ปางประทานเอหิภิกขุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ

ปางประทานเอหิภิกขุ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ฝ่าพระหัตถ์แบ นิ้วพระหัตถ์งองุ้มลงเล็กน้อย

ประวัติ[แก้]

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์เสร็จแล้ว โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลและทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นภิกษุด้วยพระวาจา ความว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" ซึ่งถือเป็นการบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา และได้เรียกวันนี้ว่าวันอาสาฬหบูชา หรือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 นี้ คือ ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการได้แก่ 1. พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร 2. มีพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา 3. พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บังเกิดขึ้นครบองค์สามเป็นครั้งแรก

ความเชื่อและคตินิยม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล