พระวรสารนักบุญบารนาบัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำเนาเอกสารตัวเขียนภาษาอิตาลี 2 หน้า

พระวรสารนักบุญบารนาบัส (อังกฤษ: Gospel of Barnabas) เป็นพระวรสารนอกสารบบปลอมที่เขียนขึ้นในสมัยกลางตอนปลายและอ้างว่าอุทิศแด่บารนาบัส สาวกชาวคริสต์ยุคแรกที่เป็นหนึ่งในอัครสาวกของพระเยซู (ตามที่ระบุในนี้)[1] มีความยาวประมาณเกือบเท่ากับพระวรสารทั้ง 4 และผสมผสานเรื่องราวต่าง ๆ ในพระวรสารที่เป็นที่ยอมรับด้วยองค์ประกอบในศาสนาอิสลาม เช่น การปฏิเสธต่อการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตพระเยซูโดยละเอียด โดยเริ่มต้นด้วยการประสูติของพระเยซู ตั้งแต่แม่พระรับสารที่เป็นเรื่องราวของทูตสวรรค์เกเบรียลกับพระแม่มารีย์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการประสูติของพระเยซู จากนั้นจึงเล่าเรื่องพระพันธกิจ แล้วสิ้นสุดที่พระมหาบัญชาที่จะเผยแผ่คำสอนของพระองค์ทั่วโลก ยูดาส อิสคาริโอทถูกนำมาแทนที่พระเยซูตอนตรึงกางเขน

พระวรสารนี้มีเอกสารตัวเขียนหลงเหลือรอดเพียง 2 ฉบับ (ในภาษาอิตาลีและสเปน) ทั้งสองฉบับมีอายุในสมัยกลาง

ต้นกำเนิดของพระวรสารยังคงเป็นข้อพิพาท มีหลายทฤษฎีที่เป็นการคาดเดา และโดยทั่วไปไม่ได้รับการยอมรับ พระวรสารนักบุญบารนาบัสมีอายุตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15[2] ซึ่งช้าเกินไปที่บารนาบัสเป็นผู้เขียน (ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1) คำสอนหลายอย่างสอดคล้องกับอัลกุรอานและขัดแย้งกับคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะภาคพันธสัญญาใหม่ อย่างไรก็ตาม มีเนื้อหาบางส่วนที่ขัดแย้งกับอัลกุรอานด้วย

เนื้อหา[แก้]

การวิเคราะห์[แก้]

สิ่งที่เกิดผิดสมัยและข้อผิดพลาดตามข้อเท็จจริง[แก้]

Map of the Holy Land
แผนที่เดกาโปลิส

พระวรสารนักบุญบารนาบัสมีสิ่งที่เกิดผิดสมัย และข้อผิดพลาดทางภูมิศาสตร์และข้อเท็จจริงอื่น ๆ[3][4]: 27, 43  Raggs รายงานว่า สิ่งนี้พิสูจน์ว่าพระวรสารนี้มีต้นกำเนิดในสมัยกลาง[5]: 433  และผู้เขียนไม่รู้เกี่ยวกับปาเลสไตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1[4]: 24 

เนื้อหาต่อต้านเปาโล[แก้]

การวิเคราะห์เชิงวิชาการระบุว่าพระวรสารนักบุญบารนาบัสมีเนื้อหาที่ต่อต้านศาสนศาสตร์ของเปาโล ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นชัดเจนในอารัมภบทและปัจฉิมบทที่กล่างถึงเปาโลว่าสอนคำสอนของพระเยซูในทางที่ผิด และเป็นการ "หลอกลวง" โดยคิดว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้า (หรือบุตรของพระเจ้า)[6]: 12, 20–21 [7] Fouad Masri นักเขียนและมิชชันนารีชาวเลบานอน เขียนถึงพระวรสารนี้ใน Connecting with Muslims: A Guide to Communicating Effectively (2014) ว่า ผิดสมัย (anachronistic) โดยในกิจการของอัครทูตระบุว่าบารนาบัสเป็นสหายที่ดีที่สุดของเปาโล ไม่ใช่ศัตรู[8]: 165–166  ส่วนใน Journal of Higher Criticism อาร์. แบล็กเฮิร์สต์เขียนว่า บันทึกความข้ดแย้งระหว่างเปาโลกับบารนาบัสในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทียอาจเป็นสาเหตุว่าทำให้ผู้เขียนพระวรสารถึงอุทิศให้แก่บารนาบัส[7]

ความสอดคล้องกับอัลกุรอาน[แก้]

การตรึงกางเขนพระเยซู[แก้]

ในพระวรสารนักบุญบารนาบัส พระเยซูไม่ได้ถูกตรึงกางเขน แต่แทนที่ด้วยยูดาส อิสคาริโอท (ผู้ที่ใบหน้าถูกทำให้คล้ายกับพระองค์) ส่วนพระเยซูนั้น พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ยกขึ้นสวรรค์[4]: 2 [5]: xxvii  ข้อความนี้สอดคล้องกับการตีความซูเราะฮ์อันนิซาอ์ 157–158 ตามสายหลักที่ยืนยันว่าพระเยซูไม่ได้ถูกตรึงกางเขน แต่กลับเป็นคนมีรูปร่างหน้าตาเหมือนพระองค์ต่างหาก:

และการที่พวกเขากล่าวว่า "แท้จริงพวกเราได้ฆ่า อัล-มะซีหฺ อีซา บุตรของมัรฺยัม รอซูลของอัลลอฮฺ" และพวกเขาหาได้ฆ่าอีซา และหาได้ตรึงเขาบนไม้กางเขนไม่ แต่ทว่าเขาถูกให้เหมือนแก้พวกเขา และแท้จริงบรรดาผู้ที่ขัดแย้งในตัวเขานั้น แน่นอนย่อมอยู่ในความสงสัยเกี่ยวกับเขา พวกเขาหามีความรู้ใดๆ ต่อเขาไม่ นอกจากคล้อยตามความนึกคิดเท่านั้น และพวกเขามิได้ฆ่าเขาด้วยความแน่ใจ หามิได้ อัลลอฮฺได้ทรงยกเขา (อีซา) ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเสมอ[9]: 2, 42 

ในรายงานการตรึงกางเขน คาดว่าพระวรสารนี้ได้รับอิทธิพล (หรือรับมา) จากโดเสติส: แนวคิดนอกรีตที่กล่าวถึงรูปมนุษย์ของพระเยซูเป็นเพียงภาพลวงตา[6]: 98 [5]: xlvii  David Sox เขียนไว้ว่า ภาพลักษณ์ของยูดาส อิสคาริโอทในพระวรสารนักบุญบารนาบัสมีความเห็นอกเห็นใจมากกว่าในพระวรสารที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งตัวเขาถูกคัดให้เป็นผู้ทรยศที่ชั่วร้าย ตามธรรมเนียมชาวคริสต์ ชื่อของเขามีความหมายเดียวกันกับผู้ที่หลอกลวงภายใต้หน้ากากมิตรภาพ[6]: 94–95  ส่วน Raggs ระบุว่า เนื่องจากไม่มีการให้ชื่อและอธิบายข้อกล่าวหาว่ามีการแทนที่อัลกุรอานได้ ผู้เขียนพระวรสารจึงพยายามที่จะเติมเต็มช่องว่างนี้[5]: xxvii 

คำทำนายมุฮัมมัด[แก้]

ตามข้อมูลจากซูเราะฮ์อัศศ็อฟฟ์ 6 มุสลิมเชื่อว่าพระเยซูเป็นผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้ามุฮัมมัด และทำนายการมาของมุฮัมมัด:

และจงรำลึก เมื่ออีซา อิบนฺ มัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นรอซูลของอัลลอฮฺมายังพวกท่านเป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอต ก่อนหน้าฉัน และเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงรอซูลคนหนึ่ง ผู้จะมาภายหลังฉัน ชื่อของเขาคือ อะหมัด ครั้นเมื่อเขา (อะหมัด) ได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งแล้ว พวกเขากล่าวว่านี่คือมายากลแท้ ๆ[4]: 2 

คำว่าอะห์มัด (ภาษาอาหรับแปลว่า "ผู้ได้รับการสรรเสริญ") ในศาสนาอิสลามสื่อถึงมุฮัมมัด[3][10]: 157  พระวรสารนักบุญบารนาบัสมีคำสอนที่อุทิศแด่พระเยซูหลายบทที่มุสลิมเชื่อว่าทำนายการมาของมุฮัมมัด[4]: 2  พระวรสารระบุพระเยซูในบทบาทของยอห์นผู้ให้บัพติศมาในพระวรสารในสารบบ[11]: 90  อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ขัดแย้งกับอัลกุรอานที่ระบุว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้[3]

ไม่อิงตรีเอกานุภาพ[แก้]

ตามรายงานในหลักข้อเชื่อไนซีน แนวคิดตรีเอกานุภาพคือพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวและปรากฏเป็น 3 พระบุคคล (พระบิดา, พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์) โดยพระเยซูคือพระบุตร[12] ศาสนาอิสลามปฏิเสธหลักการนี้ โดยเชื่อในแนวคิดเตาฮีด (ความเป็นเอกะ) และถือตรีเอกานุภาพเป็นชิรก์ ซึ่งเทียบพระเจ้าให้เท่ากับสิ่งถูกสร้าง[10]: 46, 135–136  มุสลิมเชื่อว่าพระเยซูเป็นมนุษย์เหมือนกับนบีคนอื่น ๆ และไม่เคยอ้างตนเองเป็นพระเจ้า[10]: 223  พระวรสารนักบุญบารนาบัสมีข้อความที่ระบุว่าพระเยซูปฏิเสธว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า[4]: 7  พระวรสารนี้ระบุว่าพระเยซูดูเหมือนถูกตรึงกางเขนเพื่อเป็นการลงโทษผู้ที่อ้างความเป็นพระเจ้าของพระองค์ และภายหลังได้มีการส่งมุฮัมมัดมาเพื่อเปิดโปงการฝ่าฝืนของคริสเตียนที่นมัสการพระเยซู[13]

มุมมอง[แก้]

คริสต์[แก้]

ชาวคริสต์ไม่ยอมรับพระวรสารนักบุญบารนาบัส[14] โดยถือว่าพระวรสารนี้ต่ำกว่าพระวรสารในสารบบและเป็นการปลอมแปลง[3][10]: 307  Jan Joosten เรียกพระวรสารนี้เป็น "จับฉ่ายในเนื้อหาของชาวคริสต์ ยิว และมุสลิม"[15] J. N. J. Kritzinger เขียนใน Religion in Southern Africa ว่าพระวรสารนี้เป็นอุปสรรคต่อการเสวนาระหว่างศาสนาระหว่างชาวคริสต์–มุสลิม และทั้งสองฝ่ายไม่ควรใช้สิ่งนี้ทำให้ศาสนาหนึ่งเสียชื่อเสียง[16]

อิสลาม[แก้]

ยอมรับ[แก้]

พระวรสารนักบุญบารนาบัสเป็นพระวรสารที่ขายดีที่สุดในโลกมุสลิม[10]: 295  และเป็นที่นิยมในบรรดาผู้พูดป้องกันศาสนาอิสลาม[4]: 1  บางคนระบุพระวรสารนี้เป็นอินญีล หนึ่งใน 4 คัมภีร์ในศาสนาอิสลามที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมา[17][a] สำหรับคำตอบรับพระวรสารในเชิงบวกโดยทั่วไปในโลกมุสลิมนั้น ดับเบิลยู. มอนต์โกเมอรี วัตต์ นักบูรพคดีชาวสกอต กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่มุสลิมที่ถูกชักชวนให้เชื่อโดยไม่มีข้อสงสัย บางคนไม่ทราบความเห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการว่าเป็นของปลอม[18]: 117–118  Christine Schirrmacher นักวิชาการชาวเยอรมัน รายงานว่า ทัศนคติเชิงบวกของมุสลิมเกี่ยวกับพระวรสารนั้นอิงตามการกล่าวอ้างว่าเขียนโดยผู้เห็นเหตุการณ์ และการไม่เห็นด้วยกับหลักคำสอนของคริสเตียนกระแสหลัก[14]

ปฏิเสธ[แก้]

พระวรสารนักบุญบารนาบัสถูกปฏิเสธจากนักวิชาการมุสลิม[10]: 298  ที่ปฏิเสธทั้งเพียงบางส่วน[9]: 101  หรือทั้งหมด[19] Amina Inloes นักวิชาการชาวอเมริกัน กล่าวว่า ความแตกต่างมากมายระหว่างพระวรสารกับอัลกุรอานทำให้พระวรสารมีความสำคัญลดลง[20] ในวารสาร Islamic World League ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 1977 Yahya al-Hashimi นักเขียนชาวซีเรีย กล่าวถึงพระวรสารนี้ว่าเป็นการโต้เถียงของชาวยิวที่สร้างความเกลียดชังระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม[6]: 115 [3] อับบาส มะห์มูด อัลอักกอด นักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอียิปต์ อ้างเหตุผลในการปฏิเสธพระวรสารนี้บางประการ เช่น การใช้วลีภาษาอาหรับอันดาลูซีอาและคำสอนที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน[4]: 34 [3]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ไม่มีข้อมูลใดที่กล่าวถึงคุณลักษณะของอินญีล[17] ในขณะที่นักวิชาการมุสลิมโดยทั่วไปถือว่าอินญีลสื่อถึงพระวรสารทั้งสี่เล่ม[4]: 1–2  บางส่วนคิดว่าอินญีลควรเป็นพระวรสารเล่มเดียวที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่พระเยซู โดยไม่มีฝีมือมนุษย์ปรากฏในนั้น และยังคงมีเศษส่วนในพระวรสารที่เป็นที่ยอมรับเหล่านี้[10]: 215–216  นักวิชาการมุสลิมหลายคนมีส่วนในการเชื่อมโยงอินญีลเข้ากับพระวรสารนักบุญบารนาบัส เช่น อะห์มัด ดีดาต[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Geneviève Gobillot, Évangiles, in M. A. Amir-Moezzi, Dictionnaire du Coran, ed. Robert Laffont, 2007, p. 291.
  2. Joosten, Jan (2010). "The Date and Provenance of the "Gospel of Barnabas"". The Journal of Theological Studies. 61 (1): 200–215. doi:10.1093/jts/flq010. ISSN 0022-5185. JSTOR 43665026.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Slomp, Jan. "The 'Gospel of Barnabas' in recent research". Christlich-Islamische Gesellschaft [de]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 Campbell, William F. (1989). Gospel of Barnabas: Its True Value. Christian Study Centre. ISBN 1-881085-02-3.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Raggs
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Sox, David (1984). The Gospel of Barnabas. Allen & Unwin. ISBN 0-04-200044-0.
  7. 7.0 7.1 Blackhirst, R. (Spring 2000). "Barnabas and the Gospels: Was There an Early Gospel of Barnabas?". Journal of Higher Criticism. 7 (1): 1–22. ISSN 1075-7139. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.
  8. Masri, Fouad (2014). Connecting with Muslims: A Guide to Communicating Effectively. InterVarsity Press. ISBN 978-08-30895-90-8.
  9. 9.0 9.1 O'Brien, Jack (2020). The Qur'an and the Cross—A Study of Al-Nisa (4):157: 'and They Did Not Kill Him and Did Not Crucify Him, But It Was Made to Appear So to Them'. LIT Verlag. ISBN 978-36-43910-82-0.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 Geisler, Norman; Saleeb, Abdul (1993). Answering Islam: The Crescent in Light of the Cross. Baker Books. ISBN 0-8010-3859-6.
  11. Zahniser, A. H. Mathias (2017). The Mission and Death of Jesus in Islam and Christianity. Wipf and Stock Publishers. ISBN 978-17-25256-26-2.
  12. lookup%5d%5d.HTM "CCC, 2.1". Vatican.va. สืบค้นเมื่อ 232–267. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. Licona, Michael R. (2009). "Using the Death of Jesus to Refute Islam" (PDF). Journal of the International Society of Christian Apologetics. 2 (1): 87–110. ISSN 2572-9322. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-30. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30.
  14. 14.0 14.1 Schirrmacher, Christine. "The 'Gospel of Barnabas' – Has the True Gospel of Jesus Been Found?". IslamInstitut.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  15. Joosten, Jan (April 2010). "The Date and Provenance of the 'Gospel of Barnabas'". The Journal of Theological Studies. 61 (1): 200–215. doi:10.1093/jts/flq010. JSTOR 43665026.
  16. Kritzinger, J. N. J. (January 1980). "A Critical Study of the Gospel of Barnabas". Religion in South Africa. 1 (1): 49–65. JSTOR 24763798.
  17. 17.0 17.1 17.2 Hewer, Chris (May 2008). "Theological Issues in Christian–Muslim Dialogue". New Blackfriars. 89 (1021): 311–323. doi:10.1111/j.1741-2005.2008.00223.x. JSTOR 43251232.
  18. Watt, W. Montgomery (1991). Muslim–Christian Encounters: Perceptions and Misperceptions. Routledge. ISBN 0-415-05410-9.
  19. Reed, Annette Yoshiko (22 May 2014). "'Muslim Gospel' Revealing the 'Christian Truth' Excites The Da Vinci Code Set". Religion Dispatches. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  20. Inloes, Amina (2016). "The Gospel of Barnabas: A Muslim Forgery?". Islamic Writings: The Student Journal of the Islamic College. 6 (1): 49–65. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.