แอร์ฟอร์ซวัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
แอร์ฟอร์ซวัน | |
---|---|
แอร์ฟอร์ซวัน (โบอิง วีซี-25เอ) ขณะบินผ่านภูเขารัชมอร์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | โบอิง |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา |
จำนวนที่ผลิต | 2 ลำ |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) (รหัสเรียกขานแอร์ฟอร์ซวัน) พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) (เครื่องบินประจำตำแหน่งในปัจจุบัน (โบอิง วีซี-25เอ)) |
แอร์ฟอร์ซวัน (อังกฤษ: Air Force One) เป็นรหัสเรียกขานโดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control; ATC) ของอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐลำใดก็ตามที่กำลังมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่ในอากาศยานลำนั้น[1] (ประธานาธิบดีอาจใช้อากาศยานลำอื่นที่ไม่ใช่เครื่องบินประจำตำแหน่งก็ได้ โดยอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หรือขนาดของรันเวย์สนามบินปลายทาง เป็นต้น) เครื่องบินจะถูกเรียกรหัสเรียกขานว่า แอร์ฟอร์ซวัน ขณะที่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอยู่บนเครื่องเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชื่อแอร์ฟอร์ซวันมักหมายความถึงเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีระบบความปลอดภัยขั้นสูง และมีความหรูหรา เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจและตำแหน่งประธานาธิบดี[2] โดยปกติแล้วจะสงวนไว้ใช้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ก็มีในบางกรณีที่ประธานาธิบดีอาจจะอนุญาตให้รองประธานาธิบดีใช้เครื่องบินนี้ในการเดินทางไปปฏิบัติงานในฐานะรองประธานาธิบดีได้ (ประธานาธิบดีไม่ได้เดินทางไปด้วย)[3]
ประวัติ
[แก้]เมื่อทีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้ก้าวเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และได้นั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเวลานั้นเอง เขาไม่มีห้องทำงานบนเครื่องแต่ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ (William Howard Taft) ได้จัดเตรียมห้องทำงานบนเครื่องตอนที่เขาขึ้นรับตำแหน่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเดินทางไปไหนมาไหนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมีความสำคัญและมีค่ามากที่สุด ระบบการสื่อสารไร้สายและการขนส่งที่รวดเร็วในระยะทางอันยาวไกลของการเดินทางของประธานาธิบดีนั้นเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ และระบบเหล่านั้นสามารถทำหน้าที่แทน ทำเนียบขาว ได้เมื่อประธานาธิบดีเดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้โดยสารเครื่องบินซึ่งมีห้องทำงานบนเครื่องด้วยคือ แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ โดยสายการบิน แพน-แอม (Pan-AM) โบอิง 314
ชื่อเครื่องบินที่ตั้งขึ้นเพื่อตำแหน่งของประธานาธิบดีชื่อแรกคือ ซี-87เอ วีไอพี ทรานสปอร์ต แอร์คราฟ (C-87A VIP transport aircraft) โดยมีเลขทะเบียนเครื่อง คือ 41-24159 และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี ค.ศ.1943 เพื่อใช้กับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อ วีไอพี ทรานสปอร์ต (VIP Transport) และชื่อ เกรสส์ แวร์ ทู (Guess Where II) ได้จัดเตรียมไว้สำหรับ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ในการเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตามหลังจากตรวจสอบเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ของเครื่องบิน ซี-87 หน่วยงาน United States Secret Service หรือ (U.S.S.S.) ได้ลงความเห็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในการรับส่งประธานาธิบดีอีกต่อไป
หน่วยงาน U.S.S.S. ได้ให้เครื่องบิน ดักลาส ซี-54 สกายมาสเตอร์ (Douglas C-54 Skymaster) เข้ามารับผิดชอบรับส่งประธานาธิบดี โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า Sacred Cow) ภายในเครื่องบินลำนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ,เครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร และพัฒนาสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกาโดยเฉพาะ เพื่อใช้งานในภารกิจต่าง ๆ
หลังจากประธานาธิบดีโรสเวลต์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1945 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ก็ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ.1947 เขาได้เปลี่ยนเครื่องจาก ซี-54 เป็น ซี-118 เลิฟท์มาสเตอร์ (C-118 Liftmaster) โดยให้รหัสเรียกขานว่า อินดิเพนเดนซ์ (Independence) โดยตั้งชื่อตามบ้านเกิดของทรูแมน ซึ่งเกิดที่เมืองอินดิเพนเดนซ์ รัฐมิสซูรี (Independence, Missouri) ซึ่งเป็นเครื่องบินลำแรกที่รักษาการแทนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดี และได้ลงลายนกอินทรีใหญ่หัวสีขาวซึ่งเป็นนกประจำชาติของอเมริกา บนหัวของเครื่องบินลำนี้ด้วย
ในขณะที่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อความปลอดภัยของตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่จาก 1953 เป็น 8610 ซึ่งเป็นของสายการบินอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (Eastern Air Lines) จึงมีชื่อเรียกเป็น แอร์ฟอร์ซ 8610 (Air Force 8610) และหลังจากนั้นได้ไม่นาน เครื่องบินที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น แอร์ฟอร์ซวัน (Air Force One) และชื่อเรียกนี้ก็ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
ไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มในส่วนของเครื่องยนต์ใบพัด 4 เครื่องให้เครื่องบินรุ่น Lockheed C-121 Constellations และเปลี่ยนชื่อเครื่องบินใหม่เป็น Columbine II และ Columbine III โดยภริยาของไอเซนฮาวร์ ชื่อ Mamie Eisenhower ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ลงในเครื่องบิน เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่างเครื่องบินและภาคพื้น, เครื่องรับส่งโทรเลข เป็นต้น และก่อนที่ไอเซนฮาวร์จะหมดวาระลงในปี 1958 เขายังได้นำเครื่องบิน โบอิง 707 เครื่องยนต์เจ็ตเข้าประจำการเป็น แอร์ฟอร์ซ ด้วยกันถึง 3 ลำ โดยใช้รุ่น วีซี-138เอส และได้รับการแต่งตั้งชื่อเป็น แซม970, แซม971 และแซม 972 (VC-137s designated SAM 970, 971, and 972) ไอเซนฮาวร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง และเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้ใช้เครื่อง วีซี-137 (VC-137) โดยเที่ยวบิน Flight to Peace ใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 19 วัน ในระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ถึง 22 ธันวาคม 1959 และได้ไปเยี่ยมประเทศในภูมิภาคเอเชียนถึง 11 ประเทศ ใช้ระยะทาง 22,000 ไมล์ หรือ 35,000 กิโลเมตร
โบอิง 707
[แก้]ตุลาคม 1962 สมัย จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้จัดซื้อเครื่องบินโบอิง 707 รุ่น C-137 Stratoliner โดยมีรหัสหางเครื่องชื่อ 260000 แม้ว่าเครื่องบินลำนี้ได้ถูกใช้งานไปยังประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, ออสเตรีย, และอังกฤษ เท่านั้น
แอร์ฟอร์ซวันออกแบบมาพิเศษสำหรับประธานาธิบดี โดยมีชื่อว่า block letters เคนเนดีได้เดินทางบนอากาศยานที่สะดวกสบายพร้อมกับภริยาของเขา Raymond Loewy ซึ่งถูกติดต่อโดย เคนเนดี ได้ช่วยออกแบบ เครื่องแบบของลูกเรือ และ ตกแต่งภายในเครื่องบิน วีซี-137
โบอิง วีซี-25เอ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1990 สำนักงานเลขานุการประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดหาเครื่องบิน โบอิง 747-200บี รหัสที่หางเครื่อง คือ 28000 และ 29000 โดยมีชื่อว่า วีซี-25เอ (VC-25A) และได้เริ่มใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1990 (สมัยประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช) จนถึงปัจจุบัน
แผนการเปลี่ยนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐลำใหม่
[แก้]ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการเปลี่ยนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่เป็นเครื่องบินโบอิง 747-8[4][5] (ซึ่งอาจจะใช้ชื่อว่า โบอิง วีซี-25บี) แทนที่โบอิง วีซี-25เอ ซึ่งมีอายุมากถึง 24 ปีแล้วในขณะนั้น และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สูงมากในแต่ละเที่ยวบิน[6][7] คาดกันว่าเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีลำใหม่จะสร้างแล้วเสร็จราวปี ค.ศ. 2023 หรือ 2024[7]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 กองทัพอากาศสหรัฐได้เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง (supersonic aircraft) ที่อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้ในอนาคต[8][9][10][11]
รหัสเรียกขานอื่นที่ใกล้เคียง
[แก้]เช่น
- Army One รหัสเรียกขานของอากาศยานของกองทัพบกสหรัฐที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารอยู่บนอากาศยานลำนั้น
- Navy One รหัสเรียกขานของอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1]
- Marine One รหัสเรียกขานของอากาศยานของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ (United States Marine Corps) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[12]
- Coast Guard One รหัสเรียกขานของอากาศยานของหน่วยยามฝั่งสหรัฐ (United States Coast Guard) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1]
- Executive One อาจใช้เป็นรหัสเรียกขานของอากาศยานพลเรือน (เช่น เครื่องบินส่วนตัว, เครื่องบินของสายการบิน) ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร[1] หรือเมื่อประธานาธิบดีเพิ่งจะหมดวาระลงแต่ยังมีเหตุให้ต้องโดยสารอากาศยานของกองทัพสหรัฐก็อาจใช้รหัสนี้แทน[13][14][15][16][17][18]
- Executive One Froxtrot หรือ EXEC1F รหัสเรียกขานอากาศยานที่มีสมาชิกในครอบครัวของประธานาธิบดีสหรัฐ (เช่น สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ) โดยสาร แต่ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมาด้วย[1][19] ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเครื่องบินของกองทัพสหรัฐ[20] หรืออาจใช้รหัสอื่นลงท้ายด้วย Foxtrot เช่น Air Force One Foxtrot สำหรับอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐ (Foxtrot เป็นการออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุของอักษร F ที่ในที่นี้ย่อมาจาก Family)
- แอร์ฟอร์ซทู (Air Force Two) รหัสเรียกขานอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐลำที่มีรองประธานาธิบดีสหรัฐโดยสาร แต่ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมาด้วย[21][22] แม้ว่าเครื่องบินลำนั้นเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่มักถูกเรียกว่าแอร์ฟอร์ซวันก็ตาม ถ้าบนเครื่องบินมีรองประธานาธิบดีสหรัฐโดยสารมา และไม่มีประธานาธิบดีโดยสารมาด้วย เครื่องบินนั้นก็จะถูกเรียกรหัสเรียกขานว่าแอร์ฟอร์ซทูเช่นกัน[3][23] และในกรณีเดียวกันรหัสอื่นข้างต้นซึ่งใช้คำว่า One ก็จะเปลี่ยนเป็นคำว่า Two ด้วยเช่นกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- โคตัม 001
- อากาศยานประธานาธิบดีรัสเซีย
- ฝูงบินลำดับ 32 แห่งกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
- ค็อนราท อาเดอเนาเออร์ (อากาศยาน)
- แอร์ฟอร์ซวันญี่ปุ่น
- แอร์อินเดียวัน
- แอร์ฟอร์ซวันบราซิล
- อินควาซี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Order 7110.65R (Air Traffic Control)." เก็บถาวร 12 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Federal Aviation Administration, 14 March 2007. Retrieved: 27 August 2007.
- ↑ Walsh, Kenneth T. Air Force One: A History of the Presidents and Their Planes. New York: Hyperion, 2003. ISBN 1-4013-0004-9
- ↑ 3.0 3.1 "Cheney heads overseas to talk terrorism". USA Today. Associated Press. 10 March 2002. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- ↑ AF Identifies Boeing 747-8 platform for next Air Force One.
- ↑ Mehta, Aaron. "Boeing Tapped for Air Force One Replacement". Defence News, 28 January 2015
- ↑ Trimble, Stephen. "US considers Airbus A380 as Air Force One and potentially a C-5 replacement." Flight Global, October 17, 2007. Retrieved: December 6, 2016.
- ↑ 7.0 7.1 อาคม รวมสุวรรณ (9 ธันวาคม 2559). "ล้วงตับมะกัน ทำไม แอร์ ฟอร์ซ วัน ไม่เจ๋งอย่างที่คิด". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Pawlyk, Oriana (1 September 2020). "Military Moves Forward with Plan to Make Air Force One Supersonic". Military.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
- ↑ Niles, Russ (6 September 2020). "Air Force Eying Supersonic Air Force One". AVweb. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
- ↑ O'Hare, Maureen (September 7, 2020). "An Air Force One that flies at five times the speed of sound?". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2020. สืบค้นเมื่อ September 15, 2020.
- ↑ Cook, Marc (8 September 2020). "Boom Enters Supersonic Air Force One Race". AVweb. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
- ↑ "HMX-1 Executive Flight Detachment". United States Marine Corps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
- ↑ "Bush's last day: Calls, candy and a flight to Midland". CNN. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2009-01-23.
- ↑ Dunham, Richard S. (2009-01-21). "Bush's final day uncharacteristically emotional". Houston Chronicle. Chron.com. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ Capehart, Jonathon (2009-01-20). "So Long..." Post Partisan. Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ Baker, Anne (2009-01-22). "Bush leaves infamous term behind". The Appalachian. Appalachian State University. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ Miles, Donna (2009-01-20). "Troops bid former President Bush farewell at Andrews". American Forces Press Service. Air Force Link (Official Website of the Air Force). สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
- ↑ https://www.theguardian.com/us-news/2017/jan/20/barack-obama-departs-white-house
- ↑ Bumiller, Elisabeth (1999-12-03). "Airport Delay Creates a Campaign Dispute". New York Times. The New York Times Company. pp. B3. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
- ↑ "Trump postpones Pelosi's overseas trip because of shutdown". www.cnbc.com. 17 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ "Factsheets: C-32". Air Force Link. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2008. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- ↑ "Order 7110.65R (Air Traffic Control) §2-4-20 ¶7". Federal Aviation Administration. 14 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2009. สืบค้นเมื่อ 27 August 2007.
- ↑ Whitelaw, Kevin (11 March 2002). "Reporter's Notebook on Cheney's Mideast trip: Day 1: London". US News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2009. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.