ปางห้ามมาร
ปางห้ามมาร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย อยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ (อก) แสดงอาการห้าม
ประวัติ
[แก้]หลังจากที่พระพุทธโคตมทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปประทับใต้ต้นไทร ธิดามาร 3 พี่น้อง คือ นางราคา นางตัณหา นางอรดี ได้อาสาผู้เป็นบิดาไปทำลายตบะเดชะของพระพุทธองค์ ด้วยการเนรมิตร่างเป็นสตรีที่สวยงามในวัยต่าง ๆ ตลอดจนแสดงอิตถียาโดยการฟ้อนรำขับร้อง แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ กลับขับไล่ธิดามารให้หลีกไป
และในพรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พญามารได้อาราธนาให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน พระพุทธโคตมทำปางห้ามมารและบอกให้พญามารว่า
พญามาร ท่านอย่าทรงเกรงใจเราอีกเลย ความปรินิพพานจะมีขึ้นในอีกไม่ช้า นับแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจะดับขันธ์ปรินิพพาน
— พระพุทธโคตม
เมื่อพระพุทธโคตมตรัสห้ามมารแล้ว พญามารจึงตรัสให้รักษาวาจา จากนั้นก็หายตัวไป
อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล