ผู้ใช้:Ang Angwara/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายการจัดการบริการสาธารณะท้องถิ่น[แก้]

การบริการสาธารณะ (อังกฤษ: Public service) หมายถึง การบริการหรือกิจกรรมที่รัฐจัดทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ อยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของส่วนรวม บอยกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน[1] อันเป็นการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน และ สร้างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคมให้ท้องถิ่น โดยมีหลักการที่เป็นประเด็นสำคัญในการจัดบริการสาธารณะ คือ การจัดการบริการสาธารณะต้องดำเนินเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ แก่ส่วนรวมสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น มีความเสมอภาคความต่อเนื่อง และ ความโปร่งใสในการให้บริการ[2]

การจัดบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดอำนาจ และ หน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะใน การจัดบริการสาธารณะ ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล และ กรุงเทพมหานคร มีอำนาจ และ หน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้เป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายและ กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุน และ เงินจากการจัดสรรภาษี แล ะอากรเพื่อให้การดำเนิน การสร้างบริการสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ[3]โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักคือ ด้านการจัดบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเช่น การสร้างถนนหนทาง ไฟฟ้าสาธารณะ และ การบริหารแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่ประชาชนด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อย่างเช่น การบริหารศูนย์เด็กเล็กการบริการสาธารณสุข การจัดการศึกษาของท้องถิ่น และ บริการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในท้องถิ่น ด้านการจัดระเบียบชุมชน และ รักษาความสงบการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนการป้องกัน และ บรรเทาสาธารณภัยและ ยังมีความจากห้องน้ำสาธารณะในท้องถิ่น และ ด้านสุดท้ายคือการลงทุน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยว และ การพัฒนาป่าของชุมชน และ ส่งเสริมศาสนาศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น[4]

แนวคิดในการจัดการบริการสาธารณะ[แก้]

1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด และ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรู้ และ เข้าใจตระหนักถึงปัญหาภายในพื้นที่ได้ดีกว่าภาครัฐ

2.สืบเนื่องจากเหตุผลประการแรกทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ตรงตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นรวมทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาน้อยกว่าการทำงานของภาครัฐ

3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผู้บริหาร และสมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้นจึงมีช่องทางในการสื่อสารระหว่างประชาชนได้ดีกว่าหน่วยงานของภาครัฐ

4.การส่งเสริมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการสาธารณะเองส่งผลให้คนในท้องถิ่นรู้จักพึ่งพาตนเองแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง[5]

โครงสร้างและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย[แก้]

ในปัจจุบันการปกครองท้องถิ่นของไทยประกอบได้ด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 รูปแบบ ต่างมีโครงสร้างภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเดียวกันคือ รูปแบบนี้ค่อนข้างแพร่หลายมากที่สุดในโลกก็ได้ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีการแบ่งแยกฝ่ายบริหาร กับฝ่ายสภาออกจากกันอย่างชัดเจน ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากผลของมาตรา 285 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พ.ศ. 2540 ที่ได้ระบุไว้ โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีดังนี้ [6]

องค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

เทศบาล[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบล[แก้]

กรุงเทพมหานคร[แก้]

เมืองพัทยา[แก้]

อำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในการบริหารบริการสาธารณะ[แก้]

ภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำต้องดำเนินการจัดทำ[แก้]

องค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

ภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นภารกิจหน้าที่ไม่เน้นการให้บริการสาธารณะ เริ่มจากเป็นหน่วยงานที่ช่วยประสาน และช่วยเหลือการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับล่าง ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนมากที่สุดตาม มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 

เทศบาล[แก้]

เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับล่างภารกิจและหน้าที่ของเทศบาลจะแตกต่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

 ===== เทศบาลตำบล ===== ภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ทำตาม มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไข้เพิ่มเติม พ.ศ.2546 
 ===== เทศบาลเมือง =====  ภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ทำตาม มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546 
 ===== เทศบาลนคร =====  ภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำซึ้งกฎหมายได้กำหนดให้ทำตาม มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546


องค์การบริหารส่วนตำบล[แก้]

มีลักษณะเช่นเดียวกันกับเทศบาล ภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลไว้อย่างชัดเจนซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ทำตาม มาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2546

กรุงเทพมหานคร[แก้]

เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นโครงการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพราะเป็นการปกครองในเขตเมืองหลวง ซึ่งมีจำนวนประชากรมาก อุปกรณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงมีมากตามไปด้วย  ภารกิจหน้าที่กรุงเทพฯได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องดำเนินการตามกฎหมาย มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2542 


เมืองพัทยา[แก้]

มีลักษณะที่ถ่ายกับกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยาไม่สามารถเป็นเมืองการปกครองรูปแบบทั่วไปได้ ทางธุรกิจหน้าที่ของเมืองพัทยาจึงมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ภารกิจหน้าที่ของเมืองพัทยาตามกฎหมายกำหนดให้ตาม มาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542


ภารกิจหน้าทีที่อาจจะจัดทำ[แก้]

ศักยภาพความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน บางทีเจริญ จำนวนประชากรมาก ในขณะที่บางที่ไม่เจริญ จำนวนประชากรน้อย เมื่อรายได้ทางการคลังแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน ดังนั้น กฏหมายจึงกำหนดภารกิจหน้าที่ที่อาจจะทำ เพื่อเป็นการเปืดโอกาสให้ท้องถิ่นมีศักยภาพสูง สามารถทำหน้าที่ต่างๆได้มากขึ้นและไม่เป็นการบังคับให้แบกรับภาระมากเกินไป

เทศบาล[แก้]

เทศบาลตำบล[แก้]
มีภารหน้าที่ที่อาจจะทำตามกฏหมายกำหนดให้ตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546 
เทศบาลเมือง[แก้]
มีภารหน้าที่ที่อาจจะทำตามกฏหมายกำหนดให้ตามมาตรา 54 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546 
เทศบาลตำบล[แก้]
มีภารหน้าที่ที่อาจจะทำตามกฏหมายกำหนดให้ตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496

สำหรับ เทศบาลนคร มีหน้าที่ที่อาจจะกระทำได้เช่นเดียวกับเทศบาลเมืองตามมาตรามาตรา 57 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2546


องค์การบริหารส่วนตำบล[แก้]

มีหน้าที่ที่อาจจะทำตามกฏหมายกำหนดให้ตาม มาตรา 68 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537


กรุงเทพมหานคร[แก้]

มีลักษณะคล้ายกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด อีกทั้งกรุงเทพมหานครยังอาจดำเนินการนอกเขตได้ หากจำเป็นและเกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานครและได้รับคำยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด นอกจากนี้กรุงเทพมหานครอาจจะทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นได้ด้วย มาตรา 94 พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2542


เมืองพัทยา[แก้]

เมืองพัทยาอาจจะดำเนินงานนอกเขตได้ เมื่อการนั้นจำเป็นต่อเมืองพัทยา ตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ภายในเมืองพัทยาหรือเป็นประโยชน์แก่เมืองพัทยาตามกฏหมายมาตรา 66 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542


ภารกิจหน้าที่ที่อาจจะกระทำได้ที่มีความจำเป็นน้อยกว่าภารกิจในประการแรก ใช้เงินจำนวนมาก ต้องมีการใช้ความรู้ความชำนาญมากยิ่งขึ้น กฏหมายจึงเปิดโอกาสให้ภารกิจหน้าที่ข้างต้นเป็นภารกิจที่ที่ไม่บังคับต้องทำ แต่สามารถทำได้นั้นหากมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ


ภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย[แก้]

เนื่องจากรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ต่างกัน โดยที่รัฐบาลดูแลภารกิจภาพรวมของประเทศ ภารกิจเป็นมาตรฐานเดียวกันใช้งบประมาณลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเน้นให้ บริการสาธารณะที่จำเป็นที่อาศัยความรวดเร็วและใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามยังมีความซับซ้อนอยู่มาก ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันระหว่างการจัดทำภารกิจระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการกำหนดให้ทั้งรัฐและท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินการด้วยกันทั้งคู่โดยหลักการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยจากมีภารกิจหน้าที่มากมายตามที่กฎหมายกำหนด แต่ความเป็นจริงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย มีความสลับซับซ้อนของการจัดแบ่งภารกิจ หน้าที่ของรัฐและท้องถิ่นเกิดความคลุมเครือ ในกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทของไทยมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐได้ และ เป็นภาระหน้าที่ที่ต้องทำ ซึ่งเป็นการควบคุมผ่านเครื่องมือด้านภารกิจหน้าที่ต้องกระทำโดยได้รับมอบหมายจากรัฐ นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายยังมีภารกิจหน้าที่ต่างๆอีกมากมายซึ่งกำหนดโดยกฎหมายเฉพาะต่างๆ จาก พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 531 ฉบับ [7]

ปัญหาในการจัดบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมา[แก้]

จากการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังประสบกับปัญหาต่างๆมากมายและยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามหลักการของการจัดบริการสาธารณะ ปัญหาในการจัดบริการสาธารณะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ปัญหาการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับ มหาภาค ตอบปัญหาความสัมพันธ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับหน่วยงานรัฐในช่วงอำนาจยังไม่ได้รับอิสระจากการตัดสินใจรวมทั้งโครงสร้ายังเป็นระบบราชการในการจัดบริการสถานะยังเป็นศูนย์รวมอำนาจมีความซับซ้อนและโครงสร้างการบริหารไม่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น[8]ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาจึงควรมีการให้นโยบายในการกระจายอำนาจของรัฐให้มีความชัดเจน ต่อเนื่องทั้งทางนโยบายการกระจายอำนาจและแนวทางปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ การขับเคลื่อนกระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจุลภาค การจัดบริการสาธารณะให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของประชาชน และไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นเริ่มจากการบริการสาธารณะไม่ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่มขาดการให้ลำดับความสำคัญในการจัดบริการสาธารณะที่ควรมีการเตรียมการล่วงหน้า หรือควรพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วนทำให้การจัดบริการสาธารณะขาดคุณภาพ ขาดความชัดเจนไม่มีความเป็นธรรมและไม่เหมาะกับสภาพความเป็นจริงของท้องถิ่น แนวทางการแก้ไขคือเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย และมีส่วนในการดำเนินงานและตรวจสอบการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[9]อีกทั้งยังต้องปรับแนวทางการบริหารในรูปแบบใหม่ๆเพื่อพัฒนาการบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหา [10]ทั้งนี้เพื่อให้การบริการสาธารณะมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการ [11]

  1. (อรทัย ก๊กผล, เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น : บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า 51, (กรุงเทพ : บริษัท ส.เจริญ การพิมพ์ จำกัด, 2552 )หน้า 4
  2. (นราธิป ศรีราม, “แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น”, เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการบริการสาธารณะท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7, (นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557)หน้า1-6,1-24,1-25
  3. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกฤษฎีกา, 2542,) หน้า 5-9.
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, สรุปสาระสำคัญมาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550), หน้า 1-68.
  5. โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์เสมาธรรม . หน้า 144
  6. โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์เสมาธรรม . หน้า 145-146
  7. โกวิทย์ พวงงาม. (2551). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฏี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.หน้า 221-222
  8. รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์, “ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น”, เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 8-15, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557), หน้า 15-5 – 15-12.
  9. รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์, อ้างแล้ว, หน้า 15-13 – 15-14.
  10. วีระศักดิ์ เครือเทพ, เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแนวระนาบ เพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550), หน้า 13-18.
  11. สันต์ชัย รัตนะขวัญ. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). การบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560.