ข้ามไปเนื้อหา

พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ (ละเอียด กิตฺติสุขุโม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์

(ละเอียด กิตฺติสุขุโม)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก,ป.ธ.9
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท10 เมษายน พ.ศ. 2507
พรรษา60
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตเจ้าคณะแขวงวัดสามพระยา, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 13

พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ นามเดิม ละเอียด ภู่นคร ฉายา กิตฺติสุขุโม[1] เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม[2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยา[3] ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 13[4]

ชาติภูมิ[แก้]

พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ นามเดิม ละเอียด ภู่นคร เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2486 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 5 ตำบลราษฎร์พัฒนา อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง

การบรรพชาและอุปสมบท[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเกษทอง อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โดยมีพระอธิการทองหล่อ วัดน้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2507 ณ วัดเกษทอง อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง มีพระครูปาโมกข์คณารักษ์ วัดโบสถ์วรดิตถ์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดอาบ วัดโบสถ์วรดิตถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแป้น จันทวัณโณ วัดเกษทอง อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า กิตฺติสุขุโม

วุฒิการศึกษา[แก้]

ศาสนกิจด้านการปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์[แก้]

  • พ.ศ. 2540 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
  • พ.ศ. 2547 เป็นรองเจ้าคณะภาค 13[6]
  • พ.ศ. 2561 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสามพระยา[7][8]
  • พ.ศ. 2561 เป็นรักษาการเจ้าคณะภาค 13
  • พ.ศ. 2562 เป็นเจ้าอาวาสวัดสามพระยา[9]
  • พ.ศ. 2565 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 13
  • พ.ศ. 2565 เป็นเจ้าอาวาสวัดสามพระยา

ศาสนกิจด้านงานการศึกษา[แก้]

ต่อมาตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าเมืองหลวง จำพรรษาที่วัดสามพระยา ได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดสามพระยาในยุคนั้น ให้ปฏิบัติหน้าที่

  • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีชั้น ป.ธ.8 สำนักเรียนวัดสามพระยา
  • เป็นประธานฝ่ายบริหารสำนักเรียนวัดสามพระยา
  • เป็นกรรมการฝ่ายวิชาการ แม่กองธรรมสนามหลวง
  • เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดสามพระยา

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีกิตติโสภณ [10]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
  • 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ดิลกปริยัติกิจ ตรีปิกฎบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

อ้างอิง[แก้]

  1. กองบก (2021-03-30). "พระเทพวิสุทธิดิลก เปิดประตูสู่ดินแดนแห่งการตื่นรู้". The Thai Press.
  2. หยู (2024-06-12). "โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ จำนวน 71 รูป".
  3. https://www.mahathera.org/index.php?url=mati&id=11022
  4. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
  5. https://maha9.mahapali.com/index.php?url=monk_view&id=1393
  6. "พิธีมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช". posttoday. 2015-01-04.
  7. https://www.matichon.co.th/education/news_981575
  8. https://www.pptvhd36.com (2018-06-02). "รักษาการเจ้าคณะ กทม.ตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศ-วัดสามพระยา". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  9. "มส.ลงมติตั้ง "20 เจ้าอาวาส" อารามหลวง เทพรัตนมุนี ดู "วัดสระเกศ"". www.thairath.co.th. 2021-07-26.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๕, ตอนที่ ๒๔ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒๕ ข, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๙, หน้า ๒๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๓, ตอนที่ ๔๓ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๓