ผู้ใช้:Satayu1997/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโยบายของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์

#1 ประวัตินายโดนัลด์ ทรัมป์[แก้]

ไฟล์:โดนัล ทรัมป์.jpg

- ดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (อังกฤษ: Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) ปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่องเขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ทรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง)ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี ค.ศ. 1963 ดอนัลด์ ทรัมป์ได้เข้าร่วมบริษัทของพ่อของเขา ทรัมป์ออร์กาไนเซชันเริ่มงานโดยการปรับปรุงโรงแรมคอมมอดอร์เป็นแกรนด์ไฮแอตต์กับครอบครัวพริตซ์เกอร์ เขายังคงดำเนินงานทรัมป์ทาวเวอร์ในนิวยอร์ก และหลายโครงการที่พักอยู่อาศัย ต่อมาทรัมป์ยังขยับขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการบินและธุรกิจคาสิโนแอตแลนติกซิตี รวมถึงการซื้อทัชมาฮาลคาซีโน จากครอบครัวครอสบี แต่ก็ประสบกับภาวะล้มละลาย ข่าวส่วนมากในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ของเขามักเกี่ยวกับด้านปัญหาการเงินในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากฟื้นด้านธุรกิจและชื่อเสียง ในปี ค.ศ. 2001 เขาสร้างทรัมป์เวิลด์ทาวเวอร์สำเร็จ เป็นอาคารที่อยู่อาศัย 72 ชั้น อยู่ตรงข้ามสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติเขายังเริ่มสร้างทรัมป์เพลซ กลุ่มอาคารหลายหลังริมแม่น้ำฮัดสัน ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของพื้นที่การค้าในทรัมป์อินเตอร์แนชนัลแอนด์ทาวเวอร์ อาคาร 44 ชั้น (โรงแรมและอาคารชุดรวมกัน) ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของพื้นที่หลายล้านตารางฟุต อสังหาริมทรัพย์ในแมนแฮตตันและยังถือเป็นบุคคลสำคัญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและเป็นคนมีชื่อเสียงสำคัญกับสื่อมวลชน ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของกิจการการประกวดนางงามจักรวาลทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 โดยชนะฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ด้วยวัย 70 ปี ทรัมป์เป็นบุคคลอายุมากที่สุดและมีทรัพย์สินมากที่สุดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน และเป็นบุคคลที่สี่ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่ได้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้างมากทั่วประเทศแนวนโยบายของทรัมป์เน้นการเจราความสัมพันธ์สหรัฐ–จีนและความตกลงการค้าเสรีใหม่ เช่น นาฟตาและความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก การบังคับใช้กฎหมายการเข้าเมืองอย่างแข็งขัน การสร้างกำแพงใหม่ตามชายแดนสหรัฐ–เม็กซิโก จุดยืนอื่นของเขาได้แก่การมุ่งอิสระทางพลังงานขณะที่ค้านข้อบังคับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่น เช่น แผนพลังงานสะอาดและความตกลงปารีส ปฏิรูปกิจการทหารผ่านศึก แทนที่รัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ (Affordable Care Act) การเลิกมาตรฐานการศึกษาคอมมอนคอร์ (Common Core) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลดความยุ่งยากของประมวลรัษฎากร (ประมวลกฎหมายภาษี) ขณะที่ลดภาษีแก่ทุกคน และกำหนดภาษีนำเข้าต่อบริษัทที่จ้างงานนอกประเทศ ทรัมป์ส่งเสริมแนวนโยบายต่างประเทศที่ไม่แทรกแซงเสียงส่วนใหญ่

#2 นโยบายการทำงานของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์[แก้]

#2.1 ด้านเศรษฐกิจ

- ในช่วงระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง นายทรัมป์ได้โจมตีนโยบายด้านการค้าของนายโอบามา โดยเฉพาะเรื่องของ TPP (Trans Pacific Partnership) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลที่ผ่าน TPP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุม 12 ประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก (ไทย จีน และอินเดียไม่ได้อยู่ในนั้น) แต่ TPP ได้สร้างความขัดแย้งมากมายภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง มีความเกรงกลัวกันอย่างแพร่หลายว่าสหรัฐฯ จะสูญเสียงานให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จนทำให้ TPP ไม่สามารถผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสได้ภายใต้รัฐบาลโอบามา การต่อต้าน TPP อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นายทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงจากรัฐที่เป็นฐานอุตสาหกรรมใหญ่ในอเมริกาโดยปกติแล้วพรรครีพับลีกัน (อนุรักษ์นิยม) ของนายทรัมป์จะเป็นพรรคที่ไม่ได้เป็นศัตรูต่อการค้าเสรี แต่ทรัมป์ได้รับชัยชนะจากการสร้างภาพที่ต่างจากตัวแทนของพรรครีพับลีกันที่ผ่านๆ มา คือ เขาสามารถทำให้ฐานเสียงจากภาคอุตสาหกรรมที่ไม่เห็นด้วยกับ TPP รู้สึกว่าทรัมป์สามารถต่อสู้เพื่อปกป้องงานของพวกเขาได้ ทรัมป์เคยประกาศหลายครั้งว่าเขาคิดว่าข้อตกลงการค้าเสรีนั้นควรทำระหว่าง 2 ประเทศคู่ค้า เพราะไม่มีการเขียนข้อตกลงวิธีใดที่จะทำให้ทุกประเทศยอมรับได้หากมีหลายๆ ประเทศร่วมหารือกัน ดังนั้นเราน่าจะเห็นรัฐบาลของทรัมป์พยายามขอเจรจา TPP ใหม่หรือล้มเลิกการเข้าร่วม TPP แล้วหันมาตกลงเรื่องการค้าแบบทวิภาคีแทนข้อตกลงแบบพหุพาคีการถอนตัวจาก TPP หรือการขอเจรจา TPP ใหม่ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ประเทศจีนมีข้อเสนอทางการค้าที่เป็นคู่แข่งกับ TPP นั่นคือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ที่จะได้อานิสงส์จากความคลุมเครือของสหรัฐฯ ต่อการค้าเสรี ทำให้จีนสามารถพลักดัน RCEP ซึ่งมีประเทศอาเซียน 10 ประเทศเป็นเข้าร่วมเจรจาได้เต็มที่ และทำให้จีนมีโอกาสเป็นตัวละครที่สำคัญกว่าอเมริกาในด้านการค้าในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเป็นอย่างมากสำหรับไทย และประเทศอาเซียนอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วม TPP ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะรื้อฟื้นการเจรจาการค้าเสรีระหว่างสองประเทศ (US-Thai FTA) แต่ไทยเองจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถึงจะเริ่มเจรจาได้อย่างเป็นทางการ

#2.2 นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

- นโยบายปฏิรูประบบคนเข้าเมือง ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าตนรับรู้ถึงสิ่งที่คนอเมริกันต้องการ และได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ ซึ่งจะช่วยให้อเมริกาปลอดภัย และช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนอเมริกัน พร้อมสัญญาว่าจะเดินหน้าสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐฯ - เม็กซิโก ต่อไป เพื่อป้องกันการขนส่งอาวุธเถื่อนและยาเสพติด โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่าจะมีการนำระบบคนเข้าเมืองที่อิงตามหลักคุณธรรมมาใช้เหมือนหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งจะใช้มาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในการปกป้องประเทศจากกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมแนวคิดสุดโต่ง ผ่านกระบวนการคัดกรองคนเข้าเมือง

- การทบทวนการลงทุนด้านความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนของอเมริกา ในหมู่นักการเมืองและนักนโยบายของสหรัฐฯ (โดยเฉพาะฝ่ายรีพับลีกัน) มีความรู้สึกว่าประเทศในภูมิภาคอาเซียนนั้นเอาเปรียบประเทศเขามาตลอด เราใช้ความสัมพันธ์ที่ดีทางด้านการทหารกับสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงในภูมิภาค (security guarantee) และเปิดโอกาสให้เราได้ประกอบการค้ากับประเทศจีนได้อย่างสบายใจ โดยที่สหรัฐฯ นั้นรู้สึกว่าการลงทุนทางด้านความมั่นคงในอาเซียนนั้นไม่ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า แต่ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์คือประเทศอาเซียนและประเทศจีนนายทรัมป์ขึ้นมาสู่อำนาจด้วยนโยบายที่จะทวงคืนและทบทวนการลงทุนที่สหรัฐฯ ได้รับผลประโยชน์ไม่คุ้มค่า นายทรัมป์เป็นตัวแทนของความอึดอัดต่อบทบาทของสหรัฐฯ ในบริบทโลก เป็นไปได้ว่าเราจะเห็นบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคที่ลดลงมาก ถึงไม่ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม แต่ความเอาใจใส่นั้นไม่น่าจะเท่ากับยุคของโอบามาอย่างแน่นอน อาจจะเกิดเหตุการณ์เหมือนตอนช่วงประธานาธิบดีจอร์จ บุช ในช่วงก่อนปี 2000-2008 ซึ่งผู้สังเกตุการณ์ท่านหนึ่งได้ให้ชื่อว่าเป็นยุค American Absenteeism (ยุคที่อเมริกาหายตัวไปจากภูมิภาค)รัฐบาลของทรัมป์คงต้องชั่งใจดูว่าจะปล่อยอาเซียนให้รู้สึกถูกทอดทิ้ง จนต้องหันไปพึ่งและตกอยู่ในอิทธิพลของประเทศจีนมากขึ้น หรือปล่อยให้สหรัฐอเมริกาเป็นยามเฝ้าระวังให้ประเทศอาเซียนแล้วปล่อยให้เราสร้างความมั่งคั่งกับจีนกันต่อไป ประเทศในภูมิภาคอาเซียนคงต้องเตรียมพร้อมการต่อรองและรับมือกับสหรัฐฯ ที่ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเราน้อยลง

- ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับจีน นายทรัมป์ก้าวขึ้นมาสู่อำนาจด้วยวิธีการพูดที่แข็งขันและเน้นการสร้างความเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศจีนเป็นตัวเรียกแรงสนับสนุนในการเลือกตั้ง หากทรัมป์ดำเนินนโยบายต่อประเทศจีนตามที่ได้กล่าวไว้ในช่วงหาเสียง จะทำให้ 4 ปีต่อจากนี้เป็นห้วงเวลาที่เป็นการเผชิญหน้าอย่างเปิดเผยอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทุกคนที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศจะทราบดีถึงการแข่งขันของมหาอำนาจสองประเทศนี้ แต่ที่ผ่านมามีไม่บ่อยครั้งนักที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะพูดถึงข้อขัดแย้งต่างๆ สหรัฐฯ จะระวังเรื่องคำพูด การสื่อความหมายที่มีนัยยะของความขัดแย้งกับจีนเป็นอย่างมาก ผู้นำสหรัฐฯ และจีนเองจะเน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเน้นพูดถึงสิ่งที่ทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ แต่การขึ้นมาสู่อำนาจของนายทรัมป์จะทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับจีนนั้นเป็นการเผชิญหน้ามากขึ้น อย่างน้อยก็ในเชิงวาทกรรม เราต้องดูต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงมากแค่ไหนอาเซียนอาจจะตกอยู่ในฐานะลำบากหากต้องเลือกว่าเราจะอยู่ในค่ายของสหรัฐฯ หรือค่ายจีนถ้าการเผชิญหน้ามีความจริงจังมากขึ้น ประเทศไทยเองน่าจะต้องตกที่นั่งลำบาก เราเป็นพันธมิตรสนธิสัญญาทางการทหารกับสหรัฐฯ เราจึงน่าจะถูกคาดหวังว่าต้องทำหน้าที่แทนอเมริกาในภูมิภาคนี้ในยุคของโอบามา รัฐบาลเขาทราบดีว่าประเทศอาเซียนนั้นไม่อยากที่จะต้องเลือก เราต้องอยู่ใกล้จีนตลอดไป และต้องทำการค้ากับจีน แต่ในการพูดของนายทรัมป์ที่ผ่านมานั้นดูเหมือนไม่ค่อยเข้าใจกับความลำบากใจของประเทศอาเซียนมากนัก มีการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ถึงสงครามด้านการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน (ซึ่งเกิดขึ้นบ้างแล้วในบริบทของ TPP vs RCEP ที่ได้กล่าวมาข้างต้น) การเผชิญหน้าถึงขั้นสงครามการค้า หรือมากกว่านั้นคือสงครามด้านการทหารนั้นจะไม่เป็นผลดีกับประเทศในอาเซียนเลย

#2.3 นโยบายการบังคับใช้กฎหมาย

- การลดทอน “Soft Power” (อำนาจละมุน) ของอเมริกา ในโลกของนโยบายต่างประเทศความหมายของคำว่า “อำนาจ” (power) สามารถตีความได้ 2 แบบ คือ 1. Hard Power (อำนาจแข็ง) และ 2. Soft Power (อำนาจละมุน)“อำนาจแข็ง” เป็นอำนาจที่สามารถช่วยให้ประเทศนั้นๆ บรรลุเป้าหมายทางด้านต่างผ่านการขู่ ข่ม หรือบังคับ อำนาจแข็งที่ว่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการดำเนินนโยบายทางการทหาร และการมีกองทัพที่แข็งแกร่ง หรือการมีสภาวะเศรฐกิจที่ใหญ่ ทำให้มีอาวุธทางเศรษฐกิจใช้ในการต่อรอง เช่น การคว่ำบาตร (sanction) ต่างๆ หรือการต่อสู้สงครามการค้า เราค่อนข้างมั่นใจได้ว่า ประเทศสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์นั้นยังมี “อำนาจแข็ง” อย่างเต็มที่ อยู่ที่ว่าเขาจะเลือกใช้อย่างไร แต่ทรัมป์จะประสบปัญหาในการใช้ Soft Power หรือ อำนาจละมุน ในการดำเนินเป้าหมายทางด้านต่างประเทศของสหรัฐฯ อำนาจละมุน คืออำนาจด้านการดำเนินการนโยบายต่างประเทศที่ประเทศหนึ่งสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้โดยไม่ต้องใช้การข่มขู่ บังคับ หรือทำให้คู่ต่อรองเกิดความเกรงกลัวสำหรับสหรัฐฯ อเมริกา อำนาจละมุนที่ว่านี้ถูกสั่งสมมานานในฐานะผู้นำโลกเสรีนิยม หลังจากการล่มสลายไปของมหาอำนาจโซเวียต ตัวอย่างเช่น การที่ประเทศไทยเรารู้สึกหวั่นไหวเสมอเมื่อโดนสหรัฐฯ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือเรื่องประชาธิปไตย เป็นต้น มีเหตุการณ์หลายครั้งที่เราต้องดำเนินนโยบายภายในประเทศที่แตกต่างออกไปจากการท้วงติงจากสหรัฐฯ ถึงแม้สิ่งนั้นจะไม่ได้ส่งผลทันทีต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อทางสหรัฐฯ และไทยเอง เช่น การให้คะแนนต่อการจัดการปัญหาค้ามนุษย์ของไทย (TIP Report) ที่ทำให้รัฐบาลไทยต้องทำงานด้านนี้กันอย่างแข็งขันมากขึ้นสหรัฐฯ สามารถใช้อำนาจละมุนแบบนี้ได้เพราะความน่าเชื่อถือต่อค่านิยมต่างๆ ที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศเขาเอง แต่อำนาจละมุนเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพน้อยลงมากภายใต้รัฐบาลของนายทรัมป์ และสหรัฐฯ เองน่าจะรู้ดีในข้อด้อยนี้ เราจึงน่าจะเห็นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ระวังตัวมากขึ้น และจะลดการก้าวก่ายต่อปัญหาการเมืองการปกครองของประเทศเราในภูมิภาคนี้มองในแง่มุมหนึ่ง สหรัฐฯ ที่เจียมตัวมากขึ้นจะทำให้รัฐบาลไทยทำงานง่ายขึ้นและมีแรงกดดันน้อยลง แต่ในทางกลับกัน หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง ฝ่ายนักเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตย เรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเรื่องผู้ลี้ภัย ฯลฯ ก็น่าจะหมดกำลังใจลงไม่น้อย และปัญหาที่อเมริกาถูกลดความน่าเชื่อถือลงนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อประเทศไทย หากเรามองว่าการเฝ้ามองจากต่างประเทศนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลไกลตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลไทย และแท้จริงแล้วอาจจะเป็นกลไกเดียวที่เราเคยให้ความหวังไว้เป็น check & balance ให้กับประเทศในภูมิภาคเรา

- การผ่อนปรนด้านกฎเกณฑ์และกฎหมาย พิธีสาบานตนเสร็จสิ้นลงไม่ทันไร นายเรนซ์ พรีบัส หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ก็สั่งระงับการออกกฎระเบียบใหม่ๆ ยกเลิกระเบียบราชการที่จุกจิกไป ทั้งนี้เพราะตอนรณรงค์หาเสียง นายทรัมป์เคยสัญญาไว้แล้วว่าจะลดละระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นภาระต่อการทำธุรกิจแต่การระงับกฎหมายใหม่ ๆ เอาไว้ก่อน ก็เป็นเรื่องปกติเมื่อประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งกิจกรรมที่น่าถกเถียงกันมากที่สุดของประธานาธิบดีทรัมป์คือการระงับกฎหมายการบริการสุขภาพของประธานาธิบดีโอบาม่า ที่เรียกกันว่า "โอบาม่าแคร์" ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรต่อคนที่ทำประกันสุขภาพและบริษัทประกันเอกชน แต่ประธานาธิบดีคนใหม่สาบานว่าจะยกเลิกโครงการนี้และหาโครงการอื่นมาทดแทนสำหรับกฎหมายอื่น ๆ ที่โดนระงับไว้ ตอนนี้จะมีการพิจารณาทบทวน แต่ก็คงจะไม่เพียงแค่นั้น นายวิลเบอร์ รอสส์ สมาชิกคนหนึ่งในคณะรัฐมนตรีของนายทรัมป์ กล่าวไว้เมื่อปีที่แล้วว่า การยกเลิกกฎระเบียบจะช่วยให้ธุรกิจประหยัดเงินได้ถึงปีละสองแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเขายกเรื่องกฎข้อห้ามเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยกับอุตสาหกรรมถ่านหินขึ้นมากล่าวว่าควรยกเลิก

#2.4 กิจการพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน

- รายการสำคัญลำดับต้นๆที่รัฐบาลนี้ต้องการทำ คือ "แผนพลังงาน" สำหรับนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ตามแผนนี้ ทรัมป์ต้องการให้ดำเนินการนำ เชลออยล์หรือน้ำมันจากชั้นหินดินดาน และขุดแหล่งแก๊สสำรองขึ้นมาใช้ พร้อมพลิกฟื้นอุตสาหกรรมถ่านหินที่ "กำลังเจ็บ" ให้กลับมารัฐบาลประกาศว่าค่าสัมปทานจากการขุดน้ำมันจะนำไปใช้จ่ายเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามที่สัญญาไว้ เช่น ถนน โรงเรียนและสะพาน โดยละเลยเรื่องที่จะพูดถึง สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง อันเป็นยุทธศาสตร์หลักในนโยบายของรัฐบาลนายโอบามา เรื่องราวด้านสิ่งแวดล้อม ถูกกล่าวถึงเพียงว่า องค์การพิทักษ์สภาพแวดล้อมของรัฐ (Environmental Protection Agency) มี "พันธกิจหลักในการพิทักษ์สภาพอากาศและน้ำ"

#2.5 การจ้างงาน

- เว็บไซต์ของทำเนียบขาวพรรณนาภาพที่น่าหดหู่ของเศรษฐกิจอเมริกาในอดีต ชี้ไปยังงานด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่หายไปและการฟื้นตัวที่ "เชื่องช้า"นับจากปี 2551 (ในสมัยโอบามา) ทว่า ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ เขามีแผนจะสร้างงานใหม่ 25 ล้านตำแหน่งให้ชาวอเมริกัน และทำให้ประเทศหวนคืนสู่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 4% โดยใช้การลดภาษีในทุกภาคส่วน เพื่อกระตุ้นการลงทุน แต่ ไม่บอกว่า จะหาเงินจากที่ใดมาชดเชยรายได้ภาษีที่ลดลง

#3 ผลตอบรับต่อการเข้ารับตำแหน่งของนายโดนัลด์ ทรัมป์[แก้]

- โดนัลด์ ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐยาวๆไปอีก 4 ปี จนถึงมกราคม 2564 แต่ในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งก็มีผู้ประท้วงออกมารวมตัวกันเดินขบวนกันมากมายในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ เสียแล้วเมื่อวานนี้ ได้มีการรวมตัวกันประท้วงในนามวีเมนส์ มาร์ชหรือการเดินขบวนของสตรีเพื่อต่อต้านการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ในหลายเมืองทั่วสหรัฐฯ และทั่วโลก ทั้งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์กลอสแองเจลิส บอสตัน ชิคาโก ไมอามี โอ๊คแลนด์ ฟีนิกซ์ เดนเวอร์ ซีแอตเติล ลามไปถึงในต่างประเทศทั้ง ลอนดอน ปารีส และเมลเบิร์นด้วย ตามรายงาของวอชิงตันโพสต์ ในวอชิงตัน ดี.ซี. กลุ่มเดินขบวนผู้หญิงผู้ต่อต้านทรัมป์ มีผู้เข้าร่วมมากครึ่งล้านคน โดยมีดารานางแบบฮอลลีวูดเข้าร่วมด้วย หนึ่งในนี้คือนักร้องชื่อดังอย่าง มาดอนนา มี ชาร์ลิซ เธอรอน นักแสดงสาวเจ้าของรางวัลออสการ์ เคที เพอร์รี นักร้องสาวโดยมาดอนน่ากล่าวบนเวทีเลยว่า ความดี ไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ความดีจะชนะในตอนจบ แล้วก็บอกอีกว่า ฉันโมโห ฉันเจ็บแค้น และฉันคิดอยู่หลายตลบเกี่ยวกับการวางระเบิดทำเนียบขาว แต่ฉันรู้ดีว่าการกระทำอย่างนั้นจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เราต้องไม่สิ้นหวัง"


[1][2][3][4][5][6][7][8]

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C_%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C
  2. http://thaipublica.org/2017/01/fuadi-7/
  3. http://www.bbc.com/thai/international-38703015
  4. http://www.voathai.com/a/trump-speech-congress/3744606.html
  5. http://www.thairath.co.th/content/870487
  6. http://www.thairath.co.th/content/830873
  7. http://www.moneychannel.co.th/news_detail/15349/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88
  8. http://www.bbc.com/thai/international-38730721