ข้ามไปเนื้อหา

ปรีชา ดีสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายแพทย์ ปรีชา ดีสวัสดิ์ แพทย์ชาวไทย อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลคนไทยตัวอย่าง เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2519

ประวัติ

[แก้]

เป็นบุตรของนายสม ดีสวัสดิ์ และ นาง ชม มีศุขเสมอ เกิดเมื่อวัน ที่ 20​ กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ในกรุงเทพมหานคร ในครอบครัวของชาวสวนแถบย่านสาธุประดิษฐ์ เป็นลูกของชาวสวน หรือเกษตรกร ของประเทศ ทำให้การรักชีวิตแบบเรียบง่าย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชีวิตของชนชั้นกลางและคนยากจนอยู่ในสายเลือดของเด็กชายคนนี้

เมื่อ นพ.ปรีชา ดีสวัสดิ์ เรียนจบจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง เขาได้เลือกที่จะเดินทางไปใช้ทุนการศึกษา ยังที่ไกลกันดารที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น คือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

เขาได้ทุนปริญญาโทจากประอเมริกาให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สาขาสาธารณสุข นั่นทำให้เขาหันไปสนใจวิชาทางสาธารณสุขมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายจะกลับมาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบทในประเทศไทย และเมื่อ นพ.ปรีชา ได้กลับมายังเมืองไทย เขายังคงหันหลังให้กับการใช้ชีวิตอย่างคนเมือง โดยมุ่งมั่นจะไปเป็นหมอชนบทรักษาคนจนให้ได้ เส้นทางต่อไปของเขาคือ อ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ ที่นั่น คุณหมอ เพิ่งเข้าใจว่า เป็นหมอในเมืองไทย จำต้องพกปืนด้วยเช่นกัน

ความตั้งใจจะช่วยสังคม ไม่ได้เป็นความว่างเปล่า เมื่อเขาได้รับรางวัลอันทรงเกียรติอันหนึ่งของคนทำงาน คือ รางวัล คนไทยตัวอย่าง มูลนิธิสายใจไทย (ธารน้ำใจ) จากนั้นได้ร่วมกับบุคคลสำคัญทางสาธารณสุข เช่น นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ และ นพ.ประเวศ วะสี ช่วยกันเคลื่อนไหวการก่อตั้ง "มูลนิธิแพทย์ชนบท" ขึ้นด้วย เมื่อ นพ. ปรีชา ได้ย้ายไปประจำที่เชียงใหม่ เริ่มต้นที่ สถานีอนามัย อำเภอสารภี ก็ได้เริ่มสร้างโมเดลของอนามัยชนบท โดยรณรงค์ให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับประทานนมและไข่ทุกวัน เนื่องจากเด็กชนบทขาดแคลนวิตามินที่สำคัญในการพัฒนาร่างกาย โครงการนี้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงสาธารณสุข จนขับให้เกิด สาธารณสุขมูลฐานขึ้นได้ในที่สุด [1][2]

รางวัลและตำแหน่งงาน

[แก้]

คนไทยตัวอย่าง มูลนิธิสายใจไทย ปี 2519 (ถือเป็นคนแรกของรางวัลคนไทยตัวอย่าง) [3]

รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผลงานที่ริเร่ม

[แก้]

ผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการหมอเท้าเปล่า

สร้างโมเดลอนามัยชนบท ด้วยการเปิดโรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียน[4]

ร่วมก่อตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบท และ อสม.

ผลงานวิชาการ (หนังสือ และ วารสาร)

[แก้]

หมู่บ้านเป็นโครงสร้างพื้นฐานของความมั่นคงแห่งชาติ 2534 อ้างอิงจาก http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researcher&author_code=23884

การสาธารณสุขมูลฐานกับการพัฒนาประเทศ [5]

ปัญหาคนพิการกับการสาธารณสุขมูลฐาน[6]

เทคโนโลยีที่เหมาะสมในสาธารณสุขมูลฐาน [7]

การรวบรวมและวิเคราะห์ ผลงานศึกษาวิจัย ด้านการสาธารณสุขมูลฐาน (Collection and analysis of research information of PHC activities ) ปรีชา ดีสวัสดิ์

ประวัติครอบครัว

[แก้]

นพ. ปรีชา ดีสวัสดิ์ มีบุตรกับ นาง ศรีเชื้อ ดีสวัสดิ์ ด้วยกันสามคน คือ ประพิมพร, พิมปรีชา และ นลินณัฐ ดีสวัสดิ์

นพ.ปรีชา ดีสวัสดิ์ เสียชีวิต พร้อมบุตรสาวคนโต ขณะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ที่จังหวัด กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 28​ ธันวาคม ปี 2532

อ้างอิง

[แก้]
  1. จากบทความ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และวิวัฒนาการของมูลนิธิแพทย์ชนบท
  2. การสาธารณสุขมูลฐานกับการพัฒนาประเทศ โดยนายแพทย์ ปรีชา ดีสวัสดิ์ จาก วารสารข้าราชการ 30, 4 (เม.ย.28) 31-38 http://tarnnamjai.org.a17.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539226247&Ntype=8
  3. http://www.tarnnamjai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539254064&Ntype=9
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2011-07-26. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. อ้างอิงจาก ข้าราชการปีที่ 30 ฉบับที่ 4 (เม.ย.2528) หน้า 31-38)
  6. อ้างอิงจาก คุรุปริทัศน์ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ (2524) หน้า 24-25)
  7. อ้างอิง เอกสารการสอน ชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณสุข (2526)