พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์
พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ | |
ชื่อเกิด | พิมพ์พรรณ ยุวะพุกกะ |
ชื่อเล่น | ติ่ง |
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2488 บางลำพู จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (71 ปี) จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | ดาวเรือง แสงทอง |
อาชีพ | นักแสดง |
ผลงานเด่น | ประสาท (2518) วิวาห์ไฟ (2530) |
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | |
---|---|
ตลกหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2530 - วิวาห์ไฟ | |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb |
พิมพ์พรรณ ยุวะพุกกะ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ หรือ ดาวเรือง แสงทอง (31 ตุลาคม พ.ศ. 2488 − 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น ติ่ง เป็นนักแสดงหญิงและนักแสดงตลกชาวไทย
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
พิมพ์พรรณเป็นบุตรสาวคนโตของประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ กับสุพรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงชาวไทย
เริ่มแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก โดยใช้ชื่อว่า ดาวเรือง แสงทอง ผลงานกำกับของ เปี๊ยก โปสเตอร์ ใน ประสาท พ.ศ. 2518 และรับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขาตลกหญิงยอดเยี่ยม (ในนาม ดาวเรือง แสงทอง) จาก วิวาห์ไฟ ของพงษ์สุรีย์ภาพยนตร์ พ.ศ. 2530
มีผลงานละครหลายเรื่อง เช่น ภาพอาถรรพ์, ตม และบทตลกในภาพยนตร์ ประสาท (2518), เพลงรักบ้านนา (2520), หวานมันส์..ฉันคือเธอ (2530), นางกลางไฟ (2531), เพียงเรามีเรา (2535), โรงแรมผี (2545) , สนิมสร้อย (2546), อมนุษย์ (2547), รักแห่งสยาม (2550) ฯลฯ
พิมพ์พรรณถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในสภาพนั่งฟุบไปกับเตียงพร้อมกับพนมมืออยู่[1] ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น[2][3]
ผลงาน[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
- คลั่ง (2522) ช่อง 5
- ดวงไฟใยไม่ส่องฉัน (2530) ช่อง 7
- เขาวานให้หนูเป็นสายลับ (2534) ช่อง 3
- เมืองโพล้เพล้ (2535) ช่อง 7
- รักในรอยแค้น (2535) ช่อง 5
- หนึ่งในทรวง (2535) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- ทางโค้ง (2535) ช่อง 3
- ฝ้ายแกมแพร (2535) ช่อง 3
- กุหลาบในเปลวไฟ (2535) ช่อง 5
- บ่วง (2535) ช่อง 3
- นายทองย้อย (2536) ช่อง 3
- สิ้นสวาท (2536) ช่อง 3
- หวานมันส์ฉันคือเธอ (2536) ช่อง 3
- เงารัก (2536) ช่อง 3
- ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536) ช่อง 5
- อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3
- บัลลังก์เมฆ (2536) ช่อง 5
- คุณหญิงพวงแข (2536) ช่อง 3
- ระบำอสูร (2537) ช่อง 5
- ซุปเปอร์ปั๊ม (2537) ช่อง 3
- เมียข้างถนน (2537) ช่อง 5
- ระเริงชล (2537) ช่อง 3
- ตุ๊กตามนุษย์ (2537) ช่อง 3
- สนทนาประสาจน (2537) ช่อง 5
- ขบวนการญาติเยอะ (2538) ช่อง 3
- ลัดฟ้ามาหารัก (2538) ช่อง 5
- เงาราหู (2538) ช่อง 3
- พล นิกร กิมหงวน (2538) ช่อง 3
- ฝันเฟื่อง (2538) ช่อง 3
- วิมานลวง (2538) ช่อง 5
- นางอาย (นวนิยาย) (2538) ช่อง 3
- พ่อครัวหัวป่าก์ (2540) ช่อง 3
- นางสาวไม่จำกัดนามสกุล (2540) ช่อง 5
- นางบาป (2541) ช่อง 7
- ทรายย้อมสี (2541) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- ซอยปรารถนา ๒๕๐๐ (2541) ช่อง 7
- แก้วกินรี (2542) ช่อง 7
- ปัญญาชนก้นครัว (2542) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- เจ้าสาวข้างถนน (2542) ช่อง 7
- เกิดแต่ชาติปางไหน (2542) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- เพรงเงา (2542) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- ยอดชีวัน (2543) ช่อง 3
- รอยมาร (2543) ช่อง 3
- อาญารัก (2543) ช่อง 3
- ฉันไม่รอวันนั้น (2544) ช่อง 3
- รักเกิดในตลาดสด (2544) ช่อง 7
- หน้าต่างบานแรก (2544) ช่อง ไอทีวี
- สุดหัวใจ (2544) ช่อง 3
- เส้นสายลายรัก (2544) ช่อง 3
- ทองประกายแสด (2544) ช่อง 5 (รับเชิญ)
- เจ้าสาวมืออาชีพ (2544) ช่อง 3
- คน 2 คม (2544) ช่อง 5
- 5 คม (2545) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- เส้นไหมสีเงิน (2545) ช่อง 3
- สวัสดีคุณนาย (2545) ช่อง 3
- เจ้าสาวสายฟ้าแลบ (2545) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- สามวัยอลเวง (2545) ช่อง 7 (รับเชิญ)
- โก๋ตี๋กี๋หมวย (2545) ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 12 ราศี (2546) ช่อง 3
- ผ้าขี้ริ้วห่อดิน (2546) ช่อง 3
- ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก (2546) ช่อง 7
- เจ้านายวัยกระเตาะ (2546) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- กรงเพชร (2546) ช่อง 3
- คุณย่าดอตคอม (2546) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- ตม (2547) ช่อง 3
- นางฟ้าไร้ปีก (2547) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- มนต์รักอสูร (2547) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- เทพธิดาโรงงาน (2548) ช่อง 9
- ดาวหลงฟ้า (2548) ช่อง 3
- นางฟ้าไซเบอร์ (2548) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- ดื้อนักรักเลย (2548) ช่อง 3
- รักเราไม่ไฮโซ (2549) ช่อง 3
- รวมพลคนแจ๋ว (2549) ช่อง 9
- สุดรักสุดดวงใจ (2549) ช่อง 3
- เรือนนารีสีชมพู (2549) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- กิ่งกาหลง (2550) ช่อง 3 (รับเชิญ)
- เคหาสน์แสงจันทร์ (2551) ช่อง 7 (รับเชิญ)
- หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น (2552) ช่อง 3
- ทองประกายแสด (2555) ช่อง 8 (รับเชิญ)
- รักประกาศิต (2555) ช่อง 3
- รักเกิดในตลาดสด (2555) ช่อง 3
- ทองเนื้อเก้า (2556) ช่อง 3
- ก๊วนคานทองกับแก๊งพ่อปลาไหล (2557) ช่อง 3
- เลือดมังกร
สิงห์ (2558) ช่อง 3
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สิ้นดาราอาวุโส "พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์"". New 18. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- ↑ "สิ้นดาราอาวุโส "ป้าติ่ง" พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์". โพสต์ทูเดย์. 5 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- ↑ "เสียชีวิตอีกท่าน พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงอาวุโสชื่อดัง". ไทยรัฐออนไลน์. 5 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560.
- จิรยุทธ สินธุพันธุ์, สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ราชินีแห่งศิลปิน, โครงการวิจัยนักสื่อสารมวลชนสตรีผู้บุกเบิก, มีนาคม 2551, 60 หน้า, ISBN 978-974-05-2205
- พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ nangdee.com