ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมวชิรรังษี

(จิรพล อธิจิตฺโต)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 7 ประโยค
ศาสนศาสตรบัณฑิต ศน.บ. นักธรรมเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
อุปสมบท8 มิถุนายน พ.ศ. 2517
พรรษา50
ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม

เจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ธ)

เจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร

พระพรหมวชิรรังษี นามเดิม จิรพล พรหมทอง ฉายา อธิจิตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 8 สืบต่อจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

ชาติภูมิ[แก้]

พระพรหมวชิรรังษี มีนามเดิมว่า จิรพล พรหมทอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายพริ้มและนางเกลื้อม พรหมทอง เป็นพระเถระด้านวิปัสนากรรมฐานที่มีความเรียบง่าย สันโดษ มีความสนใจทั้งด้านพระปริยัติธรรมและด้านวิปัสนากรรมฐาน โดยมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการเผยแผ่ด้านการวิปัสนากรรมฐานให้แก่ภิกษุสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา อย่างต่อเนื่อง บุกเบิกพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร ณ คลองสามวา ไว้สำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติสำหรับพระภิกษุและฆราวาสที่เรียบง่าย เงียบสงบ

ปฐมวัย[แก้]

ในวัยเยาว์ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มุ่งศึกษาอย่างจริงจังแต่ด้วยเห็นว่าวัดในต่างจังหวัดยังมีความไม่พร้อมในด้านการศึกษา จึงตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวงและได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2513 กระทั่งอายุครบบวชถึงได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2517 ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อธิจิตฺโต" แปลว่า ผู้มีจิตสูง โดยมีพระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเกษมวรคนี (บ่าว อรินฺทโม) วัดน้ำขาวนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ด้านการศึกษา[แก้]

นักธรรมเอก

♦ สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค

♦ ปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

♦ รองแม่กองธรรมสนามหลวง

♦ ประธานอุปถัมถ์ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร

ด้านการปกครอง[แก้]

♦ พ.ศ.2558 เป็น พระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ[1]

♦ พ.ศ.2559 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธ)[2]

♦ พ.ศ.2559 เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - จังหวัดสมุทรปราการ (ธ)[3]

♦ พ.ศ.2561 เป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร

♦ พ.ศ.2565 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[4]

♦ พ.ศ. 2566 เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[5]

♦ พ.ศ. 2566 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม [6]

สมณศักดิ์[แก้]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2540 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโสภณคณาภรณ์[7]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิญาณ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]

♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพสังวรญาณ ภาวนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]

♦ 5 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]

♦ 6 มิถุนายน พ.ศ.2567 เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรรังษี ปรีชาศาสนกิจบริหาร ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปฎกวราลงกรณ์ ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุตให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ ประจำปี ๒๕๕๘
  2. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
  3. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
  4. "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 10/256 มติที่ 332/2565 เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร". มหาเถรสมาคม.
  5. "สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง ' พระธรรมวชิรญาณ 'เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร". คมชัดลึก.
  6. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/13120.pdf
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๔, ตอนที่ ๒๖ ข, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๐, หน้า ๑๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒ ข, ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙, หน้า ๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๒, ตอนที่ ๓๓ ข, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘, หน้า ๑
  10. "โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ 10 รูป". ไทยพีบีเอส.
  11. ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นเป็น พระพรหมวชิรรังษี วิ.