ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า
ลัทธิพาสตาฟาเรียน
Touched by His Noodly Appendage HD.jpg
Touched by His Noodly Appendage ภาพล้อเลียน The Creation of Adam อันมีชื่อเสียงของมีเกลันเจโล
ศูนย์กลางของลัทธิvenganza.org
สัญลักษณ์FSM Logo.svg
คัมภีร์พระวรสารปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า
เทศกาล"Holiday"
กิจกรรมของลัทธิพาสตาฟาเรียนในกรุงวอชิงตัน
ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าประดิษฐ์ด้วยมือ
ป้ายชื่อทหารสหรัฐอเมริกา ระบุศาสนา "Atheist/FSM"

ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า (อังกฤษ: Flying Spaghetti Monster หรือมักเรียกโดยย่อว่า FSM) เป็นพระเจ้าตามความเชื่อของ ศาสนจักรปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า หรือ ลัทธิพาสตาฟาเรียน ซึ่งเป็นศาสนาที่มีอยู่จริงก่อตั้งโดยบ็อบบี เฮนเดอร์สัน เพื่อต่อต้านมติของคณะกรรมการการศึกษาของรัฐแคนซัส ที่บังคับให้โรงเรียนในสังกัดสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควบคู่ไปกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินในวิชาชีววิทยา เฮนเดอร์สันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการฯ มีใจความว่า เขาเชื่อว่าโลกและจักรวาลถูกสร้างโดยพระเจ้าที่มีรูปร่างคล้ายสปาเกตตีและลูกชิ้นสองก้อน ซึ่งเขาเรียกว่า "ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า" และเรียกร้องให้โรงเรียนในรัฐแคนซัสสอนทฤษฎีการสร้างโลกของเขาเช่นกันเพื่อความเท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับการที่ทางคณะกรรมการฯ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนการสอนระหว่างทฤษฎีวิวัฒนาการและทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควรจะมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งโดยนัยแล้ว เขาแสดงให้เห็นว่าทฤษฏีผู้สร้างอันชาญฉลาดเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่ผิดกับปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าเลย[1][2]

หลังจากเฮนเดอร์สันเผยแพร่จดหมายดังกล่าวบนเว็บไซต์ของเขา FSM ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางอินเทอร์เน็ตและเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดในโรงเรียนของรัฐ[3] "ความเชื่อ" ของพาสตาฟาเรียนล้วนล้อเลียนมากจากแนวความเชื่อในศาสนาเกี่ยวกับผู้สร้างโลก ความเชื่อเหล่านี้เผยแผ่ในเว็บไซต์ของเฮนเดอร์สัน Church of the Flying Spaghetti Monster ซึ่งเขาถือเป็นผู้ประกาศพระวรสาร และใน The Gospel of the Flying Spaghetti Monster เขียนโดยเฮนเดอร์สันและตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2006 โดย Villiard Press ความเชื่อแกนหลักคือปีศาจอัจมองไม่เห็นและไม่อาจตรวจจับได้เป็นผู้สร้างจักรวาล โจรสลัดเป็นชาวพาสตาฟาเรียน (เป็นการรวมคำ พาสต้าและRastafarian เข้าด้วยกัน) พวกแรก[4] เฮนเดอร์สันเชื่อว่าการลดลงของโจรสลัดทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน[5] ชุมชน FSM รวมตัวกันที่เว็บไซต์ของเฮนเดอร์สันเพื่อแบ่งปันความคิดและสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับ Flying Spaghetti Monster

เนื่องด้วยความโด่งดังและเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า เป็นตัวอย่างยุคใหม่ของ Russell's teapot ข้อโต้เถียงทางปรัชญาที่กล่าวว่าการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้สร้างข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีทางแสดงให้เห็นได้ว่าเท็จ หาใช่หน้าที่ของของผู้ที่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว FSM จะได้รับการชื่มชมและได้รับการยอมรับจากชุมชนทางวิทยาศาสตร์ FSM มักถูกวิพากษ์โดยผู้สนับสนุนปรัชญาผู้สร้างอันชาญฉลาด ผู้อ้างตนว่าเป็นพาสตาฟาเรียนได้มีส่วนในข้อพิพาททางศาสนาหลายครั้ง รวมถึงครั้งหนึ่งในรัฐฟลอริดาซึ่งมีการแสดงละครล้อเลียนเพื่อไม่ให้โรงเรียนในท้องถิ่นกำหนดกฎใหม่ในการสอนทฤษฎีวิวัฒนาการ[6]

วันสำคัญ[แก้]

ชาวพาสตาเรียนได้กำหนดให้ทุกวันศุกร์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ทุกบทอธิษฐานในศาสนจักรนี้จะลงท้ายด้วยคำว่า "ราเมน" ซึ่งมีนัยยะล้อเลียนคำว่า อาเมน ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ และยังสื่อถึง "ราเม็ง" เพื่อสื่อซึ่งถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่นักเรียนนักศึกษานิยมรับประทาน[7]

ช่วงเทศกาลคริสต์มาส ฮานุคคาห์ และควันซา ชาวพาสตาเรียนจะฉลองวันหยุดที่เรียกว่า "Holiday" ซึ่งในแต่ละครั้งจะไม่กำหนดวันที่แน่นอน เพราะชาวพาสตาเรียนไม่นิยมสิ่งที่เป็นคำสอนต้องเชื่อหรือลัทธิพิธีการใด ๆ ไม่มีข้อกำหนดที่ต้องทำเป็นพิเศษ แต่จะฉลอง Holiday ตามที่จะพอใจทำ[8] มีการฉลอง "พาสต์โอเวอร์" เพื่อล้อเลียนพิธีปัสคา[9][10][11] (Passover) ในศาสนาคริสต์ และฉลอง "ราเม็งดัน" เพื่อล้อเลียนเดือนเราะมะฎอนของศาสนาอิสลาม[12][13][14]

ชาวพาสตาเรียนยังถือว่าการที่คนหันมาอวยพรกันว่า "สุขสันต์ฮอลิเดย์" มากขึ้นแทนการอวยพรเดิม (เช่น สุขสันต์วันคริสต์มาส) ถือเป็นการสนับสนุนลัทธิพาสตาเรียน[8] ในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 2005 บัตรอวยพรวันคริสต์มาสจากทำเนียบขาวสมัยจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้อวยพรให้ประชาชนสุขสันต์ "holiday season"[15] เฮนเดอร์สันจึงเขียนบันทึกส่งไปขอบคุณ มีรูปปลากำลังวาดปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าเอาไว้ติดรถลีมูซีนหรือเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน[16] เฮนเดอร์สันยังขอบคุณถึงร้านวอล-มาร์ตที่ใช้วลีนี้เช่นเดียวกัน[17]

การใช้ในข้อโต้แย้งทางศาสนา[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 Niko Alm ผู้ไม่นับถือศาสนาชาวออสเตรียได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายให้ถ่ายรูปติดใบอนุญาตขับขี่โดยสวมกระชอนพาสต้าไว้บนศีรษะ หลังจากที่เขาได้ใช้เวลาสามปีในการแสดงให้เห็นว่าเขามีจิตประสาทดีพอที่จะขับรถได้ เขาได้จุดประกายความคิดนี้เมื่อเห็นว่าข้อบังคับของออสเตรียยอมให้มีการปกคลุมศีรษะในภาพถ่ายอย่างเป็นทางการหากสวมใส่ด้วยเหตุผลทางศาสนา[4][18][19]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. "Verbatim: Noodle This, Kansas". วอชิงตันโพสต์. 28 สิงหาคม, พ.ศ. 2548. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Thierman, Jessica (18 กันยายน, พ.ศ. 2548). "Touched by His Noodly Appendage". Gelf Magazine. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Boxer, Sarah (2005-08-29). "But Is There Intelligent Spaghetti Out There?". The New York Times Arts article. สืบค้นเมื่อ 2007-02-05.
  4. 4.0 4.1 "Austrian Pastafarian dons colander as religious headgear for drivers license". english.alarabiya.net. 2011 [last update]. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  5. "Discussion of the Open Letter". Henderson, Bobby. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  6. Billy Townsend (2007-12-22). "Polk Needled, Noodled In Evolution Flap". The Tampa Tribune. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
  7. "In the beginning there was the Flying Spaghetti Monster". The Daily Telegraph. London. September 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  8. 8.0 8.1 Henderson, Bobby (2006-12-01). "Happy Holiday Season Everyone". Church of the Flying Spaghetti Monster. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
  9. "Questions on FSM Holidays". Venganza.org. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
  10. "A question about Pastover". Venganza.org. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
  11. RD Magazine
  12. "Ramendan". Venganza.org. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
  13. El Pais
  14. Death and Taxes magazine
  15. Cooperman, Alan (2005-12-07). "'Holiday' Cards Ring Hollow for Some on Bushes' List". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
  16. Henderson, Bobby (2006-12). "FSM Card for Bush". Church of the Flying Spaghetti Monster. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. The Gospel of the Flying Spaghetti Monster, p.125.
  18. "Austrian driver allowed 'pastafarian' headgear photo". BBC News. 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
  19. แม่แบบ:Cite blog

อ้างอิง[แก้]

  1. Henderson, Bobby (2006). The Gospel of the Flying Spaghetti Monster. Villard Books. ISBN 0-8129-7656-8.

สื่ออื่นๆ[แก้]

  1. Schofield, Jack (20 กันยายน, พ.ศ. 2548). ""Intelligent Design" and Pastafarianism". Guardian Unlimited. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "Evolution Debate Spawns a Saucy Monster". Wichita Eagle. 28 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. "In the beginning there was the Flying Spaghetti Monster". Daily Telegraph. 11 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "Flying Spaghetti Monster gains following". Associated Press. 24 กันยายน, พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-22. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]