ข้ามไปเนื้อหา

ปางประทับเรือขนาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางประทับเรือขนาน

ปางประทับเรือขนาน เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่น พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำ บนพระชานุ (เข่า) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายคว่ำที่พระชานุ พระหัตถ์ขาวจับชายจีวร พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว

ประวัติ

[แก้]

ครั้งหนึ่งได้เกิดภัยพิบัติ 3 ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่ 1. ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย 2. อมนุษยภัย คือ เหล่าภูติผีปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง 3. อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น ในเวลานั้นพระพุทธเจ้า เสด็จมาจำพรรษา ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลอาราธนาไปช่วยดับทุกข์ เมื่อเรือพระที่นั่งของพระพุทธองค์มาถึงท่าเรือนครเวสาลี เจ้าชายมหาลิจึงเชิญเสด็จพระพุทธองค์ขึ้นจากเรือ และถวายการต้อนรับอย่างมโหฬาร

ความเชื่อและคตินิยม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล