ผู้ใช้:WichaSirijarattrakul

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[แก้]

กล่าวนำ กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่าห้าล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (primate city) จัด และศูนย์ชุมชนอื่นของประเทศไทยด้อยความสำคัญลง มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครนั้นเป็น เอกนครที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองถึงสี่สิบเท่า

คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

เรียกว่าเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สำหรับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว พระอารามหลวงชั้นพิเศษ ที่ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐาน พระมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต รวมถึงใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เพราะฉะนั้น กระปุกท่องเที่ยวเลยจะพาเพื่อน ๆ ไป เที่ยววัดพระแก้ว ยลโฉมความงดงามของ วัดพระแก้ว วัดคู่บ้านคู่เมืองของกรุงรัตนโกสินทร์กันค่ะ

ประวัติวัดพระแก้ว[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เสร็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 2325 ได้ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2325 โดยมีที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับพระราชวังเดิม ของกรุงธนบุรี

ซึ่งพระบรมมหาราชวังนี้มีเนื้อที่ 152 ไร่ 2 งาน รวมความยาวโดยรอบสี่ด้านกำแพง ได้ทั้งหมด 1,910 เมตร ประกอบไปด้วยป้อมปราการ กับประตูพระราชวังโดยรอบ ภายในของพระบรมมหาราชวัง แบ่งเป็นสี่ส่วน คือ พระราชฐานชั้นนอก พระราชฐานชั้นกลาง พระราชฐานชั้นใน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ในบริเวณวังเหมือนกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอารามหลวง ในเขตวังนี้นับเป็นแบบธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาแต่โบราณ

สำหรับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่ประดิษฐาน "พระแก้วมรกต" รวมถึงเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โดยเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

สถาปัตยกรรม[แก้]

พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซ.ม สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซ.ม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระอุโบสถที่สวยสดงดงามมาก มีภาพเขียนปางมารวิชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บานประตูพระอุโบสถและบานหน้าต่างประดับด้วยมุก มีลวดลายสวยงาม เป็นฝีมือในรัชกาลที่ ๑

พระระเบียง คือ พระระเบียงที่ล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน รอบพระระเบียงภายในมรภาพเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจบจบ มีโคลงสี่สุภาพจารึกลงบนแผ่นศิลาตามเสาอธิบายภาพประกอบ

ศาลารายรอบพระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ศาลาราบรอบพระอุโบสถมี ๑๒ หลัง ใช้เป็นที่อ่านหนังสือศาสนาให้ราษฎรที่ไม่รู้หนังสือฟังเวลามีงานหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จนเกิดมีประเพณีสวดโอ้เอ้ วิหารรายขึ้นที่นี่

หอราชพวศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วด้านหลังพระอุโบสถอยู่ทางทิศใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเขียนภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร

หอราชกรมานุสรณ์และพงษานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่างๆในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ระหว่างหอราชกรมานุสรและหอราชพงศานุสร เป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยา

หอพระคันธารราษฎร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งอยู่ทางด้านใต้มุมพระระเบียง หน้าพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธคันธารราษฎร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระพุทธรูปเรียกฝน เป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่ง ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ เป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นพระประธาน ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ และพิธีพิรุณศาสตร์ ภายในหอพระคันธารราษฎร์เขียนภาพเกี่ยวกับฝนต่างๆ เช่น ฝนในแต่ละฤดู รวมทั้งฝนโบกขรณีด้วย