ประกิต วาทีสาธกกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผู้ใช้:ASH Thai)

ประกิต วาทีสาธกกิจ
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2512
มีชื่อเสียงจากหมอนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
รางวัล- รางวัล Luther L. Terry Awards (2543)

- รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี. บราวน์ (2544)

- รางวัลนักสร้างเสริมสุขภาพดีเด่น สมาพันธ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขศึกษา (IUHPE) (2556)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (มสบ.)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประกิต วาทีสาธกกิจ (28 มีนาคม พ.ศ. 2487) นักวิชาการ อาจารย์แพทย์ เป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด และประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ หรือที่เรียกกันว่า คุณหมอนักรณรงค์

ประวัติ[แก้]

นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรคนที่ 1 มีพี่น้องรวม 5 คน เริ่มเข้าเรียนหนังสือตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4 ที่โรงเรียนเสริมศิษย์พิทยา ที่สะพานอ่อน ปทุมวัน สอบได้ที่ 1 ของชั้นตลอดสี่ปี หลังจากจบ ป.4 หยุดเรียนไป 4 ปี เพราะต้องช่วยงานบ้าน ต่อมา อายุได้ 15 ก็เริ่มเรียนหนังสือ โดยไม่ได้เรียนในโรงเรียนเหมือนคนอื่น ๆ ใช้วิธีเรียนเองที่บ้าน และไปกวดวิชาตอนเย็น แล้วสอบเทียบคือ

  • อายุ 15 - 16 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.1 ถึง ม.3 (เทียบเท่าประถมศึกษา ปีที่ 5 ถึง 7)
  • อายุ 16 - 17 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.4 ถึง ม.6 (เทียบเท่าประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึง 3)
  • อายุ 17 - 18 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.7 ถึง ม.8 (เทียบเท่ามัธยมศึกษา ปีที่ 4 ถึง 5) (สมัยก่อนประถมศึกษาเริ่ม ป.1 ถึง ป.4 มัธยมศึกษาตอนต้น เริ่ม ม.1 ถึง ม.6 มัธยมศึกษาตอนปลายเริ่ม ม.7 ถึง ม.8)
  • อายุ 19 ปี สอบเข้าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เตรียมแพทย์)

ตอนนั้น ฝันอยากเรียนสูง ๆ เพื่อจะได้มีอาชีพ เพราะที่บ้านไม่มีกิจการอะไร อยากเรียนแพทย์เพราะว่าผลการเรียนดี ใคร ๆ ก็เชียร์ให้เรียนแพทย์ ทางบ้านไม่มีเงินทุนที่จะทำอะไร จึงคิดว่าเรียนแพทย์จบแล้วจะได้มีงานทำเลย

ประวัติการศึกษา[แก้]

การทำงานด้านการควบคุมยาสูบ[แก้]

จากการที่เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านโรคปอด ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่แก่นักศึกษาแพทย์ แพทย์และประชาชนทั่วไป ด้วยการบรรยาย เขียนบทความเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับการชักชวนจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ให้เข้าร่วมเป็นกรรมการโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน โดยร่วมกับ น.ส.บังอร ฤทธิภักดี และอีกหลายท่าน เป็นกรรมการโครงการฯ ทำการเผยแพร่ความรู้พิษภัยยาสูบ ผลักดันนโยบายควบคุมยาสูบ และขยายเครือข่ายรณรงค์ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ในปี พ.ศ. 2532-2533 ได้เข้าร่วมเป็นตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขในคณะผู้แทนไทย ในการเจรจากับสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ในกรณีพิพาทการเปิดตลาดบุหรี่ให้แก่บุหรี่ต่างประเทศ ได้ร่วมกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในการเดินทางไปกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกาในเวทีประชาพิจารณ์ให้การคัดค้านนโยบายส่งออกสินค้าบุหรี่มายังประเทศไทย เป็นนักวิชาการไทยคนเดียว ที่ไปให้การต่อกรรมาธิการสภาคองเกรส และวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเพื่อคัดค้านนโยบายสนับสนุนการส่งออกสินค้าบุหรี่ของอเมริกา ได้ร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการควบคุมยาสูบแห่งชาติต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสำนักงานควบคุมยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมยกร่าง ผลักดันกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ใน พ.ศ. 2535 ผลักดันให้มีการขึ้นภาษีบุหรี่ปี พ.ศ. 2536 พบปัญหาต่อมาว่ากระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณสนับสนุนงานควบคุมยาสูบน้อยมาก จึงร่วมกับนายแพทย์สุภกร บัวสาย และนักวิชาการอีกหลายท่าน ในการขายความคิด และผลักดันการออกกฎหมายให้ธุรกิจยาสูบและสุราเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 2 มาเป็นงบประมาณสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2544 เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2547 โดยตลอดช่วงเวลาที่ยังเป็นอาจารย์แพทย์ทำหน้าที่สอน บริการรักษาคนไข้ และงานบริหารภาควิชาและคณะแพทยศาสตร์ พร้อมกับทำงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในฐานะอาสาสมัคร จนเกษียณอายุราชการ จึงได้ทำงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่เต็มเวลาในสำนักงานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สนับสนุนงานควบคุมยาสูบผ่านการผลักดันนโยบาย ร่วมผ่านกฎระเบียบต่าง ๆ ในการควบคุมยาสูบ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เตรียมคำเตือน/รูปภาพคำเตือนบนซองบุหรี่มาโดยตลอด เปิดโปงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ พร้อม ๆ กับการขยายเครือข่ายในภาคประชาสังคม ในด้านต่างประเทศได้รับเชิญ เดินสายแบ่งปันประสบการณ์ และสนับสนุนประเทศในอาเซียนและประเทศอื่น ๆ เกี่ยวกับงานควบคุมยาสูบ และการก่อตั้งองค์กรรูปแบบ สสส. รวมทั้งเป็นกรรมการยกร่างแนวปฏิบัติมาตราต่าง ๆ ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ในขณะที่ภายในประเทศไทย ได้มุ่งเน้นการขยายเครือข่ายในวิชาชีพ และแวดวงต่าง ๆ และให้ความสำคัญกับการทำให้เกิดกลไกการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัดทั่วประเทศ เป็นผู้ที่ปฏิบัติและพยายามเผยแพร่กระบวนการ “การชี้แนะ” นโยบายสาธารณะ หรือ “Advocacy” for public policy มุ่งมั่นรณรงค์ให้สังคมไทยเข้าใจ การ “สร้างเสริมสุขภาพ” ตามหลักการ Ottawa Charter for Health Promotion ขององค์การอนามัยโลก

การทำงาน[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประกิตเป็นคนเรียบง่ายไม่ถือตัว มีอัธยาศัยไมตรี มีความเป็นกันเองและเป็นมิตรกับผู้คน เป็นนักบริหารแก้ปัญหาได้รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ เสียสละ โดยยึดหลักว่า “Honesty is the best policy”

การรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2520 อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2530 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2549 ศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ และกิจกรรมที่เคยทำ[แก้]

ข้าราชการการเมือง[แก้]

  • พ.ศ. 2549 สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

  • พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2529 หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์
  • พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2529 ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2529 กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538 ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิกและคลินิกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2538 หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี [2]
  • พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541 กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ
  • พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541 ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2547 คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี [3]
  • พ.ศ. 2543 – 2547 กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

แพทยสภา[แก้]

  • พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2529 กรรมการในคณะอนุกรรมการกลางฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของแพทยสภา
  • พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2534 กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร
  • พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2547 กรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

  • พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2536 กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2538 กรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาอายุรศาสตร์
  • พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2531 เลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย[แก้]

  • พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534 กรรมการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ
  • พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526 กรรมการสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2525 เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคทรวงอกอเมริกันแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2532 ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก
  • พ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน กรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย

กระทรวงการคลัง[แก้]

  • พ.ศ. 2539 – พ.ศ.2542 ประธานคณะทำงานจัดหาข้อเสนอมาตรการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2543 รองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ....

ประวัติที่สำคัญอื่น ๆ[แก้]

กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

  • พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533 ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขในการเจรจาปัญหานำเข้าบุหรี่ กับสหรัฐอเมริกาภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 และที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์)
  • พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2536 กรรมการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2536 – พ.ศ.2543 กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2536 กรรมการบริหาร สมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกส์
  • พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2539 กรรมการคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติด้านยา
  • พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2539 ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่เหมาะสมคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2535 ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  • พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2538 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์)
  • พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2543 กรรมการที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายคำรณ ณ ลำพูน)
  • พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549 ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำแผนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549 ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การควบคุมการบริโภคยาสูบและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่
  • พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549 อนุกรรมการจัดทำแผนคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 อนุกรรมการพิจารณามาตรการการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการดำเนินการติดป้ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 คณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
  • พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2549 คณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พ.ศ. 2550 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญคนที่สอง ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ พ.ศ.. ...สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 คณะที่ปรึกษาอาวุโสนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2551 หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมภาคีสมาชิกใหญ่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบครั้งที่ 3
  • พ.ศ. 2552 หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับในการดำเนินการระหว่างประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553 คณะผู้แทนไทยในการเจรจาร่างพิธีสารการควบคุมยาสูบผิดกฎหมายอนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก
  • พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2556 เลขาธิการเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (สสส.นานาชาติ)
  • พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 ประธานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ (Thai NCD Net)
  • พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2558 ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2558 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน

สำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

  • พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2543 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2547 รองประธานกรรมการคนที่สอง คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2547 คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนประธานคณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วม
  • พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2549 ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2550 ประธานคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • พ.ศ. 2550 ประธานคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ทบวงมหาวิทยาลัย[แก้]

  • พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2538 กรรมการคณะกรรมการสอบไล่ภายนอก คณะแพทยศาสตร์รังสิต

องค์กรเอกชน[แก้]

  • พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2539 เลขาธิการโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน[4]
  • พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่[5]

องค์การอนามัยโลก[แก้]

  • พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2545 คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบุหรี่และสุขภาพองค์การอนามัยโลก
  • พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546 ที่ปรึกษา Bangladesh Anti-Tobacco Alliance (BATA) ประเทศบังคลาเทศ

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

  • งานแต่งและเรียบเรียงตำราทั้งหมด 12 เรื่อง
  • งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร 35 เรื่อง
  • รับเชิญบรรยายวิชาการในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับบุหรี่และสุขภาพรวมกว่า 60 ครั้ง
  • ได้รับเชิญให้เป็นผู้นิพนธ์ในหนังสือที่จัดพิมพ์โดยธนาคารโลก (พ.ศ. 2546) Tobacco Control Policy Strategies: Success & Setbacks หัวข้อ Tailoring Tobacco Control Efforts to the Country; The Example of Thailand เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการควบคุมยาสูบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เกียรติประวัติและรางวัลที่เคยได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2532 เป็นผู้แทนประเทศไทย การประชาพิจารณ์ที่จัดโดยสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา USTR ที่กรุงวอชิงตันดีซี
  • พ.ศ. 2533 ให้การต่อกรรมาธิการวุฒิสภาและสภาคองเกรสสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศจากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Asian and Pacific Association for Tobacco Control) ในฐานะเป็นผู้ที่มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ดีเด่นของประเทศไทยและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลนี้ (วันที่ 6 เมษายน 2533)
  • พ.ศ. 2534 ได้รับการคัดเลือกจากกองบรรณาธิการนิตยสาร Fitness ให้เป็นบุคคลแห่งปี 2534 ในฐานะที่ได้รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่อย่างแข็งขัน
  • พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลเหรียญ (Tobacco or Health) จากองค์การอนามัยโลก ในฐานะที่มีผลงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ดีเด่นของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติยศจากกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นอย่างดียิ่ง (วันที่ 31 พฤษภาคม 2536)
  • พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติยศจากสมาคมศิษย์เก่าสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นนักสาธารณสุขดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิชาการประจำปี 2536 (วันที่ 17 พฤษภาคม 2536)
  • พ.ศ. 2543 ได้รับรางวัล Luther L. Terry Awards จาก American Cancer Society ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2543 สำหรับบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่ระดับโลก ในฐานะ Outstanding Individual Leadership in Tobacco Control และเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ (วันที่ 10 สิงหาคม 2543)
  • พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในฐานะผู้ได้อุทิศตนปฏิบัติงานเพื่อเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนโดยส่วนรวม
  • พ.ศ. 2544 ได้รับเกียรติบัตร Fellow of Royal College of Physicians of London (FRCP) จาก Royal College of Physicians แห่งประเทศสหราชอาณาจักร (วันที่ 13 มิถุนายน 2544)
  • พ.ศ. 2545 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมาคมไทย เพื่อการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ ในฐานะผู้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม และส่งเสริมความเข้าใจดีระหว่างประเทศกับนานาชาติ (วันที่ 27 ธันวาคม 2545)
  • พ.ศ. 2546 ได้รับมอบรางวัล 2003 Award for Community Ledership จาก Rhonda Galbally อดีตผู้จัดการสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพวิคตอเรียที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย (ตุลาคม 2546)
  • พ.ศ. 2548 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2548
  • พ.ศ. 2551 ได้รับพระราชทานรางวัลเกียรติยศจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลดีเด่น แห่งชาติ ระดับนโยบายด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ จากสมาคมสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551
  • พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลบลูมเบิล์กด้านการควบคุมยาสูบโลก ด้านความเป็นเลิศด้านการเตือนภัยอันตรายจากบุหรี่โดยเฉพาะฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่จากมูลนิธิบลูมเบิรล์ก (วันที่ 9 มีนาคม 2552)
  • พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานรางวัลบุคคลดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบแก่สาธารณสุขไทย ในงาน”90 ปี การสาธารณสุขไทยเพื่อคนไทยสุขภาพดี” (วันที่ 21 มีนาคม 2552)
  • พ.ศ. 2555 ได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติเป็น”บุคคลคุณภาพแห่งปี 2012 ด้านสาธารณสุข โดยมูลนิธิมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.), Foundation of Science and Technology Council of Thailand ( FSTI) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / Ministry of Science and Technology (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)
  • พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัล “มหิดลวรานุสรณ์ 2555” ของ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งปะเทศไทย นำระบรมราชูปถัมภ์ (วันที่ 11 มีนาคม 2556)
  • พ.ศ. 2556 รับรางวัลเหรียญและโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพชาวเวียดนามจากกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม วันที่ 23 เมษายน 2556 ณ กรุงฮานอย
  • พ.ศ. 2556 รางวัลนักสร้างเสริมสุขภาพดีเด่นการประชุมสมาพันธุ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ( IUHPE ) ครั้งที่ 21 วันที่ 25 – 29 สิงหาคม 2556 ณ พัทยา ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2557 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปีการศึกษา 2557
  • พ.ศ. 2562 ได้รับรางวัล Professional Health Advocacy Award 2019 จาก the American College of Chest Physician (ACCP) จากที่ประชุม Chest Congress 2019 วันที่ 10 เมษายน 2562 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัล Champion of SEATCA award เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี Southeast Asia Tobacco Control Alliance (SEATCA)
  • พ.ศ. 2565 ได้รับรางวัล Dr Lee Jong-wook Memorial Prize for Public Health องค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ.2022
  • พ.ศ. 2566 รางวัลเชิดชูเกียรติแพทย์จุฬาฯ ต้นแบบเกียรติยศ ในโอกาสครบรอบ 75 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2566

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/headdivision/Profprakij.pdf
  3. ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. https://www.doctor.or.th/
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔