พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก)
พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) | |
---|---|
![]() | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 (76 ปี) |
มรณภาพ | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | กรกฎาคม พ.ศ. 2480 |
อุปสมบท | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 |
พระมหารัชมงคลดิลก นามเดิม บุญเรือน ปิ่นเกษ ฉายา ปุณฺณโก อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเป็นพระอภิบาลในพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร"[1]
ประวัติ
[แก้]พระมหารัชมงคลดิลก มีนามเดิมว่า บุญเรือน ปิ่นเกษ เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายเรือง กับนางช้อย ปิ่นเกษ
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดอมรเทพ ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี พระอธิการจันทร์ กิตฺติสาโร วัดบ้านยาง ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบางคนทีนอก ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีพระครูบัณฑรธรรมธาดา วัดอมรเทพ ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระมหารัชมงคลดิลก สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนทับทิมจั่นบุญมี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และการศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดอมรเทพ จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาย้ายเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ ณ สำนักวัดบวรนิเวศวิหาร สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
พระมหารัชมงคลดิลก ถึงมรณภาพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดตราด อายุได้ 76 ปี พรรษา 55
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2504 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพุทธมนต์ปรีชา
- พ.ศ. 2512 เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระปัญญาภิมณฑ์มุนี
- พ.ศ. 2528 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวราจารย์ วิศาลธรรมโฆษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสารเวที ขันติสุธีร์สมณคุณ อดุลปริยัติวรากร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิริสารเวที ศรีบวรญาณโสภณ สุวินัยธรรมโกศล วิมลวชิราลังกรณาภิบาล ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระมหารัชมงคลดิลก มหานายกคุณดิเรก กาญจนาภิเษกสุทธาจารย์ ปิฎกธารธรรมสมบัติ สุวัฒนากรบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
ตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์
[แก้]พระมหารัชมงคลดิลก เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะแขวงบวรนิเวศ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และตำแหน่งอื่น ๆ อีกหลายตำแหน่ง
นอกจากนั้น ยังเคยเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในพระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) ในคราวทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2521
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "พระเถระอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร: พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)". วัดบวรนิเวศวิหาร. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอนที่ 23 ข): หน้า 15-17. 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2539. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. ความรู้เรื่อง ปักขคณนา ตำราการคำนวณปฏิทินทางจันทรคติ. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542. จ, 333 หน้า. [ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.5) และพระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.9)]
- วัดบวรนิเวศวิหาร. ประวัติและงานพระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ. ๕) และ พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.๙). กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542. (36), 129 หน้า. [ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.5) และพระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.9)]