ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บทสวดไม่ตายตัวในแต่ละพื้นที่
บรรทัด 136: บรรทัด 136:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=25460 ผีนัต...ผู้พิทักษ์แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดี ]
* [http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=25460 ผีนัต...ผู้พิทักษ์แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดี ]
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
=== สื่อวิดิโอ ===
* {{YouTube|UpCKjnZW6TM|บทสวดบูชานัต หม่องโปตู}}
* {{YouTube|bkBwk6BAYKo|บทสวดบูชานัต มันดะเลย์โบดอ ปู่เจ้าแห่งมัณฑะเลย์}}


[[หมวดหมู่:ศาสนาในประเทศพม่า|ศาสนาในประเทศพม่า]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาในประเทศพม่า|ศาสนาในประเทศพม่า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:21, 15 เมษายน 2560

ตะจาเมงหรือท้าวสักกะ (พระอินทร์) ประมุขแห่งนัตทั้งปวง

นัต (พม่า: ไฟล์:Nat.png, เอ็มแอลซีทีเอส: nat; อังกฤษ: nat; IPA: [naʔ]) ออกเสียง น่ะต์ (มาจากคำว่า นาถะ ในภาษาบาลี ที่แปลว่า "ที่พึ่ง") หมายถึงผีของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่งเทวดา คล้ายเทพารักษ์ คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนมีความสัมพันธ์เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีฤทธานุภาพเทียบเท่าเทวดา[1] โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ

แต่เดิม นัตเป็นเพียงผีหรือวิญญาณทั่วไปที่สิงสถิตย์ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หรือภูเขา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป จึงมีความเชื่อว่านัตเริ่มมีตัวตนและเริ่มผูกพันเข้ากับการตายของผู้คน จึงกลายเป็นสภาพนัตอย่างที่เชื่ออยู่ในปัจจุบัน

เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อ แห่งราชวงศ์พุกาม นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากอาณาจักรมอญเข้าสู่อาณาจักรพม่าในพุทธศตวรรษที่ 18 ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ โดยยกเลิกการบูชานัตตามแบบพื้นบ้านและนัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ พระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่เขาโปปา หรือที่เรียกว่า มหาคีรีนัต ใกล้เมืองพุกาม โดยมีทั้งหมด 37 ตน โดยนัตที่สำคัญคือ นัตตัจจาเมง หรือ นัตสักรา (พระอินทร์), นัตพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้, นัตโยนบะเยง (นัตพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์) เป็นต้น

โดยบุคคลที่จะได้รับการนับถือเป็นนัตนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีคนยกย่องนับถือและมีเรื่องราวขณะยังมีชีวิตเป็นที่พูดถึงโดยทั่วไป หรือเป็นผู้ที่มีสาเหตุการตายที่ไม่ใช่การตายแบบธรรมดาด้วยโรคชรา เป็นที่สลดใจแก่ผู้ที่ได้ยินเรื่องราว เช่น ตายโหง (เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วน) ตายด้วยโรคระบาดหรือถูกลอบสังหาร เพราะเชื่อว่ายังมีแรงจิตและฤทธานุภาพสูงกว่าผีทั่ว ๆ ไป

นัตถูกแบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ นัตพุทธ (นัตท้องถิ่นที่ผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา[1]), นัตใน (นัตท้องถิ่นและนัตที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินเดีย) และนัตนอก (นัตที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกำแพงวัดเจดีย์ชเวซีโกน) ซึ่งนัตที่สำคัญและผูกพันกับชาวพม่ามากที่สุด คือ นัตนอกหรือนัตหลวง [2]

รายชื่อนัต

วิวโดยรอบริเวณภูเขาโปปา ศาลนัตอยู่บนยอดเขาเล็กทางซ้ายของภาพ
เหล่านัตในศาลบนภูเขาโปปา
เครื่องบูชานัตแบบดั้งเดิมคือกล้วยและมะพร้าว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่า กล่าวว่ามีนัตถึง 39 ตน เรียกว่า นัตมิน (กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกว่า แน็ตมิน) หรือ นัตหลวง และมีตำราว่าด้วยเรื่องนัต ชื่อว่ามหาคีตะเมคะนี (Maha Gita Megani) ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โลกาพยุหะ อันเป็นตำราประเพณีของพม่า ซึ่งเซอร์ยอช สก็อต เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือภิธานเมืองพม่าเหนือ หรือ Upper Burma Gasetteer มีรายชื่อเมืองและประวัติของนัตหลวงทั้ง 39 ตน บอกถึงธรรมเนียมลงนัตซึ่งส่วนใหญ่คนทรงจะเป็นผู้หญิง และนัตแต่ละตนจะมีการขับร้อง การฟ้อนรำ เครื่องดนตรี และเพลงเฉพาะตน โดยในวัดเจดีย์ชเวสิโกน เมืองพุกาม มีการสร้างนัตที่ทำจากไม้ ขนาดเท่าหุ่นกระบอกที่มีครบอยู่ 37 ตนเพียงแห่งเดียว ซึ่งแต่ละตัวต่างแต่งตัวด้วยอาภรณ์หลากสี ตั้งอยู่บนฐานชุกชีในวิหารยาวประมาณ 4 ห้อง มีเพียงรูปเดียวที่มีขนาดเท่าคนจริงสวมเครื่องทรงกษัตริย์ซึ่งคือพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าแห่งนัตทั้งปวง

ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่า ของไพรัตน์ สูงกิจบูลย์ได้มีการกล่าวถึงนัตว่ามีเพียง 37 ตน โดยในช่วงสมัยอาณาจักรพุกาม เหลือนัตอยู่เพียง 22 ตน ต่อมาได้เพิ่มขึ้นในสมัยพระเจ้าอโนรธาอีก 15 ตน โดยมีรายนามดังต่อไปนี้[3]

รายชื่อนัตเดิม

  • ตะจามิน (ท้าวสักกะ) ถือเป็นเจ้าแห่งนัตทั้งปวง
  • งะตินเด หรือ มินมหาคีรีนัต
  • ชเวเมี้ยตนา หรือ เจ้านางหน้าทอง
  • เจ้านางสีข้างทอง
  • นางงามสามเวลา
  • เจ้านางผิวขลุ่ย
  • เจ้าสีน้ำตาลแห่งทิศใต้
  • เจ้าสีขาวแห่งทิศเหนือ
  • พระเจ้ากูนซอ จองบยู
  • พระราชมารดาของพระเจ้ากูนซอ จองบยู
  • เจ้ามินกองแห่งปะเรนมา
  • เจ้านางทองคำ
  • ชายชราต้นกล้วยเดี่ยว
  • พระเจ้าอลองสิธู
  • เจ้าชิงช้าหนุ่ม
  • เจ้าจ่อส่วยผู้กล้าหาญ
  • แม่ทัพใหญ่แห่งอังวะ
  • นักเรียนนายทหารหลวง
  • เจ้าเทพทองน้อย
  • ปู่เจ้าแห่งมัณฑะเลย์
  • นางขาโก่ง
  • เจ้าเทพทองใหญ่
  • มารดานักเรียนนายทหารหลวง

รายชื่อนัตเพิ่มเติม

  • พระเจ้าห้าช้าง
  • จอมกษัตริย์เจ้าแห่งความยุติธรรม
  • หม่องโปตู
  • ราชินีแห่งวังตะวันตก
  • พระเจ้าช้างเผือกแห่งอองปินเล
  • นางตัวงอ
  • นอระธาทอง
  • เจ้าอองดิน
  • เจ้าขาวน้อย
  • เจ้าเณร
  • พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
  • เจ้านางแห่งทิศเหนือ
  • เจ้ามินกาวง์แห่งตาวน์งู (ตองอู)
  • ราชเลขาธิการหลวง
  • โยนบะเยง (พระเจ้าเชียงใหม่)
  • ผู้กล้าหาญ

รูปลักษณ์ของนัตหลวงทั้ง 37 ตน

หมายเหตุ: ภาพและชื่อของนัตในที่นี้ได้มาจากหนังสือ "The Thirty Seven Nats" โดย Sir Richard Carnac Temple (พิมพ์เมื่อ ค.ศ.1906) ซึ่งชื่อของนัตที่ปรากฏอาจไม่ตรงกับรายชื่อข้างบน เนื่องจากยังไม่สามารถหาคำแปลเทียบเคียงกับรายชื่อข้างต้นได้

การบูชานัต

รูปแบบของศาลนัต

ในประเทศพม่า การบูชาหรือประเพณีเกี่ยวกับนัต มีตลอดทั้งปี แต่งานเทศกาลเกี่ยวกับนัตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านต่องปะโยง ในเขตมัณฑะเลย์ เป็นเวลา 6 วัน ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เนื่องจากนัตสองพี่น้อง หรือ ชเวปยินยีดอ และชเวปยินนองดอ เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อสายแขกผสมพม่า ถูกสั่งประหาร ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากละเลยต่อการขนอิฐสร้างพุทธเจดีย์ตามพระราชบัญชา และกลายเป็นผีมาหลอกหลอนพระเจ้าอโนรธา พระองค์จึงมีบัญชาให้ตั้งศาลบูชาไว้ ณ ที่แห่งนี้[1]

คนทรงนัต มีชื่อเรียกว่า "นัตกะด่อ" (နတ်ကတော်; nat kadaws) นัตกะด่อจะนับถือนัตชเวปยินยีดอเป็นเสมือนนัตครู นัตกะด่อจากทั่วพม่าจะเดินทางมาที่นี่เพื่อบูชาปีละครั้ง ผู้ที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้ที่ชาวพม่าให้ความเคารพในทุกชนชั้น และความเชื่อจะถูกส่งต่อมาเป็นทอด ๆ หากพ่อแม่ศรัทธานัตกะด่อคนใด ลูกหลานก็จะถูกพามาด้วยและมอบตัวเป็นศิษย์

นัตกะด่อ ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างนัตกับมนุษย์ ซึ่งนัตกะด่อแต่ละคนสามารถเข้าทรงนัตได้หลายตน ไม่จำกัดเฉพาะตนใดตนหนึ่ง แต่การที่จะเข้าทรงนัตตนใด ก็จะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป แต่เดิมผู้ที่หน้าที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้หญิง และได้รับการนับถือว่าเป็นภรรยาของนัต และสืบทอดกันทางสายเลือดจากแม่สู่ลูก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้มีนัตกะด่อที่เป็นผู้ชาย แต่ก็มีจำนวนน้อย ต่อมาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 นัตกะด่อที่เป็นเพศที่สามจึงปรากฏ และมีมากขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ทั้งที่ในสังคมพม่าในยุคนั้นยังไม่ค่อยเปิดรับมากกับสภาพเพศที่สาม การที่บุคคลเพศที่สามได้เป็นนัตกะด่อเนื่องจากเชื่อว่าบุคคลที่มีเพศสภาพเช่นนี้ เหมาะสมที่สุดที่เป็นผู้ติดต่อกันระหว่างโลกมนุษย์กับโลกแห่งวิญญาณ ซึ่งในปัจจุบันนัตกะด่อที่เป็นเพศที่สามได้รับความนิยมมากกว่านัตกะด่อที่เป็นชายจริงหญิงแท้เสียอีก

ก่อนการเข้าทรงจะมีการจัดเลี้ยงอาหารต่อผู้มาร่วมงานและบูชาพระรัตนตรัย และบูชานัตโดยเครื่องบูชาหลัก คือ มะพร้าว เนื่องจากมินมหาคีรีนัต ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ยังเขาโปปา ตายเพราะถูกไฟคลอกในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติเย็นและช่วยดับร้อนอันจะทำให้นัตพึงพอใจ นอกจากนี้ยังมีกล้วยและธูปเทียนต่าง ๆ

ในหมู่บ้านต่องปะโยงจะมีปะรำพิธีสำหรับนัตกะด่อแต่ละคนที่จะมาเข้าทรง โดยจัดเวียนกันเป็นรอบ ๆ เมื่อถึงรอบของใคร ผู้นำก็จะนำพารำมายังปะรำพิธีซึ่งมีปี่พาทย์ประโคมรออยู่แล้ว ซึ่งบริเวณที่จัดงานจะเป็นงานนอกกำแพงวัด เนื่องจากเป็นการเข้าทรงนัตนอก ซึ่งมีถิ่นฐานนอกกำแพงวัดเจดีย์ชเวซีโกน

การเข้าทรงนัต นัตกะด่อจะฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงเพลงโดยมีสาวกหรือผู้ศรัทธาติดตามไป ช่วงที่สำคัญคือ นัตกะด่อจะโปรยเงินแจกจ่ายผู้ที่ยืนดู ซึ่งสามารถใช้ความมั่งคั่งของนัตกะด่อเป็นเครื่องวัดความมีชื่อเสียงของนัตกะด่อผู้นั้นได้ และก็มักมีการเข้าทรงเกิดขึ้นมากมายในบรรดาผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งที่ไม่ใช่นัตกะด่อ

แม้ผ่านกาลเวลามานานกว่าสองพันปีและถูกท้าทายความเชื่อ ทั้งเคยมีความพยายามที่จะยกเลิกการบูชาและเชื่อเรื่องนัต แต่ปัจจุบันเชื่อว่ามีชาวพม่ากว่าร้อยละ 80 ที่ยังคงนับถือนัตอยู่ [2]

ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของนัต

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้กล่าวเกี่ยวกับอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ของนัต ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้ามินดง เนื่องจากพระเจ้ามินดงได้มีพระดำริให้ทำการรื้อศาลนัตแห่งหนึ่งทำให้พระองค์ประชวร ดังมีข้อความดังนี้

"...ครั้งหนึ่งในรัชกาลพระเจ้ามินดง ผีแน็ตที่ศาลแห่งหนึ่งดุร้าย ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้คนจนร้อนถึงพระเจ้ามินดง จึงโปรดให้ทำพิธีส่งวิญญาณด้วยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยตรัสว่าผีแน็ตไปปฏิสนธิแล้ว ให้รื้อศาลเสียเถิดคนจะได้หายครั่นคร้าม

...อยู่ต่อมาพระเจ้ามินดงประชวร มีอาการให้จุกแดกเป็นกำลัง หมอหลวงถวายพระโอสถเสวยก็ไม่หาย พวกเข้าเฝ้าปรึกษากันเห็นว่า คงเป็นด้วยถูกผีแน็ตที่ดำรัสสั่งให้รื้อศาลกระทำร้าย ด้วยยังมิได้ไปเกิดใหม่ดังพระราชบริหาร จึงให้ทำศาลขึ้นอย่างเดิม พระเจ้ามินดงก็หายประชวร..."

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 หน้า 94-105, นัต พลังศรัทธาของมวลชน โดย ยศธร ไตรยศ. นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิกฉบับภาษาไทย: ฉบับที่ 180 กรกฎาคม 2559
  2. 2.0 2.1 "Spirit of Asia: ผีนัต". ไทยพีบีเอส. 22 June 2013. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
  3. บุญยงค์ เกศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉาน เล่าตำนานคนไท. กรุงเทพฯ:หลักพิมพ์, 2548. หน้า 76