เกาะซีเมอลูเวอ

พิกัด: 02°37′48″N 96°05′24″E / 2.63000°N 96.09000°E / 2.63000; 96.09000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกาะซิเมอลูเอ)
เกาะซีเมอลูเวอ
แผนที่ภูมิประเทศของเกาะซีเมอลูเวอ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด02°37′48″N 96°05′24″E / 2.63000°N 96.09000°E / 2.63000; 96.09000
พื้นที่1,754 ตารางกิโลเมตร (677 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด567 ม. (1860 ฟุต)
จุดสูงสุดไม่มีชื่อ
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดอาเจะฮ์
อำเภอซีเมอลูเวอ
เมืองใหญ่สุดซีนาบัง
ประชากรศาสตร์
ประชากร93,762 คน
(ประมาณกลาง พ.ศ. 2564)
ความหนาแน่น51.0/กม.2 (132.1/ตารางไมล์)

ซีเมอลูเวอ (อินโดนีเซีย: Simeulue) หรือ ซีมือลูเวอ (อาเจะฮ์: Simeuluë) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปประมาณ 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) โดยมีประชากร 80,674 คนตามสำมะโน พ.ศ. 2553[1] และ 92,865 คนตามสำมะโน พ.ศ. 2563[2] จำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 93,762 คน[3] เกาะนี้มีเมืองใหญ่ที่สุดคือซีนาบัง

ในสมัยก่อนนั้นเกาะซีเมอลูเวอเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภออาเจะฮ์ตะวันตก แต่ได้มีการแยกออกมาเป็นเขตใหม่ชื่อว่าอำเภอซีเมอลูเวอใน พ.ศ. 2542

ประชากร[แก้]

ผู้คนในเกาะซีเมอลูเวอมีความคล้ายคลึงกับผู้คนบนเกาะนียัซที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีภาษาถิ่นมากมายและแตกต่างจากภาษาบนเกาะสุมาตรา โดยมีภาษาที่ใช้กันมาก 2 ภาษา คือ ภาษาซีเมอลูเวอและภาษาซีกูเล[4] และศาสนาที่นับถือกันมากบนเกาะนี้คือศาสนาอิสลาม

ประวัติ[แก้]

แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2547[แก้]

เกาะซีเมอลูเวอนั้นอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขนาด 9.3 แมกนิจูดใน พ.ศ. 2547

และในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 แมกนิจูด ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณทางตอนใต้ของเกาะ[5] หลังจากเกิดแผ่นดินไหวได้เกิดสึนามิขนาด 3 เมตรเข้าพัดถล่มชายฝั่งและโรงพยาบาลในเมืองซีนาบัง[6]

แม้ว่าเกาะซีเมอลูเวอห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 60 กิโลเมตร แต่มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 ราย ในขณะที่ประชากรที่เหลือ 70,000 คนปลอดภัย เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียกว่า "ซมง" นั้นได้บอกว่าหากเกิดแผ่นดินไหวและมีน้ำทะเลลดลงอย่างกะทันหัน ควรอพยพขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุด โดยอิงจากประสบการณ์จากสึนามิครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2450[7][8][9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Biro Pusat Statistik, Jakarta, 2011.
  2. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  3. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  4. BPS Kabupaten Simeulue (2003). Simeulue Dalam Angka 2012. BadanPusatStatistik.Com. ISBN 978-0-0100-0021-4.
  5. "Gibbons, Helen (April 2005) "Second Tsunami Causes Damage in Indonesia—USGS Scientists Post Observations on the World Wide Web" United States Geological Survey". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
  6. Saved by tsunami folklore, BBC News From Our Correspondent, 10 March 2007
  7. Rahman, Alfi; Sakurai, Aiko; Munadi, Khairul (2018-08-01). "The analysis of the development of the Smong story on the 1907 and 2004 Indian Ocean tsunamis in strengthening the Simeulue island community's resilience". International Journal of Disaster Risk Reduction. 29: 13–23. doi:10.1016/j.ijdrr.2017.07.015. ISSN 2212-4209. S2CID 165012369.
  8. McAdoo, Brian G.; Dengler, Lori; Prasetya, Gegar; Titov, Vasily (June 2006). "Smong: How an Oral History Saved Thousands on Indonesia's Simeulue Island during the December 2004 and March 2005 Tsunamis". Earthquake Spectra. 22 (S3): 661–669. doi:10.1193/1.2204966. ISSN 8755-2930. S2CID 111256838.
  9. Suciani, A.; Islami, Z. R.; Zainal, S.; Sofiyan; Bukhari (2018). ""Smong" as local wisdom for disaster risk reduction". IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 148 (1): 012005. doi:10.1088/1755-1315/148/1/012005. ISSN 1755-1315.
  10. Pasotti, Jacopo (2014-12-10). "Smong: The Tsunami Story". Jacopo Pasotti. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]