ปางปลงกรรมฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปางปลงกรรมฐาน เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงธารมะกร (ไม้เท้า) ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบที่พระเพลา (ตัก) หรือเรียกอีกอย่างว่าปางชักผ้าบังสุกุล

ประวัติ[แก้]

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะนำผ้าขาวที่ห่อศพมาซักย้อมเป็นผ้าสังฆาฏิ จึงเสด็จไปพิจารณาปฏิกูลสัญญา แล้วทรงชักผ้าบังสุกุลและนำมาซักตากให้หมดกลิ่นซากศพ แล้วเย็บเป็นจีวร ในพุทธประวัติเล่าว่าท้าวสักกเทวราชเสด็จลงมาช่วยทำจีวร ตักแต่ซัก ตาก และเย็บเสร็จภายในคืนเดียว ผ้าจีวรผืนนี้พระพุทธองค์ทรงนำมาทำผ้าสังฆาฏิ ภายหลังได้ประทานผ้าผืนนี้แก่พระมหากัสสปะ ผู้เป็นเอตทัคคะด้านถือธุดงค์

ความเชื่อและคตินิยม[แก้]

  • เป็นพระพุทธรูปประจำเดือนอ้าย

อ้างอิง[แก้]

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล