล์]])
| location = {{Coord|3.316|N|95.854|E|type:event_scale:|display=inline, title}}
| type = [[แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์]]<br/>[[แผ่นดินไหวใต้ทะเล]]<br/> ([[เขตมุดตัวของเปลือกโลก|เขตมุดตัว]])
| countries affected = [[อินโดนีเซีย]], [[ศรีลังกา]], [[อินเดีย]], {{THA}}, [[มัลดีฟส์]], [[โซมาเลีย]], [[พม่า]], [[มาเลเซีย]], [[แทนซาเนีย]], [[เซเชลส์]], [[บังคลาเทศ]], [[แอฟริกาใต้]], [[เยเมน]], [[เคนยา]], [[มาดากัสการ์]]
| tsunami = ใช่ (สูงสุด 30 เมตร)
| casualties = ผู้เสียชีวิต 230,210 – 280,000+ ราย<ref>[http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/world/most_destructive.php Earthquakes with 50,000 or More Deaths]</ref><ref name=BBC280>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/4204385.stm |title=Asia-Pacific &#124; Indonesia quake toll jumps again|publisher=[[BBC News]] |date=2005-01-25}}</ref>
}}

'''แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547''' เป็น[[แผ่นดินไหว]]ใต้ทะเล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.58 น. ตาม[[UTC+7|เวลาในประเทศไทย]] (00:58 [[เวลาสากลเชิงพิกัด|UTC]]) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใน[[มหาสมุทรอินเดีย]] ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือ[[เกาะสุมาตรา]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย

แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้[[มหาสมุทรอินเดีย]] กระตุ้นให้เกิด[[คลื่นสึนามิ]]สูงราว 30 เมตร<ref name=Paulson>Paulson, Tom. "[http://web.archive.org/20101205010745/www.seattlepi.com/local/211012_tsunamiscience07.html New findings super-size our tsunami threat]." ''Seattlepi.com.'' February 7, 2005.</ref> เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ [[ประเทศอินโดนีเซีย]] รองลงมาคือ[[ประเทศศรีลังกา]] [[ประเทศอินเดีย]] และ[[ประเทศไทย]] ตามลำดับ

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่าง[[แมกนิจูด]] 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์ ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สามตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismometer) นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด โดยการสังเกตคาบเวลาอยู่ที่ประมาณ 8.3 ถึง 10 นาที ส่งผลให้แผ่นดินทั่วทั้งผืนโลกเคลื่อนตัวไปถึง 1 เซนติเมตร <ref>Walton, Marsha. "[http://edition.cnn.com/2005/TECH/science/05/19/sumatra.quake/index.html Scientists: Sumatra quake longest ever recorded]." ''[[CNN]].'' May 20, 2005</ref> และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวในจุดอื่น ๆ ของโลกอีกด้วย <ref>West, Michael; Sanches, John J.; McNutt, Stephen R. "[http://www.sciencemag.org/cgi/content/abstract/308/5725/1144 Periodically Triggered Seismicity at Mount Wrangell, Alaska, After the Sumatra Earthquake]." ''[[Science Magazine|Science]].'' Vol. 308, No. 5725, 1144–1146. May 20, 2005.</ref>


== ลักษณะแผ่นดินไหว ==
== ลักษณะแผ่นดินไหว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:07, 21 กันยายน 2561

{{{{{Bonjour((((good}}}

ลักษณะแผ่นดินไหว

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ใกล้กับ เกาะซิเมอลูเอ ของอินโดนีเซีย

แผ่นดินไหวถูกบันทึกครั้งแรกด้วยค่าความรุนแรงแมกนิจูด 8.8 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้ปรับเพิ่มเป็นแมกนิจูด 9.0[1] โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิมหาสมุทรแปซิฟิกได้ยอมรับค่าใหม่นี้ ส่วนสำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey) ยังคงยึดค่าเดิมที่ประมาณการไว้ที่แมกนิจูด 9.1 ด้านผลการศึกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2549 บ่งชี้ว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวมีค่าระหว่างแมกนิจูด 9.1–9.3 อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์ฮิโระโอะ คะนะโมริ (Hiroo Kanamori) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียแนะนำว่าแมกนิจูด 9.2 เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าตัวแทนสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งนี้[2]

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดีย ลึกลงไป 30 km (19 mi) จากระดับน้ำทะเล ห่างจาก เกาะซิเมอลูเอ ไปทางทิศเหนือประมาณ 160 km (100 mi) ซึ่งตัวเกาะตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวถึง 1,300 km (810 mi)[3] ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและตามด้วยคลื่นสึนามิ ประชาชนในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ และมัลดีฟส์รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว[4] จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที และเกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองล็อกนา (Lhoknga) ใกล้กับเมืองบันดาอาเจะฮ์ จนราบเป็นหน้ากลอง[5]

ด้านธรณีสัณฐาน อินโดนีเซียตอนเหนือและตะวันออกใกล้กับนิวกินีจะตั้งอยู่บนแนววงแหวนแห่งไฟแห่งแปซิฟิก ส่วนตอนใต้พาดไปทางตะวันตกของประเทศเป็นแนวแผ่นดินไหวเรียกว่า แนวแอลไพด์ ผ่านเกาะติมอร์ โฟลเร็ซ บาหลี ชวา และเกาะสุมาตรา

แผนภูมิวงกลม แสดงขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวที่วัดได้ทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906–2005 เปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่ละครั้ง แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียแสดงสีน้ำเงินเข้ม

แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นในเขตมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดเมกะทรัสต์อยู่เสมอ มีค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวสูงในระดับศตวรรษ โดยหากรวมค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 จนถึง 2005 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียครั้งนี้จะมีขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวถึง 1 ใน 8 ของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว นอกจากนี้ หากรวมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อะแลสกา ค.ศ. 1964 และที่ชิลี ค.ศ. 1960 จะมีขนาดโมเมนต์สูงถึงครึ่งหนึ่งของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว หากเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกปี ค.ศ. 1906 กับแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่าครั้งนั้นมีขนาดเล็กมาก (หากแต่ครั้งนั้นเกิดความเสียหายไม่แพ้กัน)

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1900 แผ่นดินไหวในครั้งนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากแผ่นดินไหวในชิลี ค.ศ. 1960 (แมกนิจูด 9.5) และแผ่นดินไหวในอะแลสกา ค.ศ. 1964 (แมกนิจูด 9.2) นอกจากนี้มีอีกเพียงสองครั้งที่มีขนาดแมกนิจูด 9.0 ได้แก่ แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกของรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1952[6] และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกแทบทั้งสิ้น ถึงกระนั้นกลับมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักคือ ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีประชากรอาศัยเบาบาง พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านั้นมาก รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภคและระบบเตือนภัย เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดเมกะทรัสต์) ครั้งอื่น เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ในประเทศเปรู (แผ่นเปลือกโลกนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1827 ในโคลอมเบีย (แผ่นนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1812 ในเวเนซูเอลา (แผ่นแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาใต้) และแผ่นดินไหวคาสคาเดีย ค.ศ. 1700 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา (แผ่นฮวนเดอฟูกาและแผ่นอเมริกาเหนือ) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คาดว่ามีความรุนแรงมากกว่าแมกนิจูด 9 แต่ไม่มีตัวเลขชัดเจนถึงขนาดที่แท้จริงในขณะนั้น

ภาพเคลื่อนไหวของคลื่นสึนามิสุมาตรา (ที่มา: องค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

สรุปความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิต

ประเทศที่ได้รับความเสียหาย ยืนยัน โดยประมาณ ได้รับบาดเจ็บ สูญหาย ไร้ที่อยู่อาศัย
ประเทศอินโดนีเซีย 130,736 167,799 n/a 37,063 500,000+
ประเทศศรีลังกา2 35,322 35,322 21,411 n/a 516,150
ประเทศอินเดีย 12,405 18,045 n/a 5,640 647,599
ประเทศไทย 5,395 8,212 8,457 2,817 7,000
ประเทศโซมาเลีย 78 289 n/a n/a 5,000
ประเทศพม่า 61 400–600 45 200 3,200
ประเทศมัลดีฟส์ 82 108 n/a 26 15,000+
ประเทศมาเลเซีย 68 75 299 6 n/a
ประเทศแทนซาเนีย 10 13 n/a n/a n/a
หมู่เกาะเซเชลส์ 3 3 57 n/a 200
ประเทศบังกลาเทศ 2 2 n/a n/a n/a
ประเทศแอฟริกาใต้ 2 2 n/a n/a n/a
ประเทศเยเมน 2 2 n/a n/a n/a
ประเทศเคนยา 1 1 2 n/a n/a
ประเทศมาดากัสการ์ n/a n/a n/a n/a 1,000+
รวม ~184,167 ~230,273 ~125,000 ~45,752 ~1.69 ล้าน

ผลกระทบในประเทศไทย

แผนที่แสดงประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ

ความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน

ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ต่อมาได้มีการรับแจ้งจากญาติพี่น้องของผู้ประสบภัยภายหลังการเกิดเหตุ จำนวนดังกล่าวนี้ลดลงเพราะได้พบผู้ที่รับแจ้งว่าสูญหายบางคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบเอกลักษณ์ของศพที่เก็บรักษาไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ในรายงานของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังทำให้ คุณพุ่ม เจนเซน พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระโอรสใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ถึงแก่อนิจกรรมด้วย นอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีความเสียหายในด้านทรัพย์สิน ได้แก่ บ้านเรือนของราษฎร โรงแรม บังกะโล เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาท [7]

ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 8 แห่ง คือ

ภาพเหตุการณ์ประชาชนกำลังวิ่งหนีคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่จังหวัดภูเก็ต
  • ชายทะเลเขาหลักในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก ลำรู่ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุด)
  • เกาะสิมิลัน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  • หาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดกะรน ตำบลกะรน อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  • เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
  • บ้านหาดทรายขาว กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

อ้างอิง

  1. McKee, Maggie. "Power of tsunami earthquake heavily underestimated." New Scientist. 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005.
  2. EERI Publication 2006–06, หน้า 14.
  3. Nalbant, S., Steacy, S., Sieh, K., Natawidjaja, D., and McCloskey, J. "Seismology: Earthquake risk on the Sunda trench." Nature. Vol. 435, No. 7043, 756–757. 9 June 2005. Retrieved 16 May 2009. Archived 18 May 2009.
  4. Lovholt, F., Bungum, H., Harbitz, C.B., Glimsal, S., Lindholm, C.D., and Pedersen, G. "Earthquake related tsunami hazard along the western coast of Thailand." Natural Hazards and Earth System Sciences. Vol. 6, No. 6, 979–997. 30 November 2006. Retrieved 16 May 2009. Archived 18 May 2009.
  5. Sibuet, J-C., Rangin, C., Le Pichon, X., Singh, S., Cattaneo, A., Graindorge, D., Klingelhoefer, F., Lin, J-Y., Malod, J., Maury, T., Schneider, J-L., Sultan, N., Umber, M., Yamaguchi, H., and the "Sumatra aftershocks" team, "26 December 2004 great Sumatra–Andaman earthquake: Co-seismic and post-seismic motions in northern Sumatra." Earth and Planetary Science Letters. Vol. 263, Issues. 1–2, 88–103. 15 November 2007. Retrieved 16 May 2009. Archived 18 May 2009.
  6. "Kamchatka Earthquake, 4 November 1952." United States Geological Survey.
  7. ความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับจากพิบัติภัยคลื่นสึนามิ

แหล่งข้อมูลอื่น