บุญเลิศ สว่างกุล
บุญเลิศ สว่างกุล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 (75 ปี) อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
คู่สมรส | นางอุษณีย์ สว่างกุล |
นายบุญเลิศ สว่างกุล (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 สมัย
ประวัติ[แก้]
นายบุญเลิศ สว่างกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายสังเกต และ นางหน่อดู สว่างกุล[1] สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] สมรสกับนางอุษณีย์ สว่างกุล (สกุลเดิม ไพรัชกุล บุตรนายชาญชัย ไพรัชกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่) มีบุตร 2 คน
งานการเมือง[แก้]
บุญเลิศ เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองแร่ ในบ้านเกิด ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2538 รวม 4 สมัย[3]
ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[4]
พ.ศ. 2544 บุญเลิศ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ จากพรรคไทยรักไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
บุญเลิศ สว่างกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคพลังธรรม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดร. วีระ เลิศสมพร สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2553
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ คำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- พรรคพลังธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคประชาธิปัตย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง