ผู้ใช้:Maimetang/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นมาระบอบรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการจรรโลงกระแสการเมืองไว้ในสังคมไทยก็สิ้นสุดลง โดยมีอุดมการณ์ใหม่คืออุดมการณ์แห่งการพัฒนามาแทนที่ การที่กระแสใหม่นี้จะกลายเป็นกรอบอ้างอิงสำหรับความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในสังคมได้ก็จำเป็นจะต้องมีอำนาจทางกฎหมายรองรับและการได้รับความสนับสนุนจากผู้นำสูงสุด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ยิ่งซึ่งนำไปสู่การสร้างความเป็นสถาบันให้แก่กรอบอ้างอิงทางอำนาจใหม่นี้ ก็คือ การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นแผนระยะเวลา 6 ปี (2504-2509)

การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจทำให้สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ[แก้]

แปรสภาพจากการเป็นเพียงสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีไปเป็นหน่วยงานกลางที่มีความสำคัญในฐานะเครื่องมือของหัวหน้าฝ่ายบริหารที่ใช้ในการกำหนดแนวทางในการแจกจ่ายทรัพยากรระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยอาศัยแผนงานและโครงการอ้างอิงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 แล้วก็ตาม แต่สภาเศรษฐกิจก็ไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจรองรับ เมื่อมีการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยลงพระปรมาภิไธยโดยองค์พระมหากษัติย์ด้วย จึงทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเอกสารที่มีสถานภาพสูงเท่ากับกฎหมายฉบับอื่นๆ และทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจกลายเป็นกรอบอ้างอิงใหม่ กรอบอ้างอิงนี้มีกฎหมายฉบับอื่นๆ และทำให้แผนพัฒนากลายเป็นกรอบอ้างอิงใหม่ กรอบอ้างอิงมีความสำคัญต่อระบบราชการโดยตรง ในแง่ที่เป็นปัจจัยผลักดันให้ระบบราชการสามารถมีบทบาทนำฝนการเข้าไปแทรกแซงในวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมได้มากขึ้น เมื่อเทียบแผนพัฒนาเศรษฐกิจกับรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าในขณะที่รัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดกติกาที่ตีกรอบจำกัดอำนาจและการปฏิบัติงานของกลไกอำนาจรัฐแผนพัฒนาฯ กลับเสริมและให้บทบาทแก่กลไกลรัฐมากขึ้น มิติการพัฒนากับมิติความมั่นคงจึงเป็นอุปกรณ์ซึ่งกันและกัน ส่วนมิติของการมีส่วนร่วมซึ่งมีลักษณะทางการเมืองก็ได้ถูกบดบังไปโดยการผนึกประสานระหว่างมิติการพัฒนาและความมั่นคง ที่สำคัญก็คือในขณะที่แผนพัฒนาฯ ก็เป็นเครื่องมือของฝ่ายราชการประจำโดยเฉพาะผู้ชำนาญซึ่งปลอดจากการเข้าแทรกแซงหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดหรือประเมินทบทวนโดยสถาบันรัฐสภา แผนพัฒนาฯ จึงกลายเป็นกรอบอ้างอิงนโยบายที่ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะที่มาจากการเลือกตั้งต้องยอมรับโดยปริยาย
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดขึ้นในสมัยแห่งการปฏิวัติ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ประเทศปลอดจากการเลือกตั้งเป็นเวลา 11 ปีเต็ม (2501-2511) ดั้งนั้นการดำเนินการจัดสร้างและปรับปรุงกลไกเพื่อรองรับการพัฒนาจึงขาดมิติทางการเมือง (ซึ่งจะเป็นมิติที่สำคัญในสมัยต่อมา)การกำหนดกลไกรองรับการพัฒนาจึงเป็นการสร้างกลไกการบริหารที่เกิดขึ้น และเติบโตภายในระบบราชการ จัดว่าเป็นการเปลี่ยนกลไกระบบราชการเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดและชี้นำ โดยราชการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การที่ระบบการเมือง-การบริหาร เน้นความสำคัญที่ตัวนายกรัฐมนตรี มีผลทำให้เกิดการสร้างระบบบริหารช่วยอำนวยของตัวหัวหน้ารัฐบาลแทนที่จะเป็นการปรับปรุงระบบคณะรัฐมนตรี
ดังจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ได้กระจายหน่วยงานกลางระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจดั้งเดิมของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีออกไปอยู่ในโครงสร้างใหม่ถึง 4 หน่วยงานคือ แทนที่จะมีแต่สำนักเลขาธิกาคณะรัฐมนตรี สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี กลับมีปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนั้นสำนักนายกรัฐมนตรีอื่นๆ อีกรวม 26 หน่วย ในขณะเดียวกัน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับภารกิจหลัก กล่าคือ ยังคงมีการแบ่งกอง 4 กองและ 11 แผนกเหมือนเดิม ดังนั้นกลไกทางการเมืองที่ขาดหายไป และกลไกทางการบริหารที่เป็นฝ่ายช่วยเหลือคณะรัฐมนตรีก็มิได้รับการสร้างเสริมลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้นำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง-การบริหารไว้ที่ตัวบุคคล หรือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว โดยตัวระบบคณะรัฐมนตรีมีความอ่อนแอตลอดมา[1]

การเปลี่ยนแปลงของภาครัฐสู่บริบทของการบริหารจัดการภาครัฐยุคใหม่[แก้]

ระบบราชการไทยในอดีตมีความเติบโตด้านโครงสร้างมากกว่าทุกด้าน มีการขยายตัวในแนวตั้งและแนวนอน การขยายตัวดั้งกล่าวเป็นเพราะมีความจำเป็นจากภาระหน้าที่ใหม่ที่เกิดจากการพัฒนาประเทศ และไม่มีความจำเป็นทั้งยังเป็นการขยายตัวที่ซ้ำซ้อนกับภาระหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้ว

กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อรัฐไทย[แก้]

กระแสโลกาภิวัตน์เริ่มเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ประกอบกับประเทศไทยของเราได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับปี 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉบับแรกซึ่งมีเจตนารมณ์การปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ

  1. ขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง
  2. การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใส่ในระบบการเมือง
  3. การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

จากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เกิดขึ้นนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดเรื่องของการบริหารจัดการแนวใหม่ที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งทำให้ความต้องการของประชาชนนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องเพิ่มศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

การบริหารองค์การในสหัสวรรษใหม่[แก้]

การบริหารองค์การในสหัสวรรษใหม่ต้องนำกระบวนการเชิงกลยุทธ์มาใช้ โดยองค์การแต่ล่ะองค์การตั้งมีแผนกลยุทธ์สำหรับบริหารจัดการซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริหาร อย่างไรก็ดี การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีลักษณะร่วมที่สำคัญ คือ การสะท้อนถึงการมุ่งเน้น"การปฏิรูป" การบริหารงานในภาครัฐ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาทางการบริหารที่ตัวแบบดั้งเดิมหรือระบบบริหารแบบเดิมมิอาจจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังเช่นในอดีต โดยมีจุดเน้นความสำคัญไปที่ระบบการจัดการมากกว่านโยบาย การมุ่งเน้นผลงานและประสิทธิภาพ การมุ่งปรับโครงสร้างในแบบระบบราชการที่มีความเทอะทะและใหญ่โตไปสู่องค์การที่มีขนาดเล็ก การปรับระบบการบริหารจัดการที่วางอยู่กลไกทางการตลาดมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการแข่งขัน การตัดทอนและลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และสุดท้ายได้แก่ การปรับรูปแบบการจัดการที่เน้นเป้าหมาย การใช้ระบบสัญญาว่าจ้างระยะสั้น และการให้แรงจูงใจทางการเงินและความเป็นอิสระทางการจัดการ

การนำระบบประเมินผลแบบเปิดไปใช้ในภาครัฐ[แก้]

จากอดีตที่ผ่านมาการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐนั้นมักเป็นการประเมินผลในระบบปิดซึ่งหมายความว่า "หน่วยงานเป็นผู้ประเมินผลงานของหน่วยงานเอง" ซึ่งผลการประเมินนั้นมักเป็นไปในลักษณะที่เรียกได้ว่าเข้าข้างตนเองอย่างชัดเจนและส่งสารกลับไปรัฐบาลว่าหน่วยงานของตนนั้นมีความสำคัญมากและการทำงานของหน่วยงานของตนเองนั้นมีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นผลทำให้งบประมาณของรัฐไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีการรั่วไหลเกิดขึ้น ดังนั้น การประเมินผลในระบบปิดนั้นย่อมเป็นการกำหนดให้การดำเนินงานของหน่วยงานที่ไม่เกิดขึ้นให้ทำต่อเรื่อยๆ โดยที่ไม่เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ

การปรับบทบาทของรัฐจากงานด้านการปกครองมาสู่ด้านเศรษฐกิจ[แก้]

กรมศุลกากรในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานราชการที่จะต้องมีการให้บริการและติดต่อระหว่างข้าราชการกับประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเกิดการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และเพื่อให้ทันต่อกระแสของการพัฒนาการด้านสังคมและเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว[2] โดยสรุปแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ลักกษณะของการปรับปรุงระบบราชการมักจะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเฉพาะส่วนย่อย ซึ่งได้แก่การปรับปรุงโครงสร้างและระบบงานในระดับกรมและกอง โดยที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีการคำนึงถึงความโยงใยที่ภารกิจของกองและกรมที่ได้รับการปรับปรุงมีผลต่อการปรับปรุงมีผลต่อภารกิจของส่วนราชการอื่นๆ และตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมานับตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนจนมีอำนาจรวมศูนย์มากที่สุดก็คือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยส่วนรวม วิวัฒนาการนี้เองที่มีผลทำให้อำนาจรัฐสภาตกอยู่ในวงแห่งอำนาจทางราชการมาโดยตลอด การปรับเปลี่ยนที่ขาดแนวทางที่เหมาะสมขาดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหญ่ การปรับเปลี่ยนเป็นแบบทั่วด้าน,การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการให้สอดคล้องกับกระแสโลกนี้ ย่อมเป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่งต่อการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ของรัฐไทย[3]

  1. ธวัชชัย ยงกิตติกุล "แนวโน้มและปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 1980 " ใน สมศักษ์ ชูโต (บรรณาธิการ) ประเทศไทยทศวรรษ 1980 : ปัญหาสำคัญและแนวโน้ม (กรุงเทพ : สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย, 2524) หน้า 36-38 และ วีรพงษ์ รามางกูร "การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1-4" ใน ตีรณ โง้วศิริมหณี (บรรณาธิการ) เศรษฐกิจไทย : การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์, 2525), หน้า 80-88
  2. วรเดช จันทรศร,2539(ก),น.10 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,2545, น.124 วสันต์ เหลทองประภัสร์, 2548, น.45-46 วรเดช จันทรศร, 2543 (ข) สมาน รังสีโยกฤษณ์2540
  3. ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535 น.190