พระสาสนโสภณ (ใย ภทฺทิโย)
พระสาสนโสภณ (ใย ภทฺทิโย) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2443 (97 ปี 211 วัน ปี) |
มรณภาพ | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นโท เปรียญธรรม 4 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
พรรษา | 59 |
ตำแหน่ง | ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส รองแม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) |
พระสาสนโสภณ ฉายา ภทฺทิโย (นามเดิม: ใย สุขสิงห์; 27 ธันวาคม พ.ศ. 2443 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2541) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร รองแม่กองบาลีสนามหลวง และเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต)
ประวัติ
[แก้]ชาติกำเนิด
[แก้]พระสาสนโสภณ มีนามเดิมว่า ใย สุขสิงห์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2443 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด เป็นบุตรของนายอวบ-นางหยาด สุขสิงห์ ชาติภูมิอยู่ที่ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี[1]
อุปสมบท
[แก้]นายใย สุขสิงห์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์[1]
ต่อมาในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดมศีลคุณ (อิน อคฺคิทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (เทียน ปภสฺสโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ภทฺทิโย[1]
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2461 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2463 สอบได้นักธรรมชั้นโท
- พ.ศ. 2466 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2471 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านาง พื้นแพรเขียว ขอบและใจกลางแพรน้ำเงินปักดิ้นเลื่อม[2]
ตำแหน่ง
[แก้]- ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
- เจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต)
- กรรมการอำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย
- กรรมการคณะธรรมยุต
- รองแม่กองบาลีสนามหลวง
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2490 เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ที่ พระครูปลัดสัมพิพัฑฒนศีลาจารย์ ญาณวิมล สกลคณิสสร อุตดรสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต
- พ.ศ. 2493 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมศีลคุณ[3]
- พ.ศ. 2502 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชโศภน วิมลญาณมุนี ศีลคุณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[4]
- พ.ศ. 2509 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธากร สุนทรธรรมวรยุต วิสุทธิธรรมปกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2522 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโสภณ วิมลศีลาจาร ตรีปิฎกาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2539 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ สุวิมลญาณเวที อรรถการีสังฆกิจจาทร ภัททิยคุณากรธรรมคุณ วุฒิวิบูลบริหารโกวิท ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
มรณภาพ
[แก้]พระสาสณโสภณ ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ณ โรงพยาบาลหัวเฉียว สิริอายุได้ 98 ปี พรรษา 78 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542[1]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ประวัติวัดเทพศิรินทราวาส
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในพุทธศักราช ๒๔๗๑ ซึ่งได้รับพระราชทานพัดยศ๙นนิตยภัตต์ แผนกทรงตั้ง, เล่ม ๔๖, ตอน ง, ๒ มิถุนายน ๒๔๗๒, หน้า ๖๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๖๗, ตอนที่ ๖๗, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๓, หน้า ๖๓๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๖, ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒, หน้า ๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๓, ตอนที่ ๑๑๔ ฉบับพิเศษ, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๗, ตอนที่ ๖๓ ฉบับพิเศษ, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๓, ตอนที่ ๒๓ ข, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๙, หน้า ๓-๖
- บรรณานุกรม
- ประวัติวัดเทพศิรินทราวาส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2442. [อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสาสนโสภณ (ใน ภทฺทิโย)]
- สุเชาว์ พลอยชุม. ตำนานพระสาสนโสภณ. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553. 159 หน้า. หน้า 103-109. [ที่ระลึกในการเชิญหิรัญบัฏมาถวาย พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิจวณฺโณ) 24 มิถุนายน 2553]